Page 72 - kpiebook65022
P. 72
ในช่วง พ.ศ.2540 ที่มีจุดเริ่มต้นจากรัฐธรรมนูญฉบับมีส่วนร่วมได้น าพาให้การเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อม
หรือการเมืองสิ่งแวดล้อมในภาคประชาชนมีช่องทางมากขึ้นและขยายเติบโตในช่วงรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550
ต่อเนื่องมาจนฉบับ พ.ศ.2560 ที่ในเชิงสาระยังถูกตั้งค าถามอยู่มาก ซึ่งต้องมีการติดตามการเคลื่อนไหวจริงใน
ระยะยาวต่อไป ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นยุคของการยืนยันสิทธิชุมชน เพราะโครงสร้างใหญ่ทาง
กฎหมายระดับรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 2550 หรือ 2560 รับรองสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ
จัดการทรัพยากร โดยฉบับ พ.ศ.2550 เป็นฉบับที่ดีที่สุด ในเรื่องสิทธิชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564)
4.2 ความส าเร็จในการขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา
จากการสัมภาษณ์วิวัฒนาการด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ผู้ให้สัมภาษณ์ได้ให้ข้อมูลถึง
ความส าเร็จในการขับเคลื่อนประเด็นสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย พบว่า มีประเด็นความส าเร็จด้านมลพิษ
พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ เกษตรกรรม และความยั่งยืน จากประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อม 9 ประเด็นที่
ผู้วิจัยได้อ้างอิงไว้ ดังข้อค้นพบต่อไปนี้
4.2.1 มลพิษ
การเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นมลพิษ พบว่า มีความส าเร็จเกิดขึ้นทั้งในเชิงการฟ้องร้องของภาค
ประชาชนเพื่อให้เกิดการเยียวยา ความร่วมมือระหว่างภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และในเชิงที่เป็นความส าเร็จของ
ภาคประชาชนในการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายและเรียกร้อง
ในเชิงของการเรียกร้องให้เกิดการเยียวยา มีตัวอย่างกรณีของชาวบ้านที่คลิตี้ ที่แสดงให้เห็นถึงการ
ผลักดันกลไกหรือมาตรการฟื้นฟูการปนเปื้อนมลพิษในสิ่งแวดล้อมที่เป็นขนาดใหญ่ โดยมีการฟ้องคดีตั้งแต่ผู้ก่อ
มลพิษหรือผู้ประกอบการ และฟ้องหน่วยงานรัฐที่เพิกเฉยไม่เข้าไปด าเนินการฟื้นฟูตามอ านาจหน้าที่ ดังผู้ให้
สัมภาษณ์กล่าวว่า คดีคลิตี้มีการใช้สิทธิฟ้องร้องเรื่องการปนเปื้อนมลพิษหลายคดี จนปี พ.ศ.2556
มีค าพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดพิพากษาให้กรมควบคุมมลพิษ มีหน้าที่ต้องจัดท าแผนการฟื้นฟู รวมถึง
ต้องมีการด าเนินการใด ๆ เพื่อที่จะแก้ไขปัญหามลพิษจนกว่าค่ามาตรฐานในดิน ในพืช ในสัตว์ ในน้ า ไม่เกินค่า
มาตรฐาน อย่างน้อย 1 ปี รวมถึงค าพิพากษาของศาลฎีกามีการพิพากษาให้ผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นผู้ก่อมลพิษ
มีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายและด าเนินการฟื้นฟูเยียวยาการปนเปื้อนมลพิษในล าห้วยคลิตี้ ถือเป็นรูปธรรม
ความส าเร็จในการฟ้องร้องคดีมลพิษที่ชัดเจน เพราะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายกลาง
เกี่ยวกับเรื่องการปัญหาการปนเปื้อนของมลพิษขนาดใหญ่ ว่าจะต้องด าเนินการในรูปแบบไหนอย่างไร ถือเป็น
คดีแรกที่จะกลายเป็นคดีตัวอย่าง และที่ส าเร็จได้เพราะชุมชนมีความเข้มแข็ง โดยชุมชนคลิตี้เป็นชุมชนชาติพันธุ์
กะเหรี่ยงท้องถิ่นดั้งเดิม อยู่ในเขตอุทยานล าคลองมูติดกับเขตรักษาพันธุ์ทุ่งใหญ่นเรศวร ที่ต่อสู้ยืนยันสิทธิของ
ตัวเองมายาวนาน และยังมีการประสานงานความช่วยเหลือกับนักวิชาการ องค์กรภาคประชาชน และประชาสังคม
ความต่อเนื่องนี้ส่งต่อถึงเยาวชนที่อยู่ในเขตคลิตี้ ซึ่งอาจเกิดไม่ทันต่อปัญหาการปนเปื้อน แต่เขากลับเป็นตัว
หลักในการติดตามการฟื้นฟูการปนเปื้อนมลพิษ ซึ่งก าลังด าเนินการอยู่ในปัจจุบัน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์],
25 กุมภาพันธ์ 2564)
59