Page 67 - kpiebook65022
P. 67

ทรัพยากรทางทะเลและทรัพยากรประมงชายฝั่งเสื่อมโทรมลงมาก ท าให้การประมงชายฝั่ง ประมงพื้นบ้าน
               ในพื้นที่ฝั่งทะเลอ่าวไทยและอันดามันรวมตัวกันปกป้องพื้นที่ 3 ไมล์ทะเล ท าให้เกิดกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านใน

               พื้นที่ตั้งแต่ภาคตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ส าหรับทรัพยากรป่าไม้ มีกรณีของ
               กะเหรี่ยงบางกลอยที่ถูกอพยพออกจากที่ดินที่เคยอยู่ อันเนื่องมาจากโครงการทวงคืนผืนป่า อันเป็นนโยบายที่
               ต่อเนื่องมาจากช่วงยุคก่อนหน้านี้ และยังมีการเคลื่อนไหวกรณีทรัพยากรแร่โปรแตสในภาคอีสานด้วย
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) เป็นต้น

                       ส าหรับประเด็นพลังงาน ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ในช่วงนี้มีการตื่นตัวด้านพลังงานซึ่งเห็นได้อย่าง

               ชัดเจนว่ามีการเคลื่อนไหว 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เคลื่อนไหวเพื่อให้ได้พลังงาน เช่น ให้พลังงานเป็นของรัฐไม่ให้
               เอกชนสัมปทานโดยไม่ให้ความส าคัญเรื่องสิทธิมนุษยชน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
               หรือการเคลื่อนไหวโซล่าเซลล์ที่เริ่มน ามาปฏิบัติจริงหลังปี พ.ศ.2545 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน
               2564) กับอีกกลุ่มคือผู้ได้รับผลกระทบจากประเด็นพลังงาน เช่น กรณีชาวบ้านที่เดือดร้อนจากการขุดเจาะ

               ปิโตรเลียมในภาคอีสาน ซึ่งการขุดเจาะก็มีมานานแล้วในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนที่จังหวัดสุโขทัย
               และจังหวัดก าแพงเพชร (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) ประเด็นการปรับตัวเรื่อง
               การเกษตรที่จะน าไปสู่ความยั่งยืน ที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า หลังปี พ.ศ.2545 สิ่งแวดล้อมหลายเรื่องเริ่มน าไปสู่

               การปฏิบัติจริง ๆ เช่นการเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรรมธรรมชาติ หรือไร่หมุนเวียน ซึ่งก่อนหน้านี้ช่วงปี พ.ศ.
               2535 ยังเป็นเพียงแนวคิดและไม่ได้มีความเคลื่อนไหวในเชิงการปฏิบัติการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์],
               3 เมษายน 2564)

                       ส าหรับประเด็นการเคลื่อนไหวสุดท้ายที่พบในช่วง พ.ศ.2540 เป็นต้นมาคือเรื่องของยุติธรรม
               สิ่งแวดล้อม ที่พบว่า รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 ได้ให้เจตนารมย์สิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมใน

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กลุ่มองค์กร และกลไกที่เปิดช่องทางการเคลื่อนไหวมากขึ้น โดยในส่วน
               เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ มีบทบัญญัติว่าด้วยเรื่องของการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
               และสิ่งแวดล้อมและสิทธิชุมชน ท าให้เกิดความตื่นตัวของภาคพลเมืองพื้นฐานในการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ
               ท าให้เกิดระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม สิทธิในการเรียกร้อง สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร และการ
               ตื่นตัวของภาคประชาสังคม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์],

               8 กุมภาพันธ์ 2564)

                       ส าหรับประเด็นด้านกลุ่มองค์กรในช่วงปี พ.ศ. 2540 เป็นต้นไป พบว่า ประชาชนมีความตื่นตัวและ
               องค์กรภาคประชาสังคมด้านสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นจ านวนมากในช่วงนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ประชาชน
               ในเขตเมืองเริ่มให้ความสนใจ และให้ความส าคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากขึ้น ท าให้

               การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมได้รับการยกระดับมากขึ้น และการตื่นตัวของภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็ง
               มากขึ้นจนเริ่มมีกลุ่มประชาสังคมหรือกลุ่ม NGOs เกิดขึ้นมากมาย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์
               2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
               ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น การใช้สิทธิในการเข้าชื่อเสนอกฎหมายสิ่งแวดล้อมหลายฉบับ อย่างกฎหมายว่าด้วย

               ป่าชุมชน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
               ที่ยังคงมีความต่อเนื่องมาจากช่วงก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ดี ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเห็นว่าการของกลุ่มต่าง ๆ นับ
               จากปี พ.ศ.2545 จนถึงปัจจุบัน ไม่ค่อยมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเพราะภาคประชาชนมีการเคลื่อนไหว
               ตลอดเวลาจนไม่พบความเคลื่อนไหวที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ที่เห็นชัดคือ กระแสการขับเคลื่อนระดับชาติ

               เริ่มลดลงไปสู่การขับเคลื่อนในระดับพื้นที่มากขึ้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564)



                                                            54
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72