Page 31 - kpiebook65022
P. 31
สิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน ตามมาด้วยฉบับที่ 13 พ.ศ. 2521 และฉบับที่ 15 พ.ศ. 2534 สาระส าคัญ คือ รัฐเป็น
ผู้มีบทบาทหลักในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การรักษาและอนุรักษ์ จัดหา
แหล่งน้ าเพื่อการเกษตร การจัดสรรที่ดินท ากิน เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้ความส าคัญกับบทบาทรัฐ และไม่มีการ
กล่าวหรือให้สิทธิแก่ภาคประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเท่าที่ควร
(รายละเอียดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้ง 15 ฉบับจาก ส านักงานเลขาธิการวุฒิสภา, 2560)
ค าแถลงนโยบายและรัฐธรรมนูญที่ในช่วงแรก เห็นได้ว่าการกล่าวถึงประเด็นสิ่งแวดล้อมในเชิงที่เป็น
ทรัพยากรเพื่อให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์เศรษฐกิจ โดยรัฐเป็นผู้บทบาทหลักในการจัดสรรผลประโยชน์นั้น
จนกระทั่งช่วงปลายยุค ประมาณ พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา แนวนโยบายตามค าแถลงฯ จึงได้มีการระบุถึงการมี
ส่วนร่วมของประชาชนในภูมิภาคและท้องถิ่น การกระจายอ านาจบริหารจัดการทรัพยากร หมายถึงว่า
ตัวแสดงในการจัดสรรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้นนับตั้งแต่ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา
หากแต่รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศนั้น ยังไม่ได้ให้สิทธิและการเข้ามามีบทบาทของ
ภาคประชาชนในเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
พัฒนาการของรัฐธรรมนูญดังกล่าวข้างต้น มีความสอดคล้องกับกฎหมายในระดับรองที่ตามมา
กฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ที่มีการออกมาเป็นแนวปฏิบัติส าหรับหน่วยงานรัฐ ได้แก่ กฎหมายว่าด้วย
ทรัพยากรป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยทรัพยากรน้ า กฎหมายหมายว่าด้วยที่ดิน กฎหมายว่าด้วยทรัพยากรแร่ และ
กฎหมายว่าด้วยทรัพยากรพลังงาน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายในช่วง พ.ศ. 2475 - 2535 ส่วนใหญ่แบ่งได้ตามประเภทของทรัพยากร ได้แก่ ป่าไม้ ที่ดิน
ทรัพยากรน้ า แร่ เป็นต้น โดยก าหนดบทบาทหน้าที่ของรัฐเป็นหลักเช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ทรัพยากรป่าไม้ : ตัวอย่างกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรป่าไม้ เช่น พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2481
มีการก าหนดแนวทางจัดการป่าไม้ ที่จ ากัดเฉพาะภาครัฐและเอกชนบางรายที่ได้รับอนุญาตท าสัมปทาน ท าให้
ตัวแสดงอย่างภาคประชาชนที่ในอดีตเคยมีบทบาทในการร่วมจัดการและใช้ประโยชน์จากป่า ต้องถูกจ ากัด
บทบาทลง เพราะมีการก าหนดห้ามและมีบทลงโทษส าหรับผู้เข้าจัดการหรือใช้ประโยชน์โดยไม่ได้รับอนุญาต
เช่นเดียวกับกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรป่าไม้อื่น ๆ เช่น พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พระราชบัญญัติพันธุ์พืช พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติสงวนและ
คุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 เป็นต้น (คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน, 2554, น. 86-87)
ทรัพยากรน้ า : ตัวอย่างกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรแหล่งน้ า ภาครัฐมีบทบาทหลักในการบริหารจัดการ
ควบคุม และมีบทลงโทษหากมีการฝ่าฝืน เช่น พระราชบัญญัติชลประทานหลวง พ.ศ. 2484 ส่วนใหญ่ให้
บทบาทพนักงานของรัฐในการบริหารจัดการน้ า พระราชบัญญัติการประมง พ.ศ.2490 มีข้อก าหนดเพื่อควบคุม
การประมงและอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ าหลายข้อ (คณะบุคคลโครงการสิทธิชุมชน, 2554, น.91)
ทรัพยากรที่ดิน : ตัวอย่างกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรที่ดิน มีการก าหนดบทบาทหน้าที่และอ านาจ
หน่วยงานของรัฐ ทั้งจัดการการที่ดินเพื่อการเกษตร การเวนคืนที่ดินเพื่อการปฏิรูป เช่น พระราชบัญญัติ
จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 พระราชบัญญัติ
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 พระราชบัญญัติ
เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นต้น
18