Page 30 - kpiebook65022
P. 30
2.3 การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
เนื้อหาในส่วนนี้น าเสนอนโยบายและกฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็น
1
การทบทวนภาพรวมการเมืองสิ่งแวดล้อมในระดับโครงสร้าง จากค าแถลงนโยบาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
2
ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เพื่อเป็นกรอบการศึกษาประเด็นส าคัญของการเมืองสิ่งแวดล้อม
แต่ละยุคของไทย จุดแบ่งที่ส าคัญคือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตั้งแต่ฉบับแรก จนกระทั่งถึง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อเป็นการก าหนดขอบเขตที่ชัดเจน ดังนั้น การเมือง
สิ่งแวดล้อมในบริบทของประเทศไทยในบทนี้อาจแบ่งเป็น 2 ช่วงส าคัญ ได้แก่ ได้แก่ ช่วงก่อนเปิดโอกาสการมี
ส่วนร่วมของประชาชน (พ.ศ. 2475 - 2539) และช่วงหลังเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชน (พ.ศ. 2540
- ปัจจุบัน พ.ศ. 2563)
2.3.1 การเมืองสิ่งแวดล้อมในช่วงก่อนเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชน (พ.ศ. 2475 - 2539)
นโยบายสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลชุดที่ 1 - 52
หากพิจารณาค าแถลงนโยบายรัฐบาลในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2475 - 2539 ของคณะรัฐบาลทั้ง 52 คณะ
ในช่วงหกสิบกว่าปีนี้ รัฐไทยมีแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ที่เป็นนโยบายส่งเสริมการเกษตรกร หรือ
การจัดการทรัพยากรเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น รัฐบาลสมัย จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ที่ส่งเสริมการถือครอง
กรรมสิทธิ์ การผลิตพืชผล การชลประทาน และคูคลอง หรือรัฐบาลสมัย นายอานันท์ ปันยารชุน ที่มี
แนวนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้สอดคล้องกับทรัพยากรธรรมชาติและท้องถิ่น มีการปฏิรูปที่ดิน
และการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
แนวนโยบายนั้นจะเน้นการใช้ทรัพยากรเพื่อประโยชน์ในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจเป็น เช่น รัฐบาล
สมัยจอมพล ถนอม กิตติขจร ที่มีนโยบายส่งเสริมอนุรักษ์ป่าไม้ แต่ก็เพื่อมีใช้และขายอย่างเพียงพอ จนกระทั่ง
ช่วงยุคปลาย ระหว่าง พ.ศ. 2535 - 2539 บทบาทของภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ปรากฏมากขึ้น ดังตัวอย่างค าแถลงนโยบายของรัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร
ช่วง 7 เมษายน - 10 มิถุนายน 2535 ที่นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมีแนวทางให้ประชาชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมใน
การพัฒนา บริหาร และบ ารุงรักษา ร่วมกับภาครัฐด้วย หรือรัฐบาล นายชวน หลีกภัย ระหว่าง 23 กันยายน
2535 - 13 กรกฎาคม 2538 มีนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ให้ท้องถิ่นและประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดูแล
รักษาป่าไม้ ปลูกป่าชุมชน และกล่าวถึงกระจายอ านาจการจัดสิ่งแวดล้อมไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น แนวนโยบาย
ท านองเดียวกันนี้ยังปรากฏในรัฐบาลชุดอื่นด้วย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
หากพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ ประเด็นด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ. 2475 -
2539 ส่วนใหญ่ระบุถึงการแบ่งโครงสร้างอ านาจทางการเมืองและแนวนโยบายโดยทั่วไปของรัฐอย่างด้าน
เศรษฐกิจและสังคม มีบางฉบับที่กล่าวถึงประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10
พ.ศ. 2517 ที่อาจกล่าวได้ว่า เป็นฉบับแรกที่มีแนวนโยบายสนับสนุนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
1 รายละเอียดค าแถลงนโยบายรัฐบาลสืบค้นได้จากเว็บไซต์ ส านักวิชาการ ส านักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2563)
2 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม สืบค้นได้จากเว็บไซต์ส านักงานคณะกรรมการ
กฤษฎีกา (2560)
17