Page 62 - kpiebook65022
P. 62

ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า มีอนุสัญญาเกิดขึ้นในช่วงนี้ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564)

                       ส าหรับประเด็นด้านเงื่อนไขการค้าโลก มีทั้งที่คัดค้านและส่งเสริมต่อการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม

               โดยทั่วไป ในเชิงที่คัดค้าน ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่าในปี พ.ศ.2538 เกิดองค์การการค้าโลก (World Trade
               Organization: WTO) ส่งผลให้เกิดโลกาภิวัตน์ด้านเศรษฐกิจการค้าเสรี และหลังจากนั้นเรื่องของสิ่งแวดล้อม
               และการค้าเสรีได้ขัดแย้งกันเรื่อยมา เพราะว่ากติกาในองค์การการค้าโลก ทั้ง 15 ฉบับ และเป้าหมายการ
               ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจการค้าเสรี ขัดแย้งกับกติกาเรื่องสิ่งแวดล้อมทั้งในเชิงหลักการ เป้าหมาย และ

               ตัวชี้วัด จนท าให้เกิดข้อพิพาทด้านการค้ากับสิ่งแวดล้อมเป็นคดีในองค์การการค้าโลกหลายคดี ซึ่งประเทศไทย
                                                                                                        12
               ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในหลายคดี เช่น คดีกุ้งกับเต่า ที่ใช้เครื่องมือจับกุ้งแต่ได้เต่าติดมาด้วย หรือคดีการใช้จีเอ็มโอ
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) ส่วนในเชิงที่ส่งเสริมต่อสิ่งแวดล้อม ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า
               ในยุคอุตสาหกรรมหนักหลายประเทศเน้นก าไรสูงสุดจากการผลิต แต่เมื่อการเปลี่ยนแปลงเรื่องสิ่งแวดล้อม

               เกิดขึ้น องค์กรระหว่างประเทศได้เข้ามาเกี่ยวข้องและท าให้คู่ค้าต้องด าเนินการตามมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564) ส่วนประเด็นมาตรฐานทางสิ่งแวดล้อม ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า
               ในระบบอุตสาหกรรมมีระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) เป็นมาตรการสิ่งแวดล้อมที่มีมากขึ้น

               เพราะนานาประเทศได้เรียนรู้ว่าผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิตส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ใน
               ต่างประเทศจึงได้จัดท าระบบมาตรฐานดังกล่าวขึ้น และกดดันไปยังประเทศอื่นด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17
               [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564)

                       ผู้วิจัยพบว่า การให้ความส าคัญต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมในระดับโลกได้ส่งผลต่อการปรับตัวของรัฐไทย
               และประชาชนเป็นอย่างมาก โดยผู้ให้สัมภาษณ์หลายท่านอ้างอิงถึงจุดเปลี่ยนที่ส าคัญในยุคนี้ คือ

               พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์],
               5 พฤษภาคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) แต่การเกิดขึ้นของกฎหมายฉบับนี้ถือว่า
               เกิดขึ้นในช่วงที่สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยไม่ปกตินัก ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่นกล่าวว่า จากการ
               รัฐประหารก่อนหน้านี้ท าให้ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฯ พ.ศ.2535 เกิดขึ้นในรัฐบาลสมัย นายอานันท์ ปันยารชุน
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564) โดยผู้ให้

               สัมภาษณ์เห็นเพิ่มเติมว่า กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมักเกิดในยุคที่ไม่ปกติในทุกช่วง เช่น สมัยจอมพล
               ถนอม มาจนถึงสมัย คุณอนันต์ในปี พ.ศ.2535 เป็นช่วงที่การเมืองไม่ปกติเช่นกัน แต่ก็มีข้อดีตรงที่ท าให้
               กฎหมายนี้ผ่านออกมาได้ เพราะในช่วงปกติกฎหมายลักษณะที่เป็นผลลบหรือท าให้นายทุนเสียประโยชน์

               จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาที่ใช้เวลานานและยากมากกว่า (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)

                       ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้มีหลักการที่ดี โดยส่งเสริมประชาชนในการมีส่วนร่วมและสิทธิ
               ของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11
               [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) เกิดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม มีส านักนโยบายแบบแผนสิ่งแวดล้อม
               และทรัพยากรธรรมชาติ มีกรมควบคุมมลพิษ มีการจัดท ารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมส าหรับ

               โครงการขนาดใหญ่ และการก าหนดให้มีองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์],
               6 พฤษภาคม 2564) ผลของกฎหมายฉบับนี้ท าให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนมากขึ้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม
               แต่ยังคงมีข้อจ ากัดและความท้าทายในหลายประการ เช่น การให้มีองค์กรอิสระเพื่อเป็นองค์กรกลางทางด้าน




               12  สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms: GMOs)


                                                            49
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67