Page 37 - kpiebook65022
P. 37
“การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development)” คือ แนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของ
คนรุ่นปัจจุบัน โดยไม่ลิดรอนความสามารถในการตอบสนองความต้องการของคนรุ่นหลัง โดยองค์ประกอบ
ส าคัญอันน าไปสู่การบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น ประกอบด้วย องค์ประกอบส าคัญ 3 ประการ ได้แก่
การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) ความครอบคลุมทางสังคม (Social Inclusion) และ
การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection) (ส านักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
แห่งชาติ, ม.ป.ป., Boas, 2016, p. 454; Weber and Weber, 2020, p. 4)
จากนั้น ปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ได้มีการประชุมสุดยอดของโลก (Earth Summit, Rio Conference)
ณ กรุงริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล หลังจากที่มีการประชุมนี้ ได้มีการรับรองเอกสารการจัดท าแผนปฏิบัติ
การส าหรับศตวรรษที่ 21 (Agenda 21) ให้เป็นแผนแม่บทก าหนดแนวทางการด าเนินการทางด้านการพัฒนา
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้ด าเนินไปด้วยกันอย่างสมดุล ประเทศทั่วโลกที่ให้การรับรองจะร่วมกันใช้
เป็นแนวทางปฏิบัติร่วมกันเพื่อพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในศตวรรษที่ 21 โดยน าไปปรับใช้
ตามล าดับความส าคัญของแต่ละประเทศ (เพ็ญพิสุทธิ์ หอมสุวรรณ, 2550 อ้างถึงใน รจนา ค าดีเกิด, 2560, น. 4;
สุทธบถ ซื่อมาก, 2554, น. 12-13; Happaerts and Bruyninckx, 2014, p. 302) และได้มีการเสนอหลัก
Three E’s ได้แก่ การสร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม (Environment/Ecology) เศรษฐกิจ (Economics)
และสังคม (Equity) อีกทั้ง ยังให้ความส าคัญกับเรื่องของโลก (Planet) คน (People) และก าไร (Profit)
(Robertson, 2014, p. 5 อ้างถึงใน รจนา ค าดีเกิด, 2560, น. 4) โดยต้องสร้างสมดุลให้เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดการ
พัฒนาที่ยั่งยืน โดยในแนวทางของการพัฒนาอย่างยั่งยืนมุ่งเน้นถึงการเปลี่ยนวิธีการคิดเพื่อการตัดสินใจ และ
พิจารณาถึงผลที่จะได้รับจากการตัดสินใจนั้น โดยวิธีการตั้งอยู่บนหลักการส าคัญ 6 ประการ (รจนา ค าดีเกิด,
2560, น. 4-5) ได้แก่
ประการแรก การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะต้องเป็นการวางแผนระยะยาว (Future-Oriented/Long-
Term) เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งคนในรุ่นปัจจุบันและรุ่นอนาคตต่อไป
ประการที่สอง การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะก าหนดขอบเขต (Bounded by Limits) ด้านการพัฒนา
ภายใต้ขีดจ ากัดทางธรรมชาติของแต่ละพื้นที่ จึงให้ความส าคัญกับค านึงถึงผลกระทบเชิงพื้นที่ (Ecological
Footprint)
ประการที่สาม การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะพิจารณาถึงสภาพธรรมชาติและภูมิศาสตร์ โดยครอบคลุม
พื้นที่ภูมิภาคนิเวศ (Eco-region) และสร้างเสริมความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อให้เกิดการพัฒนาในลักษณะ
ที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน
ประการที่สี่ การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะมุ่งเน้นถึงวิธีการ (Means-Oriented) และกระบวนในการ
ด าเนินการเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายตามที่ก าหนด จึงไม่ใช่เป็นการมุ่งเน้นเพียงผลลัพธ์ (Ends) เท่านั้น
ประการที่ห้า การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะใช้แนวความคิดแบบองค์รวม (Holistic/Interconnected)
เพื่อให้เกิดการประสานเชื่อมโยงระหว่างทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และสภาพทางธรรมชาติ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น
(Man-made) ตลอดจนการประสานเชื่อมโยงกับการเมือง เศรษฐกิจ และการบริหารการปกครอง
ประการที่หก การพัฒนาอย่างยั่งยืนจะมุ่งเน้นการมีส่วนร่วม (Participation) จากทุกภาคส่วนหรือ
ภาคีการพัฒนา ตั้งแต่การก าหนดนโยบาย การวางแผน การจัดท าโครงการ ตลอดจนการติดตามประเมินผล
เพื่อให้เกิดการพัฒนาและตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
24