Page 68 - kpiebook65022
P. 68
ส าหรับประเด็นด้านกลไกในช่วง พ.ศ.2540 เป็นต้นไป พบว่า การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของ
ประชาชน เป็นไปเพื่อเรียกร้องสิทธิมีส่วนร่วมในโครงการที่ได้รับผลกระทบ และสิทธิในการได้รับการเยียวยา
โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า หลังรัฐธรรมนูญฉบับนี้ท าให้มีความชัดเจนและมีช่องทางในการเข้าถึง
ในการใช้สิทธิได้มากขึ้น ท าให้เกิดกลไกการเรียกร้องของชุมชนที่มีต่อรัฐมีหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะสิทธิ
ด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเชื่อมโยงกับสิทธิชุมชน และมีปฏิบัติการจริงทั้งในส่วนของการร้องทุกข์ ร้องเรียนและชุมนุม
โดยอ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ในมาตรา 44 46 56 59 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1
[สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564) เช่น กรณีของชาวบ้านบ้านบ่อนอกที่ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญคัดค้าน
โรงไฟฟ้าถ่านหิน ประมาณปี พ.ศ.2541 - 2543 ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์], 25
กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564)
กรณีการใช้สิทธิเพื่อการเยียวยาในโครงการของรัฐที่ได้รับผลกระทบ พบว่า มีการร้องเรียนของ
ประชาชนผ่านกระบวนการทางศาลมากขึ้น ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า มีการใช้กระบวนการยุติธรรมฟ้องร้อง
เพื่อให้เกิดการเยียวยาหรือปกป้องสิทธิ เพราะศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญมีช่องทางในการเข้าถึงการใช้
สิทธิมากขึ้น โดยมีประชาชนใช้สิทธิฟ้องร้องหน่วยงานรัฐต่อศาลปกครองจ านวนมาก โดยเฉพาะเรื่อง
สิ่งแวดล้อม ที่นอกจากจะฟ้องร้องในเชิงเยียวยายังมีการฟ้องร้องในเชิงป้องกันมากขึ้น เพื่อให้มีมาตรการ
ป้องกันการด าเนินการที่อาจเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564)
นอกจากนี้ ประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้ ยังพบการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยที่มี
ลักษณะข้ามพรมแดนมากขึ้น ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า การเคลื่อนไหวประเด็นสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดน
เป็นประเด็นที่แตกต่างจากยุคก่อนหน้านี้ เช่น กรณีทุนไทยไปลงทุนท าอุตสาหกรรมน้ าตาลในกัมพูชาและลาว
ในกัมพูชาพบการละเมิดสิทธิมนุษยชนจนมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มประชาชนและนักกฎหมาย นักสิ่งแวดล้อม
ในกัมพูชาเรียกร้องต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ตรวจสอบการละเมิดสิทธิของทุนไทย การสร้าง
เขื่อนกั้นแม่น้ าโขงที่มีปัญหาในด้านของการระเบิดแก่งแม่น้ าโขง การสร้างเขื่อนจีนกั้นแม่น้ าโขงตอนบน
การพัฒนาเศรษฐกิจที่มีเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศหรือเป็นแบบข้ามแดน เช่น กรณีเขตอุตสาหกรรมทวาย
ที่กาญจนบุรี ท่าเรือน้ าลึกทวายที่คนไทยไปลงทุน หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ตั้งแต่สมัยคุณทักษิณเป็น
นายกรัฐมนตรีต่อเนื่องมา (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
อย่างไรก็ดี แม้การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนในช่วงปี พ.ศ.2540 จะมีโอกาสจากกลไก
ของรัฐมากขึ้น แต่การใช้สิทธิและมีส่วนร่วมในประเด็นสิ่งแวดล้อมยังมีข้อจ ากัดอยู่มาก ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าว
ว่า การให้สิทธิมีความชัดเจนและมีช่องทางให้ชุมชนได้เรียกร้อง แต่รัฐธรรมนูญยังเขียนไว้ว่า “ทั้งนี้
ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” จึงกลายเป็นว่าหากไม่มีกฎหมายระดับพระราชบัญญัติมารับรอง ท าให้หลาย
ส่วนของหน่วยงานรัฐ หรือองค์กรศาลตีความว่าไม่มีผลใช้บังคับต้องรอออกกฎหมายระดับรอง ประชาชนใช้
สิทธิโดยขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของประเทศหลายฉบับออกมา
ก่อนรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ จึงมีบทบัญญัติที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ และ
ในการปฏิบัติจริงหน่วยงานจะยึดถือกฎหมายที่หน่วยงานนั้นรับผิดชอบเป็นแนวปฏิบัติก่อน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4
[สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) รวมถึง การรับรองสิทธิ
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมขึ้นอยู่กับแรงกดดันของชาวบ้านว่าพื้นที่ไหนเข้มแข็ง ท าให้การเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
มีน้อยมาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
ต่อมาในช่วงปีหลังจากรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 พบประเด็นที่สามารถจัดกลุ่มได้ชัดเจนในส่วนของ
ทรัพยากรด้านทรัพยากรป่าไม้ น้ า และแร่ ที่มีความเชื่อมโยงกับการเมืองอย่างเห็นได้ชัด โดยมีประเด็นที่อาจ
55