Page 40 - kpiebook65022
P. 40
เป้าหมายที่เก้า โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม (Industry Innovation and
Infrastructure) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนนวัตกรรม และส่งเสริมการ
ปรับตัวให้เป็นอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่สิบ ลดความเหลื่อมล้ า (Reduced Inequalities) ลดความเหลื่อมล้ าทั้งภายในและ
ระหว่างประเทศ
เป้าหมายที่สิบเอ็ด เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) ท าให้เมือง
และการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัยทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่สิบสอง การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (Responsible Consumption and Production)
รับรองแผนการบริโภค และการผลิตที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่สิบสาม การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) ด าเนิน
มาตรการเร่งด่วนเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบ
เป้าหมายที่สิบสี่ ทรัพยากรทางทะเล (Life Below Water) อนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร
และทรัพยากรทางทะเล เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่สิบห้า ระบบนิเวศบนบก (Life on Land) ปกป้อง ฟื้นฟูและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จาก
ระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน
เป้าหมายที่สิบหก ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง (Peace and Justice Strong Institutions)
ส่งเสริมสังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และ
เป้าหมายที่สิบเจ็ด ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals) สร้างพลังแห่ง
การเป็นหุ้นส่วน ความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ส าหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน แม้ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนจะเป็นไปเพื่อสมดุลสามเป้าหมายหลัก
แต่ก็ยังมีการถกเถียงในเชิงวิชาการ อันเกิดมาจากการพิจารณาเฉพาะเป้าหมายและการปฏิบัติจริงในอดีตที่
ผ่านมาด้วย ว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น แท้จริงแล้วเป็นเพื่อการพัฒนาหรือสิ่งแวดล้อมกันแน่
ความท้าทายของการเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ส าคัญคืออะไร และจะมีการขับเคลื่อนรูปแบบใด
เพื่อให้เป้าหมายพัฒนาอย่างยั่งยืนบรรลุผลส าเร็จ
ในเชิงของเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีนักวิชาการทั้งที่เห็นว่ามุ่งความสมดุล บ้างก็เห็นว่าเมื่อ
พิจารณารายตัวชี้วัดแล้ว ประเด็นสิ่งแวดล้อมดูจะด้อยความส าคัญมากที่สุด ยกตัวอย่างเช่น Weber and
Weber เห็นว่าการริเริ่มตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs ขององค์การสหประชาชาตินั้นถูกยกให้
เป็นกรอบส าหรับนานาประเทศในการแก้ปัญหาความท้าทายสองประการระหว่างการเปลี่ยนแปลงทาง
สิ่งแวดล้อมกับการพัฒนา และเมื่อพิจารณามิติสิ่งแวดล้อม ก็จะเห็นได้ว่า เป้าหมายที่ค านึงถึงสิ่งแวดล้อม
โดยเฉพาะ ได้แก่
เป้าหมายที่ 12 เรื่องการประกันการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน
เป้าหมายที่ 13 การด าเนินการเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับปัญหาและผลกระทบจากโลกร้อน
เป้าหมายที่ 14 อนุรักษ์และใช้ทรัพยากรทางทะเลและสัตว์น้ าอย่างยั่งยืน และ
27