Page 55 - kpiebook65022
P. 55

พร้อมกับจ านวนประชากรที่เพิ่มสูงขึ้น จึงได้เริ่มมีแนวคิดชีวมณฑล คือการให้คนอยู่ร่วมกับป่าและมองคนเป็น
               ส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ จากหลักคิดนี้จึงมีการแบ่งพื้นที่เป็นเพื่อการอนุรักษ์ พื้นที่กันชน และพื้นที่ชุมชน เป็น

               การแบ่งพื้นที่เพื่อจัดการคนให้เป็นส่วนหนึ่งของระบบสิ่งแวดล้อม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์],
               8 เมษายน 2564)

                      ประเด็นทรัพยากรแร่ พบว่า ในยุคนี้อเมริกามีอิทธิพลต่อการจัดการทรัพยากรในประเทศไทย และใน
               ยุคนี้เป็นยุคที่ทรัพยากรของประเทศไทยสมบูรณ์มาก ทรัพยากรแร่ในประเทศไทยเองมีมากมาย โดยเฉพาะ
               อย่างยิ่งบริเวณทะเลอันดามันชายฝั่งทะเล การเมืองกับสิ่งแวดล้อมในทรัพยากรแร่ที่พบ เช่น ดังได้กล่าวไปใน

               ยุคก่อนหน้านี้ว่าในปี พ.ศ. 2506 กลุ่มนายทหารระดับสูงที่ได้ตั้งบริษัทเหมืองแร่บูรพาเศรษฐกิจขึ้นมา บริษัทนี้
               ได้รับสัมปทานส ารวจและขุดแร่ประมาณแสนกว่าไร่ในทะเลอันดามัน แต่ในปี พ.ศ.2511 บริษัทนี้ยังไม่สามารถ
               ขุดแร่ได้จึงร่วมมือกับบริษัท Union Carbide ของสหรัฐอเมริกาจัดตั้งบริษัท Thailand Exploration and
               Mining หรือ TEMCO และรับโอนกรรมสิทธิ์ในการท าเหมืองแร่ทางทะเลจากบริษัทบูรพาเศรษฐกิจ ซึ่งการตั้ง

               บริษัทบูรพาเศรษฐกิจถือเป็นการตัดสิทธิ์เอกชนรายอื่นทั้งหมด เมื่อร่วมมือกับ TEMCO แล้ว บริษัทเหมืองแร่
               บูรพาเศรษฐกิจก็ปิดตัวลง จึงมองได้ว่าเป็นการขายทรัพยากรของชาติให้กับ TEMCO ซึ่งเป็นทุนจาก
               ต่างประเทศ กรณีนี้มีนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวให้ยกเลิกสัญญาบัตรกับบริษัท TEMCO และให้น านายทหาร

               ที่ด าเนินการร่วมกับบริษัทต่างชาติมาลงโทษ โดยในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 มีการชุมนุมใหญ่เพื่อ
               คัดค้านสัมปทาน TEMCO ที่สนามหลวงจนกระทั่งรัฐบาลในขณะนั้นซึ่งน าโดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
               ได้ยกเลิกสัญญาและยอมถอนสัญญาบัตรแก่บริษัท TEMCO ในกรณีนี้เกิดการประท้วงขึ้นที่จังหวัดพังงาด้วย
               และเกิดบทเพลงเพื่อชีวิตชื่อ “แร่ไทยแร่ใคร” ซึ่งเป็นเพลงที่นักศึกษาในยุคนี้ใช้ขับร้องเพื่อต่อต้านบริษัท
               TEMCO (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)


                      ประเด็นทรัพยากรน้ า พบว่า มีความทับซ้อนเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ าในรูปแบบของการสร้างเขื่อน
               หรือแหล่งเก็บน้ า แล้วไปมีผลกระทบกับคนที่อยู่ในพื้นที่ก่อสร้างนั้นมาก่อนจึงท าให้เกิดการต่อต้านขึ้น ซึ่งการ
               ต่อต้านการสร้างเขื่อนเกิดขึ้นก่อนมาหน้านี้ ดังที่กล่าวถึงในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับแรกในกรณีเขื่อน
               ภูมิพล ในยุคนี้มีการเคลื่อนไหวเช่นกันต่างเพียงว่าช่วงยุคนี้มีเหตุการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองมากกว่า
               ยกตัวอย่างเช่น กรณีอ่างเก็บน้ ามาบประชัน จังหวัดชลบุรี ที่ชาวบ้านได้รับผลกระทบกว่าสองพันครอบครัว

               เป็นอ่างเก็บน้ าในโครงการของชลประทานแต่จุดประสงค์หลักคือเพื่อน าน้ าไปหล่อเลี้ยงเมืองพัทยา ซึ่งก าลัง
               เจริญอย่างรวดเร็ว ด้วยเมืองพัทยากลายเป็นสถานที่พักผ่อนของทหารอเมริกา จึงมีทั้งสนามกอล์ฟ มีอ่างเก็บน้ า
               การต่อต้านนี้มีบันทึกที่ส าคัญเกี่ยวกับการสังหารผู้น าที่ออกมาเคลื่อนไหวและไปพบนายกรัฐมนตรี รวมถึง

               มีการชุมนุมของนักศึกษาหลายครั้งแล้วท าให้ต้องมีการระงับโครงการไปในระยะหนึ่ง และในวันที่ 11 สิงหาคม
               พ.ศ.2517 แกนน าต่อต้านสองคนชื่อ นายเมตตา และนายล้วน เหล่าอุดม ก็ถูกคนร้ายลอบสังหารที่จังหวัด
               ชลบุรีโดยไม่สามารถจับตัวคนร้ายได้

                      ตัวอย่างกรณีเขื่อนห้วยหลวง ที่จังหวัดอุดรธานี ถือเป็นเขื่อนส าคัญเพราะเกี่ยวข้องกับการเข้ามาของ
               ประเทศอเมริกัน ที่มาวางแผนพัฒนาลุ่มน้ าโขงในภาคอีสาน เขื่อนทั้งหมดที่เกิดขึ้นในยุคนี้ทางภาคอีสานทั้งที่

               ได้สร้างไปแล้วและอีกส่วนใหญ่ที่ยังไม่ได้สร้างนั้นถูกวางแผนไว้โดยหน่วยงานสร้างเขื่อนของประเทศ
               สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการวางแผนตั้งแต่ประมาณ 50 ปีก่อนซึ่งมีการสร้างไปแล้ว เขื่อนห้วยหลวงขณะนั้นอยู่
               จังหวัดอุดรธานีปัจจุบันพื้นที่บางส่วนถูกแยกเป็นจังหวัดหนองบัวล าภู เขื่อนห้วยหลวงก็ยังอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี
               แต่คนที่ได้รับผลกระทบโยงไปถึงจังหวัดหนองบัวล าภู กรณีเขื่อนห้วยหลวงมีการเคลื่อนไหวเพราะชาวบ้านต้อง

               มีการอพยพ ซึ่งนักศึกษาที่เคลื่อนไหวเห็นว่าผู้ที่รับผลประโยชน์คือกองทัพอเมริกัน ซึ่งมาตั้งฐานทัพที่อุดรธานี



                                                            42
   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60