Page 52 - kpiebook65022
P. 52
พันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าการประกาศกฎหมายดังกล่าว
มีนัยยะแอบแฝงอยู่ว่าพื้นที่บางส่วนประกาศ เพื่อให้เกิดการเข้าท าสัมปทานค้าไม้ได้ และก็ได้พบว่าระหว่างที่มี
การสัมปทานป่าก็มีการบุกรุกป่าอยู่มาก ซึ่งการสัมปทานท าให้ไม้หมดพร้อมกับพื้นที่ป่าลดลงด้วยเพราะใน
กระบวนการท าไม้ไม่ได้ถูกต้องตามระบบที่วางไว้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
ในขณะที่ช่วงเวลานี้มีการสัมปทานป่าไม้ให้เอกชนบางรายเข้าใช้ประโยชน์ได้ ได้มีการให้ชุมชนที่อาจ
เป็นลูกจ้างเข้าไปท าไม้หรือญาติพี่น้องอพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ป่า บางพื้นที่อาศัยประโยชน์จากการสัมปทานจน
ท าให้มีประชาชนที่เข้าไปอยู่ในพื้นที่ป่าที่มีการสัมปทานเหล่านี้สูงขึ้น ยกตัวอย่าง ในพื้นที่ห้วยขาแข้ง หรือพื้นที่
แถวจังหวัดนครสวรรค์ที่เป็นพื้นที่สัมปทานไม้ มีการให้ประชาชนเข้าไปอยู่เพื่อที่จะให้มีจ านวนประชากรในเขต
พื้นที่มากพอส าหรับการเพิ่มจ านวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ และมีการเกณฑ์ประชาชนที่อยู่ทางภาค
อีสานหรือญาติพี่น้องที่เข้าไปท าไม้ให้มาอยู่ในพื้นที่ที่มีการสัมปทานช่วงนั้น จึงมีการบุกรุกพื้นที่โดยเฉพาะใน
พื้นที่ป่าสงวนที่ให้สัมปทานไม้สูงมาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
ขณะที่การสัมปทานให้ประโยชน์คนกลุ่มหนึ่งแต่กลับท าให้คนอีกกลุ่มหนึ่ง ที่เคยอยู่กับพื้นที่ป่ามาตั้งแต่
แรกถูกแยกออกจากทรัพยากรด้วยตัวกฎหมายและตัวพื้นที่ที่มีการประกาศ จนท าให้เกิดความขัดแย้งใน
สังคมไทยอย่างชัดเจนในช่วงเวลานี้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) และแย่งชิงพื้นที่เรื่อง
ของการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติเพื่อใช้ประโยชน์โดยตรง เช่น บุกรุกแผ้วถางป่าเพื่อเปลี่ยนผืนป่าให้เป็นพื้นที่
การเกษตรเป็นส่วนใหญ่ เป็นต้น อันเนื่องมาจากทัศนคติต่อการใช้ทรัพยากรเปลี่ยนไป จากเคยใช้ทรัพยากร
เหล่านี้อยู่เมื่อถูกจ ากัดสิทธิก็ไม่รู้สึกว่าตนเป็นเจ้าของ จึงพยายามที่จะท าลายหรือไม่ให้ความร่วมมือกับรัฐบาล
ในการดูแลเพราะไม่รู้สึกว่าได้ใช้ประโยชน์หรือเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ดี ทั้งสองรูปการณ์ถือว่าท าให้เกิดการสูญเสีย
พื้นที่ป่าในยุคนี้ค่อนข้างมาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์],
8 เมษายน 2564)
การเร่งรัดพัฒนาตามแผนฯ ฉบับแรก ตั้งแต่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตามสโลแกน “น้ าไหล ไฟสว่าง ทางดี
มีงานท า” (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564) ยังมีการท าลายพื้นที่ป่าเพื่อพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐานและมีการจัดตั้งพื้นที่พัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งพบว่าส่งผลกระทบในช่วงหลังอีก ยกตัวอย่างเช่น ในปี
พ.ศ.2505 เกิดสงครามเวียดนามที่อเมริกาเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทย ท าให้มีการตัดถนนสาย 331 กับ
304 สาย 331 คือถนนยุทธศาสตร์เชื่อมจากสัตหีบกับถนนมิตรภาพที่นครราชสีมา รวมถึงสาย 304 ด้วย และ
เนื่องจากถนนสาย 331 เชื่อมต่อกับสาย 304 ที่ตัดถนนทะลุผ่านป่าเขาใหญ่กับป่าทับลาน แต่เดิมสองป่านี้อยู่
รวมกันเรียกว่าป่าดงพญาไฟ จึงถือเป็นการรุกเข้าพื้นที่ป่าที่ส าคัญมากของภาคตะวันออก ที่ไม่ใช่เพียงเป็นป่า
ตะวันออกของไทยแต่เป็นภาคตะวันออกของโลก และในช่วงนี้เอง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม
5
2564) และมีการพบงานวิจัยเรื่อง เพื่อนขายชาติ ที่เผยให้เห็นว่าจักรวรรดินิยมอเมริการ่วมมือกับผู้น าของไทย
ในการท าลายป่าไม้แห่งชาติซึ่งมีตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
การเร่งรัดพัฒนาเศรษฐกิจช่วงนี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า มีการพัฒนา
เรื่องของโรงกลั่นน้ ามันในปี พ.ศ.2504 ซึ่งในช่วงนั้นรัฐบาลไทยมีการติดต่อกับรัฐบาลในต่างประเทศ
ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นหรืออเมริกา ต่างมีแนวความคิดที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่ของ
ภาคตะวันออก เรียกว่า อีสเทิร์น ซีบอร์ด (Eastern Seaboard) ซึ่งถูกคิดมาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 แล้ว
5 ผู้ให้สัมภาษณ์ยังไม่สามารถค้นพบต้นฉบับแต่พบเป็นเอกสารอ้างอิงชั้นรองในงานวิจัย
39