Page 34 - kpiebook65022
P. 34
ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐ มีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของประชาชนในประเด็น
สิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 76 ว่า รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการก าหนด
นโยบาย การตัดสินใจทางการเมือง การวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการ
ตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐทุกระดับ ซึ่งหมายรวมไปถึงในประเด็นสิ่งแวดล้อมด้วย
มาตรา 79 ก าหนดให้รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บ ารุงรักษา
และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล ให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในการส่งเสริม บ ารุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนควบคุมและก าจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อ
สุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน
ส่วนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 18 พ.ศ. 2550 มีสาระส าคัญคล้ายกับรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ 16 พ.ศ. 2540 (มีสาระคล้ายกันระหว่างมาตรา 46 และมาตรา 56
ในรัฐธรรมนูญ 2540 และมาตรา 66 และมาตรา 67 ในรัฐธรรมนูญ 2550) แต่ไม่มีค าต่อท้าย “ทั้งนี้ตามที่
กฎหมายบัญญัติ” สาระเกี่ยวกับสิทธิและการมีส่วนร่วม ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของประชาชนในประเด็น
สิ่งแวดล้อม ที่เพิ่มเติมได้แก่
มาตรา 67 วรรคสอง ส่วนที่เพิ่มเติมชัดเจน คือ การด าเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะกระท ามิได้
เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้
มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน
สิทธิของชุมชนที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรอื่น
ของรัฐที่เป็นนิติบุคคล เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัตินี้ ย่อมได้รับความคุ้มครอง และตามมาตรา 57 และ
มาตรา 58 บุคคลสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารการด าเนินโครงการของรัฐที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของชุมชน รวมทั้ง สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของรัฐหากการ
ด าเนินการนั้นจะกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตน
นอกจากนี้ ยังก าหนดแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 85 ที่รัฐ
ต้องด าเนินการตามแนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มีความเกี่ยวข้องต่อการ
เคลื่อนไหวของประชาชน เช่น ให้ก าหนดหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้ค านึงถึงความ
สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น โดยต้องให้ประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับ
ผลกระทบจากหลักเกณฑ์การใช้ที่ดินนั้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย
หรือรัฐต้องจัดให้มีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ าและทรัพยากรธรรมชาติอื่นอย่างเป็นระบบและ
เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ทั้งนี้ต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บ ารุงรักษา และใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งการส่งเสริม บ ารุงรักษา และคุ้มครองคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม ประชาชน ชุมชนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องมีส่วนร่วมในการก าหนดแนวทาง
การด าเนินงาน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 พ.ศ. 2560 บทบัญญัติที่เคยรับรองการเคลื่อนไหวของ
ประชาชน อย่างที่ก าหนดในหมวดสิทธิชุมชน ที่สาระส่วนใหญ่รับรองสิทธิของประชาชนในทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมถูกตัดออกไป แต่ก าหนดเป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดให้ประชาชนมีส่วนร่วม มีการระบุไว้เป็น
รายมาตรา และมีการน าค าว่า “ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ” กลับมาใช้ ดูเหมือนว่า สิทธิของประชาชนจะ
21