Page 59 - kpiebook65022
P. 59

กลับมามองเรื่องของสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มีนโยบายป่าไม้โดยพยายามเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ร้อยละ 40 แต่ยังเป็น
               เพียงแนวคิดที่ยังไม่สามารถน าไปสู่การปฏิบัติได้แท้จริง อาจเพราะมีหลายปัจจัยไม่ใช่เพียงก าหนดตัวเลขพื้นที่

               ป่าแล้วจะส าเร็จได้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6
               พฤษภาคม 2564) อย่างไรก็ดี พบว่า ท่ามกลางนโยบายนั้นก็ยังเกิดการช่วงชิงผลประโยชน์จากการเพิ่มพื้นที่
               ป่าเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อประกาศว่าจะปลูกป่าในทุ่งกุลาจ านวน 5.1 ล้านไร่ พอจะปลูกจริงกลับไม่มีที่
               ปลูกก็จะไม่สามารถรายงานผลว่ามีพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น จึงเกิดการเข้าไปตัดไม้และพืชผลในที่ดินของชาวบ้านเพื่อ

               ปลูกยูคาลิปตัสเป็นหลักฐานว่าได้มีการปลูกป่าแล้ว และปักป้ายว่าเป็นป่าชุมชน ซึ่งขณะนั้นมีการศึกษาและท า
               ข้อมูลขึ้นมา และน าส่งไปในที่ประชุมของรัฐสภาด้วย จึงเป็นที่มาของค าว่าป่าชุมชน ซึ่งป่าชุมชนเกิดจากการ
               ต่อสู้ของชาวบ้านที่ภาคอีสานด้วย แม้หลายภาคส่วนเข้าใจว่าการเคลื่อนไหวเริ่มมาจากภาคเหนือ แต่ความจริง
               แล้วที่ภาคอีสานมีการต่อสู้ที่เข้มข้นมากเช่นกัน  กรณีนี้ มีคนได้ประโยชน์จากการปลูก

               ยูคาลิปตัสด้วย เพราะซื้อกล้าในราคาแพงมาเพาะขายช า โดยเกิดขึ้นพร้อมกันกับอุตสาหกรรมกระดาษ
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)

                       นอกจากนี้ยังพบว่า นโยบายเพิ่มพื้นที่ป่าตามแผนแม่บทป่าไม้ปี พ.ศ.2529 ได้บังเกิดผลตามมา ผู้ให้
               สัมภาษณ์กล่าวว่า ภายหลังประกาศเขตอุทยานและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแล้ว ได้มีการอพยพชาวบ้านที่เคยอยู่

               อาศัยในป่าเป็นจ านวนมาก โครงการที่ส าคัญที่สุดก็คือโครงการจัดสรรที่ดินท ากินให้กับประชาชนผู้ยากไร้ใน
               พื้นที่ป่าสงวนเสื่อมโทรม เป็นโครงการที่อนุมัติในสมัยพลเอกชาติชาย โดยน าทหารเข้ามาจัดการทรัพยากรป่าไม้
               ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการน าทหารเข้ามาช่วยจัดการทรัพยากร เมื่อทหารท ารัฐประหารพลเอกชาติชายช่วงของ
               คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) รสช.ได้ท าโครงการ คจก.ขึ้นมาท าให้ต้องมีการอพยพประชาชน
               เริ่มจากภาคอีสานก่อน มีการบังคับคนออกจากที่ดินท ากิน กรมป่าไม้ก็ได้มีการประกาศเป็นอุทยานหรือเขต

               รักษาพันธุ์สัตว์ป่า (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)

                       ตัวอย่างกรณีทรัพยากรที่ดิน มีโครงการของรัฐเพื่อจัดสรรทรัพยากรเสื่อมโทรมและการใช้ที่ดินเพื่อ
               การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ เช่น แผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 และ
               เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 5 เรียกว่า อีสเทิร์น ซีบอร์ด (Eastern Seaboard) ซึ่งจังหวัดชลบุรี
               กับจังหวัดระยองพัฒนาขึ้นมาก่อนแล้ว การพัฒนาอีสเทิร์น ซีบอร์ด ได้มีนักวิจัยจากต่างประเทศซึ่งทาง

               สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติว่าจ้างมาท าการศึกษา และพบว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมี
               ศักยภาพเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมได้ แต่จะมีปัญหาใหญ่ก็คือการแย่งชิงทรัพยากรที่ดินและทรัพยากรน้ าตามมา
               ซึ่งได้เกิดขึ้นแล้ว (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564)

                       ตัวอย่างกรณีทรัพยากรน้ า ยังมีความต่อเนื่องมาจากยุคก่อนหน้านี้เช่นกัน เช่น เขื่อนน้ าโจนที่จะสร้าง

               ในพื้นที่ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ในช่วงแรกในปี พ.ศ.2525 มีการรณรงค์ของนักวิชาการประชาชนลุ่มน้ าแม่กลอง
                                        10
               และมี อาจารย์สมพงษ์ ธงไชย  ได้ออกมาเคลื่อนไหวเป็นเรื่องการให้ข้อมูลซึ่งมีการโยงไปถึงการล่าสัตว์ป่าใน
               ทุ่งใหญ่ด้วยตอนนั้น ส่งผลท าให้ทางรัฐไม่กล้าตัดสินใจเดินหน้าโครงการใด ต่อมาช่วงปี พ.ศ.2530 รัฐบาลได้มี
               การรื้อฟื้นโครงการเขื่อนน้ าโจนขึ้นมาอีกครั้ง ช่วงนี้มีแกนน านักศึกษาทั้ง 15 สถาบัน คัดค้านกับรัฐบาลสมัยพล

               เอกเปรมโดยมีการเคลื่อนไหวทั้งในกรุงเทพฯ และกาญจนบุรี (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์
               2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) มีการตั้งกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อเคลื่อนไหว
               ปกป้องสิ่งแวดล้อมในกาญจนบุรีอย่างต่อเนื่อง กรณีเขื่อนน้ าโจนเป็นการเคลื่อนไหวในประเด็นสาธารณะที่ท า




               10  อาจารย์สมพงษ์ ธงไชย ขณะนั้นยังเป็นนักศึกษาอยู่แต่ปัจจุบันเป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล (ผู้ให้สัมภาษณ์)


                                                            46
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64