Page 47 - kpiebook65022
P. 47
ส าหรับการสนทนากลุ่ม เป็นการน าเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นจากผู้ให้สัมภาษณ์ และรับฟังความคิดเห็น
จากกลุ่มนักวิชาการ ประชาสังคม และหน่วยงานภาครัฐที่อยู่ในภูมิภาค ตามประเด็นส าคัญ ได้แก่
1. ช่องว่างของผลการศึกษา จากข้อมูลที่ผู้วิจัยได้น าเสนอมีประเด็นเพิ่มเติมอะไรบ้าง
2. บทบาทภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ประชาสังคม และวิชาการต่องานวิชาการและการขับเคลื่อน
การเมืองสิ่งแวดล้อม จะท าอะไรได้บ้าง
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่องานวิจัยและการขับเคลื่อนการเมืองสิ่งแวดล้อมในสังคมไทยมีอะไรบ้าง
ในส่วนการตรวจสอบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม
ในเชิงประเด็น จ านวน และกลุ่มเป้าหมาย ผู้วิจัยได้ท าการปรึกษากับที่ปรึกษาโครงการเพื่อให้ข้อเสนอแนะ
และยังได้มีการเสนอข้อเสนอการวิจัยต่อคณะกรรมการจริยธรรมวิจัยในคน สถาบันพระปกเกล้า ซึ่งให้
ข้อเสนอแนะเพิ่มจ านวนประเด็น และจ านวนกลุ่มตัวอย่าง ส าหรับการจัดเก็บข้อมูลใช้เครื่องบันทึกเสียง
สมุดบันทึก และการพิมพ์บันทึกระหว่างเก็บข้อมูลในการเก็บข้อมูลแต่ละครั้ง ส าหรับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้อมูล
เชิงทุติยภูมิ (เอกสารงานวิจัย) ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตในการสืบค้นเอกสาร แล้วเก็บไว้ในพื้นที่
ระบบคลาวด์ในกูเกิลไดร์ฟของโครงการวิจัย
3.3 วิธีวิเคราะห์และน าเสนอผลการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเป็นหลัก (Thematic content analysis โดย Gray,
2018, pp.692-694) โดยมีทั้งการก าหนดประเด็นเพื่อตีความข้อมูลไว้ล่วงหน้าและก าหนดประเด็นตีความ
ข้อมูลภายหลังโดยพิจารณาจากข้อค้นพบ ผู้วิจัยขอแบ่งตามกลุ่มข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาก่อนหน้านี้
โดยในส่วนข้อมูลปฐมภูมิใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้
1. ถอดเทปบันทึกเสียงการเก็บข้อมูล พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word
2. ก าหนดประเด็นส าหรับการตีความในแบบกว้าง ๆ ในโปรแกรม QDA Miner Lite โดยเน้น
ตามประเด็นค าถามการสัมภาษณ์
3. ตีความข้อมูลโดยให้รหัส (Coding) กับข้อค้นพบในแต่ละประเด็นค าถาม ในโปรแกรม QDA Miner
Lite เพื่อจ าแนกข้อค้นพบในรายละเอียดของประเด็นใหญ่ โดยก าหนดประเด็นเพื่อตีความข้อมูลไว้ล่วงหน้า
ส าหรับประเด็นสัมภาษณ์ข้อที่ 2 (ความส าเร็จในการขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมามีเรื่องใดบ้าง)
และ ข้อที่ 4 (กรณีศึกษาที่เป็นประเด็นส าคัญต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน หรือต้องมีการขับเคลื่อนจากภาครัฐ
ชุมชน และประชาสังคม มีอะไรบ้าง) ตามประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อมที่ Fahey & Pralle (2016) ได้ท าการ
สรุปไว้เป็น 9 ประเด็น ได้แก่ มลพิษ พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ ระบบนิเวศ เกษตรกรรม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม
ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ข้อที่ 1 (วิวัฒนาการและประเด็นส าคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อมแต่ละยุคเป็น
อย่างไรบ้าง) ใช้การวิเคราะห์แบ่งยุคควบคู่ไปกับการค้นหาข้อมูลเปรียบเทียบ โดยมีการเปรียบเทียบกันเอง
ระหว่างผู้ให้สัมภาษณ์ และการเปรียบเทียบกับข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้ เพราะผู้ให้ข้อมูลบางท่านไม่
สามารถระบุช่วงเวลาได้ชัดเจน หรือบางท่านมีการให้ข้อมูลช่วงเวลาที่ไม่ตรงกัน
4. ทบทวนประเด็นที่ได้ตีความไว้ เพื่อพิจารณาความสอดคล้องกันระหว่างข้อมูลที่ลงรหัสกับประเด็น
ค าถามในการสัมภาษณ์
34