Page 32 - kpiebook65022
P. 32
ทรัพยากรแร่ : ตัวอย่างกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรแร่ มีการก าหนดบทบาทหน้าที่และอ านาจ
หน่วยงานของรัฐในการจัดการทรัพยากรแร่ เช่น พระราชก าหนดควบคุมและด าเนินงานภารธุระการท าเหมือง
แร่ทองค า พ.ศ. 2483 พระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พ.ศ. 2514 หรือ พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 ซึ่งมี
ความน่าสนใจตรงที่กล่าวถึงบทบาทหลายภาคส่วนในการร่วมจัดการทรัพยากรแร่ ในส่วนที่ 3 ที่ระบุหากผู้ขอ
ประทานบัตรเหมืองใต้ดินเห็นว่า ควรมีการปรึกษากับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาจแต่งตั้งคณะกรรมการด าเนินการ
ผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น และกลุ่มผู้มีสิทธิในที่ดินที่จะท าเหมือง
นอกเหนือจากกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรดังกล่าว ในช่วงยุคนี้มีกฎหมายฉบับหนึ่งว่าด้วยการบริหาร
จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศ ได้แก่ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ. 2535 ที่เปิดโอกาสให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการก าหนดว่า
ประชาชนสามารถทราบข้อมูล รับการชดเชย ร้องเรียน ให้ความร่วมมือในการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
องค์กรประชาชนสามารถจดทะเบียนเป็นองค์กรนิติบุคคลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(รายละเอียดตัวอย่างกฎหมายทุกฉบับที่อ้างถึง จาก ส านักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, 2545)
เห็นได้ว่า แนวนโยบายและรัฐธรรมนูญในช่วงต้นยุค แสดงให้เห็นว่า บทบาทรัฐเป็นหลักในการจัดการ
สิ่งแวดล้อม กฎหมายระดับพระราชบัญญัติที่ออกมาส่วนใหญ่ในจึงมีแนวโน้มไปในแนวทางบังคับและควบคุม
มีพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 และพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535
ที่พอจะก าหนดบทบาทภาคส่วนอื่นนอกจากรัฐและเอกชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมด้วย อันจะเปิดช่องทางการ
เคลื่อนไหวของภาคประชาชนได้ตามกฎหมาย อย่างไรก็ดี กฎหมายหลายฉบับท าให้เกิดสภาพกีดกันการมีส่วนร่วม
ของภาคส่วนที่หลากหลายในการจัดการสิ่งแวดล้อม และท าให้ประชาชนผู้ที่อยู่ใกล้ชิดฐานทรัพยากรกลับไม่ได้
ร่วมบริหารจัดการ หรือร่วมรับประโยชน์จากทรัพยากร ทั้งที่ควรจะเป็นทรัพยากรของส่วนรวม
2.3.2 การเมืองสิ่งแวดล้อมในช่วงเปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของประชาชน (พ.ศ. 2540 - 2563)
นโยบายสิ่งแวดล้อมของรัฐบาลชุดที่ 53 - 62
ภาพรวมนโยบายส่วนใหญ่คือรัฐให้การดูแลด้านทรัพยากรให้กับทุกภาคส่วนอย่างทั่วถึง นโยบาย
อนุรักษ์ป่าไม้จะถูกก าหนดไว้ในนโยบายแทบทุกรัฐบาล เช่นเดียวกับเรื่องที่ดินท ากินที่จะเชื่อมโยงกันกับป่าไม้
ท าให้แนวนโยบายส่วนใหญ่จึงพยายามให้เกิดการจัดสรรที่ดินที่เป็นธรรม ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมหรือ
ค านึงถึงความเป็นอยู่ของประชาชน นอกนั้น จะเป็นนโยบายการบริหารจัดการน้ าอย่างเป็นระบบ การควบคุม
คุณภาพสิ่งแวดล้อม
ยกตัวอย่าง รัฐบาลชุดที่ 53 มีแนวนโยบายการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น
การดูแลรักษาป่าไม้และปลูกสร้างป่าชุมชน ปลูกฝังความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมโดยการสนับสนุนระหว่าง
ส่วนราชการ ชุมชนและองค์กรเอกชน หรือรัฐบาลชุดที่ 54 - 55 มีนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมมีมิติเรื่องการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมโดยยึดหลักธรรมาภิบาล การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น
ดั้งเดิม สนับสนุนการน าต้นทุนทางสังคมมาใช้
ตัวอย่างรัฐบาลชุดที่ 60 มีนโยบายที่เชื่อมโยงภาคประชาชนเข้ากับฐานทรัพยากรมากขึ้น เช่น
ด้านทรัพยากรที่ดิน มีการเร่งปลูกป่า การส ารวจการใช้ที่ดิน การส่งเสริมป่าชุมชน โดยปรับปรุงกฎหมายป่าไม้
5 ฉบับ ให้สอดคล้องตามรัฐธรรมนูญ มีการปฏิรูปการจัดการที่ดินโดยกระจายสิทธิในที่ดินอย่างเป็นธรรมและ
19