Page 24 - kpiebook65022
P. 24
DeSombre กล่าวว่า การเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนการที่สังคมมาหาทางเลือกและตัดสินใจร่วมกัน ดังนั้น
ตัวแสดงที่เกี่ยวข้องต่างมีบทบาทและอิทธิพลต่อการเมืองสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ได้แก่ นักการเมือง พรรคการเมือง
ข้าราชการ ศาล กลุ่มผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อม ภาคธุรกิจ และสื่อมวลชน ในส่วนนักการเมืองนั้นมีความ
ต้องการที่จะได้รับเลือกตั้งกลับเข้าไปใหม่อีกครั้งจึงมีแนวโน้มสนับสนุนกลุ่มคนที่เลือกตนเข้ามา พรรคการเมือง
จะมีอิทธิพลต่อทิศทางหรือลักษณะการตัดสินใจทางการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคกรีนหรือไม่ก็ตามก็สามารถมี
อิทธิพลต่อการเมืองสิ่งแวดล้อมได้ กลุ่มข้าราชการหรือระบบข้าราชการเป็นกลุ่มที่น านโยบายหรือการตัดสินใจ
ทางการเมืองไปปฏิบัติ และก็เป็นกลุ่มที่มักถูกมองข้ามในเชิงการเมืองสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นกลุ่มที่มีผลต่อ
สัมฤทธิ์ผลของนโยบายและอยู่ในพื้นที่การเมืองสิ่งแวดล้อมยาวนานกว่านักการเมืองด้วยซ้ า ส่วนศาล เป็นกลุ่ม
ที่เป็นตัวแสดงหลักเช่นกัน แม้จะไม่ได้เป็นตัวแสดงหลักในการตัดสินใจทางนโยบายสิ่งแวดล้อม แต่ก็แสดง
บทบาทในการน าการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ
ส าหรับกลุ่มประชาสังคม DeSombre กล่าวว่า เป็นกลุ่มที่แยกออกมาจากการเมืองการปกครองแบบ
ทางการ เป็นกลุ่มที่พยายามเข้าไปมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ ซึ่งมักเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อม และอาจ
เป็นกลุ่มพลเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์ก็ได้ ส าหรับกลุ่มธุรกิจ มักเป็นภาคส่วนที่ท าให้เกิดผลกระทบทางลบต่อ
สิ่งแวดล้อมและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นมักมีต้นทุนสูงในธุรกิจ กลุ่มนี้จึงมักปฏิเสธเรื่องการดูแล
สิ่งแวดล้อมเพราะเป็นการเพิ่มต้นทุนหรือไม่ก็ไปเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมืองเพื่อไปแทรกแซงการออก
กฎหรือหาทางที่จะท าให้ธุรกิจตนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนภาคสื่อมีส่วนท าให้ทั้งเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
หรือไม่ถูกต้องก็ได้ โดยธรรมชาติของสื่อย่อมต้องท าให้เกิดการตั้งค าถามต่อประเด็นนั้น ๆ ตามเป้าหมายที่วางไว้
แต่ปัจจุบันอาจมีเรื่องความไม่เชื่อถือสื่อมากขึ้นเพราะโซเชียลมีเดียและการเกิดขึ้นของข่าวปลอมจ านวนมาก
จึงยิ่งท าให้เกิดความซับซ้อนระหว่างสื่อและการเมืองสิ่งแวดล้อมเข้าไปอีก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเหล่านี้ถือว่า
ส าคัญ เมื่อมีการเหลื่อมซ้อนกัน (Overlap) ของผลประโยชน์ระหว่างภาคธุรกิจและประชาสังคม ก็อาจท าให้
โอกาสทางการเมืองมีมากขึ้น ความเข้าใจตัวแสดงเหล่านี้จะท าให้เข้าใจผลลัพธ์ทางการเมืองสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
(DeSombre, 2020, pp.94-96)
ขอบเขตเชิงโครงสร้างและสถาบัน การศึกษาเรื่องการเมืองสิ่งแวดล้อมจ าเป็นต้องท าความเข้าใจถึง
โครงสร้างทางการเมืองซึ่งการตัดสินใจทางการเมืองถูกกระท า โครงสร้างการเมืองที่แตกต่างย่อมมีผลต่อการ
ตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันด้วย เช่น การเมืองแบบประชาธิปไตยกับแบบเผด็จการ แม้เห็นได้ชัดว่า
แบบประชาธิปไตยดูจะมีสถิติที่ดีด้านสิ่งแวดล้อม มีการสะท้อนผลประโยชน์ของประชาชนที่ดีกว่าในการมี
สิ่งแวดล้อมที่ดี แต่กระบวนการทางการเมืองของระบอบนี้ก็จะมีสาระมากและค่อนข้างช้า ขณะที่การเมือง
แบบเผด็จการแม้จะค านึงถึงสิ่งแวดล้อมในภาพรวมน้อยกว่า แต่เมื่อมีการตัดสินใจด าเนินการก็จะเปลี่ยนแบบ
พลิกกลับทันที อย่างเช่น ในจีนก่อนโอลิมปิก ค.ศ. 2008 ที่ให้โรงงานลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ได้อย่างรวดเร็วลงได้ถึงร้อยละ 60 ซึ่งการปกครองแบบประชาธิปไตยไม่อาจท าได้
อย่างไรก็ดี หากพิจารณาความหมายของการเมืองสิ่งแวดล้อมดังที่สรุปไว้ก่อนหน้านี้ ว่าเป็น
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในการตัดสินใจทางนโยบายและร่วมด าเนินงานในประเด็นสิ่งแวดล้อม
อาจพอตีความได้ว่า ระบอบประชาธิปไตยมีหลักการที่รับรองความเท่าเทียมของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อการ
ตัดสินใจและบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน ที่น่าจะส่งผลต่อสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น
อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ที่ไม่ใช่เพียงการเลือกผู้แทนเข้ามาท าหน้าที่ใน
รัฐสภา แต่ประชาชนยังมีบทบาทในกระบวนการตัดสินใจร่วมกันต่อประเด็นการพัฒนาอย่างสิ่งแวดล้อม
ผ่านวิธีการหลายรูปแบบ เช่น การท าประชาพิจารณ์ การปรึกษาหารือสาธารณะ หรือเข้าร่วมเวทีวิชาการต่าง ๆ
11