Page 44 - kpiebook65022
P. 44
บทที่ 3
วิธีวิจัย
การวิจัยครั้งนี้แบ่งขอบเขตการศึกษาเรื่องการเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของการจัดสรรอ านาจระหว่าง
ตัวแสดงต่าง ๆ ในการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันจะน าไปสู่สมดุลความยั่งยืนในสามด้าน
ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ส าหรับรายละเอียดวิธีวิจัยแบ่งเป็นกลุ่ม
ตัวอย่างในการวิจัย วิธีการวิจัย เครื่องมือ การวิเคราะห์ และวิธีน าเสนอผลการวิจัย มีรายละเอียดดังนี้
3.1 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นสองส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อการเก็บข้อมูลแบบ
ปฐมภูมิ และส่วนที่สองเป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อการเก็บข้อมูลแบบทุติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างแรก เป็นตัวแทนจากสาม
ภาคส่วนที่มีนโยบายและการปฏิบัติงาน การเคลื่อนไหว หรือความสนใจทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับด้าน
สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ แบ่งเป็นกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์รวม 13 ท่าน
(เป้าหมาย 10-15 ท่าน) และกลุ่มผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเป้าหมายรวม 49 ท่าน (เป้าหมาย 40-60 ท่าน)
คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) รายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ตาราง 3.1 กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม
จ านวน รวม
กลุ่มตัวอย่าง
ประชาสังคม วิชาการ หน่วยงานรัฐ
การสัมภาษณ์ 5 4 4 13
การสนทนากลุ่ม
ภาคใต้ 4 5 7 16
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 0 7 8
ภาคเหนือ 0 2 9 11
ภาคกลาง 1 1 12 14
รวม 6 8 35 49
กลุ่มตัวอย่างที่สอง เป็นเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเมืองสิ่งแวดล้อมทั้งในและต่างประเทศ
ก าหนดขอบเขตการค้นคว้าเอกสารที่เป็นงานวิจัยจากค าค้น ได้แก่ “การเมืองสิ่งแวดล้อม” “การมีส่วนร่วม”
“การเคลื่อนไหวทางสังคม” “การตัดสินใจ” “นโยบายสาธารณะ” (งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศ
ไทย) หรือ “environmental politics” “participation” “social movement” “decision making”
“public policy” (งานวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ)
31