Page 33 - kpiebook65022
P. 33

ยั่งยืน โดยใช้มาตรการทางภาษีและตั้งธนาคารที่ดิน หรือด้านทรัพยากรทางทะเล มีการฟื้นฟูทะเลโดยการมี
               ส่วนร่วมจากชุมชน

                       รัฐบาลชุดที่ 61 มีแนวนโยบายเพื่อรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่าง

               การอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตั้งแต่การแก้ไขปัญหาบุกรุกป่า จัดท าแนวเขตที่ดินให้ชัดเจน
               อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้แบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน มีการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรฐานชีวภาพอย่าง
               ยุติธรรมเท่าเทียม การก าหนดแนวเขตที่ดินและส่งเสริมการมีอาชีพและรายได้อื่นเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
               มีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ าที่เป็นเอกภาพ และเร่งแก้ไขปัญหามลพิษที่จะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ

               สุขภาพของประชาชน

                       และรัฐบาลชุด 62 ก็เช่นกัน มีแนวนโยบายการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อ
               การเติบโตอย่างยั่งยืน ตั้งแต่การเพิ่มพื้นที่ป่าฟื้นฟู ป่าเสื่อมโทรม เสริมบทบาทภาคประชาชน จัดระบบ
               ลดความเหลื่อมล้ าในการถือครองที่ดิน ส่งเสริมการบริหารน้ าทั้งระบบและชุมชนมีส่วนร่วมจัดการ สร้างความ
               มั่นคงทรัพยากรแร่และชายฝั่งโดยก าหนดพื้นที่พัฒนาที่ประชาชนมีส่วนร่วม ลดปัญหาก๊าซเรือนกระจกที่ทุก

               ภาคส่วนร่วมกันพัฒนา พัฒนากลไกแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และหาเครื่องมือมาเพิ่มขีดความสามารถพัฒนา
               ร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาขยะและของเสีย

                       จากค าแถลงนโยบายรัฐบาลในช่วงนี้ เห็นได้ว่า มีความพยายามเชื่อมโยงทรัพยากรกับภาคประชาชน
               เข้าด้วยกันมากขึ้น

                       รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                       การเคลื่อนไหวของประเด็นสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้ถือว่ามีความก้าวหน้าเนื่องจากรัฐธรรมนูญแห่ง

               ราชอาณาจักรไทย นับตั้งแต่ฉบับ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ให้ความส าคัญสิทธิและการมีส่วนร่วมของประชาชน
               ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเปิดกว้างมากกว่าในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้ โดยอาจมีบางช่วง
               บางตอนที่มีสถานการณ์ทางการเมืองท าให้รัฐธรรมนูญบางฉบับอาจไม่ได้กล่าวถึงสิทธิและการมีส่วนร่วมของ
               ประชาชนในประเด็นสิ่งแวดล้อม แต่ก็นับได้ว่า การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในประเด็นสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้
               มีกลไกของรัฐที่ให้การรับรองและเปิดกว้างต่อการมีส่วนร่วมมากขึ้น


                       รัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 พุทธศักราช 2540 มีบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพปวงชนชาวไทย
               มาตรา 46 ที่ก าหนดว่าบุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิ และมีส่วนร่วมในการจัดการ
               การบ ารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ทั้งนี้ ตามที่
               กฎหมายบัญญัติ และมีหลายมาตราที่เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมทาง

               กฎหมาย ผ่านค าว่า สิทธิและการมีส่วนร่วม

                       มาตรา 56 รับรองสิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบ ารุงรักษา และการได้
               ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ และในการคุ้มครอง ส่งเสริม และรักษา
               คุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ด ารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง ตามที่กฎหมายบัญญัติ

                       มาตรา 59 รับรองสิทธิของบุคคลในการรับข้อมูล ค าชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐที่อาจมี
               ผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมสุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสีย และมีสิทธิแสดงความคิดเห็น

               ในเรื่องดังกล่าว ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ






                                                            20
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38