Page 28 - kpiebook65022
P. 28

แต่มักถูกให้เป็นผู้ร้ายในเกมการเมืองเรื่องสิ่งแวดล้อม ขณะที่ คนชั้นกลางหรือกลุ่มคนที่อ้างว่า มีความรู้และ
               อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกลับเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากทรัพยากรธรรมชาติ (Bryant, 1994: อ้างถึง

               ใน จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 164)

                       ในรูปแบบของการแย่งชิงพื้นที่ การจัดการสิ่งแวดล้อมในบางประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศ
               ในภูมิภาคเอเชียไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยง่าย เพราะวาทกรรมพัฒนาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
               (Sustainable Development) ที่ภาครัฐน ามาใช้ในฐานะที่เป็นผู้มีอานาจสูงสุดในการจัดการทรัพยากร
               ภายในประเทศ ผ่านรูปแบบสัมปทานหรือสนับสนุนกลุ่มทุนอุตสาหกรรม (พัฒนา) ขณะเดียวกัน รัฐก็ต้อง

               สวมบทบาทอนุรักษ์ (สิ่งแวดล้อม) การจัดการแวดล้อมของรัฐจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องทั้งพัฒนาและอนุรักษ์
               ไปด้วย ท าให้รัฐจ านวนมากเลือกหนทางการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบผักชีโรยหน้า (Window Dressing)
               มากกว่าการน าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างแท้จริง (จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ,
               2560, น. 165)

                       อย่างไรก็ดี ในเชิงของกลุ่มเคลื่อนไหวนับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 การเติบโตของกลุ่มองค์กรพัฒนา

               เอกชน (Non-Governmental Organizations: NGOs) กลายเป็นตัวละครใหม่ที่มีบทบาทส าคัญที่เข้ามามี
               ส่วนร่วมในกระบวนการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเติบโตอย่างมีนัยส าคัญของกลุ่ม
               NGOs ในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ท าหน้าที่หลายบทบาท และเชื่อมโยงบทบาทของการเมือง
               ระดับชาติและกลุ่ม NGOs ต่างประเทศ เพื่อสร้างรากฐานความเข้มแข็งขององค์กรและเครือข่าย ซึ่งในหลายครั้ง

               สามารถเปลี่ยนโจทย์และวาระทางสิ่งแวดล้อมในสังคมได้อย่างน่าสนใจ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมของ
               ภาคประชาชนในการเคลื่อนไหวด้านการเมืองสิ่งแวดล้อม พบว่า ยังถูกใช้แสวงหาประโยชน์และอาจถูกใช้เป็น
               เครื่องมือเพื่อรับรองความชอบธรรมทั้งจากภาครัฐ กลุ่มทุน หรือกระทั่งจากกลุ่ม NGOs เอง

                       กลุ่มเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นอาจไม่ใช่เรื่องใหม่ของการเมืองสิ่งแวดล้อมในทศวรรษนี้
               แต่กลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมเป็นประชาชนกลุ่มคนยากไร้ หรือเกษตรกร

               หรือกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในสังคมที่ต่อสู้กับรัฐที่ร่วมมือกับกลุ่มทุน กลุ่มเคลื่อนไหวเหล่านี้เปลี่ยนโฉมไปสู่กลุ่ม
               เคลื่อนไหวหน้าใหม่ ซึ่งไม่ใช่ผู้รับผลกระทบโดยตรงจากกระบวนการพัฒนา ภาครัฐเองก็ปรับเปลี่ยนตัวเอง
               จากการอุปถัมภ์กลุ่มทุน เป็นการปรับเปลี่ยนตามประเด็นและสถานการณ์ที่เกิดขึ้น จนไม่อาจระบุได้ตายตัวว่า

               รัฐอยู่ฝ่ายใด และอิงกับผลประโยชน์ของกลุ่มใด การเปลี่ยนโฉมของรัฐแบบนี้เป็นผลมาจากฐานความเติบโต
               ของกระบวนการท าให้เป็นประชาธิปไตย (Democratization) หรือกลุ่มทุนก็ไม่ได้สวมบทบาทแย่งชิง
               ทรัพยากรเพียงฝ่ายเดียว จึงท าให้ความสัมพันธ์เชิงอ านาจของกลุ่มต่าง ๆ แตกต่างออกไป (Bruenig, 1993:
               pp. 253-266 อ้างถึงใน จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 160-161) จากเดิมการ

               พัฒนาจะเป็นตัวร้ายในเรื่องของการเมืองสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อมีค าว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability)
               ท าให้การพัฒนาต้องค านึงถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อมอยู่ด้วย และมีการถกเถียงหาทางอยู่ร่วมกัน (Michael
               and Raymond, 1996 อ้างถึงใน จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 161)

                       การเมืองสิ่งแวดล้อมโลกที่เป็นจุดส าคัญในช่วงทศวรรษ 1990 มีความต่อเนื่องที่สอดคล้องกัน
               กับ Dauvergne and Clapp (2016, p. 1) กล่าวว่า การศึกษาเกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อมโลก (Global

               Environmental Politics: GEP) ได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ. 2000 โดยให้
               ความส าคัญกับการเริ่มต้นศึกษาบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศในการขับเคลื่อนการเมืองสิ่งแวดล้อม
               (O’Neill and Hass, 2019, p. 4) อีกทั้ง วารสารวิชาการการเมืองสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environmental
               Politics: GEP) ได้ศึกษาแนวโน้มของการศึกษาเกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา



                                                            15
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33