Page 36 - kpiebook65022
P. 36

พระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2550 มีข้อก าหนดให้ผู้รับสัมปทานต้องดูแลรักษาคุณภาพ
               สิ่งแวดล้อมจากการท าสัมปทานปิโตรเลียม หรือพระราชบัญญัตินโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2551

               มีเพื่อให้นโยบายการท่องเที่ยวมีความเป็นเอกภาพและสอดรับกันตั้งแต่ระดับประเทศ ภูมิภาค และท้องถิ่น
               ซึ่งคณะผู้วิจัยเห็นว่า หลายชุมชนมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยวทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งการ
               ก าหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอาจมีการจัดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน

                       กฎหมายว่าด้วยองค์กรที่เกี่ยวข้อง: ช่วงหลังรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 ถือได้ว่า บทบาท
               ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนมากขึ้นและมีกฎหมายรองรับองค์กรใหม่ ๆ เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการใช้สิทธิและ

               การมีส่วนร่วมของประชาชนในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง พระราชบัญญัติคณะกรรมการ
               สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นกลไกตรวจสอบเรื่องที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน ที่รวมไปถึงสิทธิชุมชน
               ในทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วม
               ของประชาชนในการใช้ทรัพยากรและภูมิปัญญาในท้องถิ่นตามความหลากหลาย

                       จากค าแถลงนโยบาย รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เห็นได้ว่าแม้รัฐไทยจะมีแนวโน้ม

               ตอบสนองต่อการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน ทั้งในเชิงกฎหมาย และการด าเนินงานผ่านโครงการต่าง ๆ
               แต่ยังมีประเด็นที่ต้องด าเนินการอยู่มาก เช่น การตั้งองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อม การทบทวนระบบวิเคราะห์
               ผลกระทบสิ่งแวดล้อมรวมถึงกระบวนการพิจารณาโครงการขนาดใหญ่ พัฒนากระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวกับ
               สิทธิชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม หรือการปฏิรูปกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชน

               กับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

               2.4 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

                       การพัฒนาอย่างยั่งยืนมีที่มาจากการประชุมขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมของมนุษย์
               (United Nations Conference on the Human Environment) ณ กรุงสต๊อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อปี

               ค.ศ. 1972 (พ.ศ. 2515) โดยมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุม จ านวน 113 ประเทศ ซึ่งนับเป็นการเริ่มยุค
               สิ่งแวดล้อมนานาชาติ ที่ส่งผลให้ประเด็นสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจในวงกว้างจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
               และน าไปสู่การจัดตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศต่าง ๆ ในเวลาต่อมา (เพ็ญพิสุทธิ์

               หอมสุวรรณ, 2550 อ้างถึงใน รจนา ค าดีเกิด, 2560, น. 4; สมพร แสงชัย, 2550, น. 338 อ้างถึงใน สุทธบถ
               ซื่อมาก, 2554, น. 2)

                       ต่อมา ในปี ค.ศ. 1983 (พ.ศ. 2526) เลขาธิการองค์การสหประชาชาติได้มอบหมายให้ Mrs. Gro
               Harlem Brundtland อดีตนายกรัฐมนตรีของนอร์เวย์ เป็นผู้น าในการจัดตั้งคณะกรรมาธิการที่เป็นอิสระเพื่อ
               พิจารณาปัญหาวิกฤตการณ์ทางสิ่งแวดล้อมที่ก าลังเป็นปัญหามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศก าลัง

               พัฒนา จากนั้น ปี ค.ศ. 1987 (พ.ศ. 2530) คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาได้ตีพิมพ์
               รายงาน Our Common Future (The Bruntland Report) เสนอที่ประชุมองค์การสหประชาชาติเพื่อ
               พิจารณา และในสมัยการประชุมครั้งที่ 42 ได้มีมติเห็นชอบรายงานนี้และสนับสนุนแนวทางการพัฒนาอย่าง
               ยั่งยืน ให้เป็นหลักการในการด าเนินงานขององค์การสหประชาชาติ รัฐบาลทุกประเทศ และภาคเอกชน (สุทธบถ

               ซื่อมาก, 2554, น. 12-13; Happaerts and Bruyninckx, 2014, p. 301)

                       ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (Word Commission on Environment:
               WCED) หรือคณะกรรมการบรันท์แลนด์ (Brundtland Commission, 1987) ได้อธิบายนิยามหรือความหมายของ




                                                            23
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41