Page 27 - kpiebook65022
P. 27
ณ กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการร่วมกันหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขประเด็น
ปัญหาสิ่งแวดล้อม แต่การประชุมดังกล่าวกลับจบลงด้วยความคลุมเครือ และย้อนกลับไปที่การน าปัญหา
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมกลับไปอยู่ที่แต่ละประเทศ อีกทั้ง ยังได้มีการแบ่งฝ่ายระหว่างประเทศร่ ารวยและ
ประเทศยากจน การผลักภาระ และการเรียกร้องค่าชดเชยในรูปตัวเงิน ดังนั้น จากผลการประชุมดังกล่าวจึงยัง
ไม่สามารถสร้างความร่วมมือระดับโลกได้อย่างแท้จริง (เพ็ญพิสุทธิ์ หอมสุวรรณ, 2550 อ้างถึงใน รจนา ค าดีเกิด,
2560, น. 4; สมพร แสงชัย, 2550, น. 338 อ้างถึงใน สุทธบถ ซื่อมาก, 2554, น. 2; Johnson, 1993 อ้างถึงใน
จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 159-160)
อย่างไรก็ตาม การประชุมดังกล่าวนับเป็นหมุดหมายส าคัญในการผลักดันและสร้างความส านึกร่วมกัน
ของนานาประเทศในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลลัพธ์โดยตรงจากการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างเร่ง
รีบในศตวรรษที่ 20 อีกทั้ง การประชุมดังกล่าวท าให้เกิดความตระหนักถึงการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่ง
ไม่ใช่เพียงการแสวงหาหรือเชื่อมั่นในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อน ามาแก้ไขปัญหามลภาวะเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับการเมืองซึ่งมีความสลับซับซ้อนเชิงโครงสร้างที่อาจจะต้องแก้ไขเป็นรายกรณีไป (จักรกฤษ
กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 160)
ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั่วโลกเป็นผลผลิตที่สะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์เชิงอ านาจที่ไม่เท่าเทียมกัน
ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีมาอย่างยาวนาน ทั้งในประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Bryant
and Parnwell, 1996 อ้างถึงใน จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 160) ทั้งนี้
ไม่อาจกล่าวได้ว่า ประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องเฉพาะของสังคมใดสังคมหนึ่ง หรือประเทศใดประเทศหนึ่ง
เท่านั้น เนื่องจากประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นการเปิดพื้นที่การต่อสู้ การแย่งชิงทรัพยากร โดยภาครัฐมักเป็น
ฝ่ายเดียวกับกลุ่มทุนเสมอ ซึ่งภาพการชุมนุม หรือประท้วงของประชาชนที่ยากไร้ได้กลายเป็นภาพคุ้นชินของ
สื่อในวงกว้าง นับตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1990 (Scott, 1989 อ้างถึงใน จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ
คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 160) ซึ่งความถี่ของภาพจ าเหล่านี้ได้ตอกย้ าให้เห็นถึงความรุนแรงของระดับ
มลภาวะที่สูงขึ้น รวมถึงจ านวนประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ที่ได้ขยายวงกว้างในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม
(Rodan, 1996 อ้างถึงใน จักรกฤษ กมุทมาศ และศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 160)
การพัฒนาอย่างเร่งด่วนของมวลมนุษยชาติ ถูกท าให้เป็นเรื่องที่ต้องเร่งจัดการให้ครบทุกพื้นที่
จนกลายเป็นปัญหา เนื่องจากการรีบเร่งพัฒนาเป็นการท าลายการสร้างฐานองค์ความรู้ ซึ่งส าคัญต่อการรู้เท่าทัน
และจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมส าหรับทุกภาคส่วน อีกทั้ง การพัฒนายังคงเป็นการพัฒนาแบบบนลงล่าง (Top-
down Development) หรือเรียกว่า บังคับให้พัฒนา จึงไม่ได้เกิดจากการมีส่วนร่วมจากพื้นที่หรือชุมชน
ยกตัวอย่าง งานวิจัยที่น่าสนใจที่มีการส ารวจผลกระทบของการท าเหมืองในกาลิมันตันตะวันตก พบว่า การ
คานอ านาจกันระหว่างรัฐ กลุ่มทุน และประชาชน เป็นการแย่งชิงการสร้างความชอบธรรมเพื่อใช้งาน
ทรัพยากรในพื้นที่ ประชาชนในพื้นที่ต้องรับมือกับข้อมูลข่าวสารข้างเดียวจากภาครัฐและกลุ่มทุน ต้องกลุ่มทุน
โดยการเป็นลูกจ้างเหมือง พึ่งพิงโรงเรียนและโรงพยาบาลของกลุ่มทุน การไม่มีส่วนร่วมและต้องพึ่งพิงนี้ท าให้
การเรียกร้องเพื่อรักษาทรัพยากรของชุมชนกลายเป็นเรื่องยากและสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เกินกว่าจะจัดการ
แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้ (Kunanayagam and Young, 1998 อ้างถึงใน จักรกฤษ กมุทมาศ และ
ศุภวรรณ คล่องด าเนินกิจ, 2560, น. 164)
การแย่งชิงพื้นที่ในการเมืองสิ่งแวดล้อมของกลุ่มต่าง ๆ นอกจากเกิดจากความอ่อนแอของระบอบ
ประชาธิปไตย และการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมโดยคนบางกลุ่มแล้ว การเมืองสิ่งแวดล้อมยังถูกท าให้เป็น
วาทกรรม ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มชาวนา ชาวเขา ที่ได้รับประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมน้อย
14