Page 49 - kpiebook65022
P. 49
บทที่ 4
ผลการศึกษา
ข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มได้ถูกประมวลและน าเสนอไว้พร้อมกันในแต่ละประเด็น
ของการน าเสนอในบทนี้ เพื่อให้เห็นมุมมองการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยที่เกิดขึ้นจริง ในประเด็นของ
วิวัฒนาการและประเด็นส าคัญในแต่ละยุคของประเทศไทย กับความส าเร็จในการขับเคลื่อนประเด็น
สิ่งแวดล้อมที่ผ่านมา ซึ่งประเด็นสิ่งแวดล้อมหลายประเด็นในอดีตยังคงมีการเคลื่อนไหวของหลายภาคส่วนและ
ยังคงพบอุปสรรคที่ส่งผลให้การขับเคลื่อนไม่ประสบผลส าเร็จ บางประเด็นถือเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนาน
และต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งผู้ให้ข้อมูลทั้งจากการสัมภาษณ์และระดมความคิดเห็นกลุ่มได้ให้
ข้อเสนอแนะในการเคลื่อนไหวการเมืองด้านสิ่งแวดล้อม และข้อเสนอแนะทางวิชาการการเมืองด้าน
สิ่งแวดล้อม รายละเอียดของการน าเสนอในบทนี้จึงแบ่งเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ วิวัฒนาการด้านสิ่งแวดล้อม
ในแต่ละยุคของประเทศไทย และสถานการณ์ด้านการขับเคลื่อนทางสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ดังรายละเอียดต่อไปนี้
4.1 วิวัฒนาการด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละยุคของประเทศไทย
ในส่วนนี้น าเสนอข้อมูลในส่วนที่เป็นวิวัฒนาการด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยจากมุมมองผู้ให้
สัมภาษณ์ตลอดจนประเด็นการขับเคลื่อนที่ถือว่าเป็นความส าเร็จในอดีตที่ผ่านมา ดังนี้
ประเด็นการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในแต่ละยุค
การแบ่งยุคสมัยของการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยจากข้อค้นพบ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งจ านวนยุคที่
แตกต่างโดยมีจุดหมายในการแบ่งที่มีการใช้ช่วงการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครอง แผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และสังคมแห่งชาติ รัฐธรรมนูญ การเคลื่อนไหวที่ส าคัญของภาคประชาชน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้สัมภาษณ์
ท่านหนึ่งกล่าวว่า การแบ่งยุคของการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยสามารถแบ่งได้หลายแบบ อาจเป็นช่วง
ก่อนปี พ.ศ.2535 เพราะเป็นช่วงที่มีการตื่นตัวเรื่องแวดล้อมในระดับโลกและเป็นช่วงปีที่ประเทศไทยมี พ.ร.บ.
ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 หรือผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มใน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกล่าวว่า การเมืองสิ่งแวดล้อมไทยอาจแบ่งเป็น 2 ช่วงใหญ่ ๆ และมีช่วงย่อยอยู่ด้วย
ได้แก่ ช่วงก่อนยุคสงครามเย็นกับช่วงหลังยุคสงครามเย็น เพราะหลังยุคสงครามเย็นเป็นยุคที่ชัดเจนมากว่า
ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือหรือได้รับผลกระทบจากการแบ่งฝ่ายค่ายของโลก ประเทศไทยได้รับความ
ช่วยเหลือจากธนาคารโลกให้ร่างแผนแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 ยุคหลังสงครามเย็นประเทศไทย
เริ่มหันเหทิศทางไปพัฒนาภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น และก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
มากยิ่งขึ้น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564)
อย่างไรก็ดี ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ประมวลข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มแล้วจ าแนก
ออกเป็นสามช่วงใหญ่ ๆ เป็นช่วงก่อน พ.ศ. 2500 ประมาณการเป็นช่วงโบราณและก่อนสงครามเย็นประจวบ
กับเป็นช่วงก่อนมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับแรกในประเทศไทย ช่วงที่สอง พ.ศ.2500 – 2540 ซึ่งเป็น
ช่วงกว้าง ผู้วิจัยจึงได้ลงรายละเอียดช่วงย่อยในช่วงนี้ลงไปด้วย โดยพิจารณาจากข้อค้นพบที่ได้ซึ่งแบ่งตาม
เหตุการณ์ส าคัญทางการเมือง และเอกสารที่เกี่ยวข้องของประเทศอย่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
36