Page 35 - kpiebook65022
P. 35
เกิดขึ้นไม่ได้ หากยังไม่มีการก าหนดกฎหมายระดับรองออกมาบังคับใช้ แต่หากพิจารณาหมวด 3 มีการก าหนด
สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยว่า สิทธิหรือเสรีภาพใดที่รัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือ
ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น แม้ยังไม่มีการตรากฎหมายนั้นขึ้นใช้บังคับ บุคคล
หรือชุมชนย่อมสามารถใช้สิทธิหรือเสรีภาพนั้นได้ ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ
สิ่งแวดล้อมที่ประชาชนจะเข้าไปร่วมมีส่วนร่วมได้ภายใต้การท าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่
มาตรา 57 (2) รัฐต้องอนุรักษ์ คุ้มครอง บ ารุงรักษา ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และ
ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยต้องให้ประชาชน และชุมชนท้องถิ่น มีส่วนร่วมด าเนินการและได้รับ
ประโยชน์ด้วย
ตามมาตรา 58 การด าเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ
อนามัย ฯลฯ รัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ประชาชน และชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน
เพื่อน ามาประกอบการพิจารณาด าเนินการ
มาตรา 78 รัฐต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ การจัดท าบริการสาธารณะ
การตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐ การต่อต้านการทุจริต รวมทั้งการตัดสินใจทางการเมือง และการอื่น ๆ ที่อาจมี
ผลกระทบต่อประชาชน
มาตรา 253 ในการด าเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เปิดเผยข้อมูลและรายงานผลให้
ประชาชนทราบ และมีกลไกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วย
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายและการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในช่วงนี้ ระหว่าง พ.ศ. 2540 - 2563 ยังคงเป็น
แนวทางปฏิบัติของรัฐในทรัพยากรธรรมชาติอยู่โดยมีการปรับปรุงกฎหมายเพิ่มเติมในบางฉบับ หรือกฎหมายที่
เกิดขึ้นใหม่จะก าหนดเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรนั้น ๆ ไว้ด้วย ความต่าง
ของช่วงนี้คือการออกกฎหมายเพื่อรองรับต่อทรัพยากรใหม่ ๆ ในแบบเชิงซ้อนขึ้นไปอย่างการจัดการ
การท่องเที่ยว ตลอดจนมีกฎหมายที่เกี่ยวกับองค์กรที่จะมาดูแลการบริหารจัดการทรัพยากรแบบมีส่วนร่วม
จากภาคประชาชน
กฎหมายว่าด้วยทรัพยากร: จากการส ารวจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง สามารถแบ่งเป็นกลุ่มกฎหมายว่าด้วย
ทรัพยากรป่าไม้สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ทรัพยากรน้ า ที่ดิน พลังงาน และการท่องเที่ยว ที่มีสาระเกี่ยวกับการ
จัดสรรทรัพยากรร่วมกัน เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 ที่ให้ชุมชนมีสิทธิในการรวมตัวกัน
เพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุ์พืชที่พวกเขาร่วมกันอนุรักษ์ได้ พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ าแห่งชาติ
พ.ศ. 2561 ที่ก าหนดให้น้ าเป็นทรัพยากรส่วนรวม มีการก าหนดโครงสร้างองค์กรบริหารจัดการน้ าที่
ภาคประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมได้ในระดับคณะกรรมการลุ่มน้ าและคณะกรรมการทรัพยากรน้ า
แห่งชาติ การจัดท านโยบายและแผนแม่บทการจัดการทรัพยากรย้ าจะต้องสนับสนุนให้ภาคประชาชนมาร่วมให้
ความเห็น การออกระเบียบหรือมาตรการที่ท าให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมจัดการน้ า หรือพระราชบัญญัติการ
ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ที่แนวนโยบายด้านพลังงานของรัฐนั้นจะต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ด าเนินงานด้านพลังงาน และพิจารณาถึงมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อชุมชนและสภาพแวดล้อมในพื้นที่
ใกล้เคียงด้วย
22