Page 26 - kpiebook65022
P. 26

รูปที่ตั้งอยู่ใกล้แหล่งน้ าธรรมชาติและมีการใช้น้ าจนท าให้ระดับน้ าลดลงอย่างมาก เป็นต้น แต่ผลกระทบทาง
               สิ่งแวดล้อมยังเป็นระดับเล็ก ๆ ที่ระดับท้องถิ่นหรือภูมิภาค

                       ต่อมา ในยุคอุตสาหกรรม (ค.ศ. 1850 - 1950) เป็นช่วงมวลมนุษยชาติกดดันต่อสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก

               ด้วยเหตุผลสามประการ ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของจ านวนประชากร พฤติกรรมการบริโภค และอุตสาหกรรม
               ในส่วนการเพิ่มของจ านวนประชากรนั้นมีลักษณะที่มีความหนาแน่นสูงของประชากรในพื้นที่เมืองใหญ่ ส่วนใน
               พื้นที่ชนบทกลับมีจ านวนคนลดลง เพราะมีการเคลื่อนย้ายประชากรเพื่อไปท างานในเมือง ขณะที่พฤติกรรม
               การบริโภคของคนก็มีผลต่อการผลิตมากขึ้น เนื่องจากเป็นการบริโภคที่ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะความจ าเป็น แต่เพื่อ

               ความสะดวกสบาย อาหารที่ผลิตถูกท าให้มีความสะดวกสบายในการรับประทาน บ้านเรือนมีห้องใช้สอยที่มากขึ้น
               รวมทั้ง มีพื้นที่สวนของบ้านแต่ละหลัง การผลิตทุกอย่างถูกท ามาเพื่อรองรับต่อการบริโภคของมนุษย์เพื่อความ
               สะดวกสบายมากขึ้น ทั้งจ านวนประชากรที่มากขึ้นและพฤติกรรมบริโภคที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ มีผลต่อสิ่งแวดล้อม
               ในแง่ที่ว่า ท าให้เกิดของเสียที่เกิดจากภาคครัวเรือนมากขึ้น ส าหรับด้านอุตสาหกรรม ยุคนี้แน่นอนว่า มีจ านวน

               อุตสาหกรรมมากขึ้น และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่มีมากขึ้น หลายชุมชนมีโรงงานขนาดเล็กตั้งอยู่ในพื้นที่โดย
               ไม่จ าเป็นต้องตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบอีกต่อไป และต่อมาโรงงานเหล่านั้นขยายใหญ่ขึ้นจนส่งผลกระทบด้าน
               กลิ่น เสียง น้ าเสียแก่ชุมชนโดยรอบ การเกิดขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมอย่างมากมายในช่วงนี้ก่อให้เกิด

               ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในสองทาง ได้แก่ การขนส่งและของเสีย (Hays, 2000, pp. 6-20)
                       นับแต่ยุคสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักเป็นกลุ่มประเทศที่ถูก

               มองว่า เป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการปะทะจากการเคลื่อนไหวการเมืองสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นรูปธรรม
               เนื่องจาก ถูกผลักดันให้มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การถูกปลดปล่อยจากรัฐอาณานิคม ซึ่งใน
               แง่หนึ่งประเทศเหล่านี้หลุดมือจากการแย่งชิงทรัพยากรจากประเทศเจ้าอาณานิคม หากแต่การพยายามเพื่อ

               สร้างประเทศที่เข้มแข้ง ส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจ าเป็นต้องพึ่งพาการส่งออก
               การเปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมมุ่งสู่เกษตรเชิงพาณิชย์และส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างเต็มที่ จึงเลี่ยง
               ไม่ได้ที่ประเทศในภูมิภาคเอเชียกลายเป็นภูมิภาคที่ประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นได้ชัด (Tucker and
               Richard, 1983 อ้างถึงใน จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 161-162) ประกอบกับ
               แนวคิดประชาธิปไตยยังไม่มีรากฐานที่มั่นคงเพียงพอที่จะรับมือกับการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม (Berger and

               Borer, 1995 อ้างถึงใน จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 162)

                       การเปลี่ยนผ่านในยุคต่อมาเป็นช่วงหลังยุคอุตสาหกรรม คือหลัง ค.ศ. 1950 - 2000 Hays กล่าวว่า
               เป็นสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในช่วงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง อันเป็นผลมาจากการเติบโตของประชากร
               พฤติกรรมการบริโภค และการพัฒนาทางอุตสาหกรรมในช่วงก่อนหน้านี้ หลังจากที่การเติบโตของประชากรอยู่

               ในอัตราสูงในช่วง ค.ศ.1938-1956 และสูงขึ้นอีกครั้งในช่วงทศวรรษ 1980 การบริโภคยังคงส่งผลกระทบต่อ
               สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง ส่วนอุตสาหกรรมในยุคนี้เรียกว่าเป็นช่วงปฏิวัติของเสีย เพราะทั่วโลกต่างมีปัญหา
               เรื่องการหาสถานที่ในการก าจัดของเสียอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีปัญหาการจัดการกับอากาศเสียที่มาจากโรงงาน
               อุตสาหกรรม นอกจากนี้ ช่วงนี้มีประเด็นการพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมได้แก่ประเด็นพลังงาน เพื่อเป็น

               แนวทางใหม่ของการขนส่งที่ลดมลพิษ (Hays, 2000, pp. 6-20)

                       ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อมวลมนุษยชาติได้ถูกหยิบยกสู่เวทีสิ่งแวดล้อมระดับโลก เวทีส าคัญ
               ได้แก่ การประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit, Rio Conference) ที่เรียกว่า การประชุมสหประชาชาติ
               ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UN Conference on Environmental and Development: UNCED)
               ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจ านวน 178 ประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ในปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535)



                                                            13
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31