Page 38 - kpiebook65022
P. 38
ต่อมา จากการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 70 เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2558
ณ ส านักงานใหญ่สหประชาชาติ ประเทศไทย และประเทศสมาชิกสหประชาชาติ จ านวน 193 ประเทศ
ร่วมกันลงนามรับรองวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development)
ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาของโลกเพื่อร่วมกันบรรลุการพัฒนาทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมอย่าง
ยั่งยืน โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) โดยก าหนดให้มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
(Sustainable Development Goals: SDGs) เป็นแนวทางให้แต่ละประเทศด าเนินการร่วมกัน (ส านักงาน
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ม.ป.ป.)
ส าหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย และ 169 เป้าหมายย่อย
(SDG Targets) ที่มีความเป็นสากล เชื่อมโยงและเกื้อหนุนกัน และมีการก าหนดตัวชี้วัด จ านวน 247 ตัวชี้วัด
เพื่อใช้ติดตามและประเมินความก้าวหน้าของการพัฒนา โดยสามารถจัดกลุ่ม SDGs ตามปัจจัยที่เชื่อมโยงกัน
ใน 5 มิติ (5P) ได้แก่
มิติแรก การพัฒนาคน (People) ให้ความส าคัญกับการขจัดปัญหาความยากจนและความหิวโหย
และลดความเหลื่อมล้ าในสังคม
มิติที่สอง สิ่งแวดล้อม (Planet) ให้ความส าคัญกับการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ
สภาพภูมิอากาศเพื่อพลเมืองโลกรุ่นต่อไป
มิติที่สาม เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง (Prosperity) ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีและ
สอดคล้องกับธรรมชาติ
มิติที่สี่ สันติภาพและความยุติธรรม (Peace) ยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีสังคมที่สงบสุข และ
ไม่แบ่งแยก
มิติที่ห้า ความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา (Partnership) ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อน
วาระการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ประกอบด้วย 17
เป้าหมาย ดังภาพ 2.1 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้
25