Page 29 - kpiebook65022
P. 29
ซึ่งพบประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อม 3 ประเด็นส าคัญ (Dauvergne and Clapp, 2016, p. 1) ได้แก่ ประเด็นแรก
มุ่งเน้นในเรื่องของการเคลื่อนไหวการเมืองสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารการปกครองสิ่งแวดล้อมโลก ประเด็นที่สอง
มุ่งเน้นในเรื่องของการเคลื่อนไหวการเมืองสิ่งแวดล้อมด้านการบริหารการปกครองสิ่งแวดล้อมโลกบนพื้นฐาน
ของการตลาด และความมีอิทธิพลของภาคเอกชน และประเด็นที่สาม มุ่งเน้นในเรื่องของการเคลื่อนไหว
การเมืองสิ่งแวดล้อมผ่านการวิเคราะห์จากประเด็นต่าง ๆ อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปัจจัยส าคัญ
ที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาแนวโน้มสามประการดังกล่าว ล้วนเกี่ยวข้องกับ
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองซึ่งส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวการเมืองสิ่งแวดล้อม
ยี่สิบปีนับจากการประชุมสุดยอดของโลก ในปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ก็ได้มีการประชุม “United
Nations Conference on Sustainable Development: UNCSD” ณ กรุงริโอฯ เมื่อ 20 - 22 มิถุนายน ค.ศ.
2012 ด้วยหัวข้อการประชุมหลักสองเรื่อง ได้แก่ เศรษฐกิจสีเขียวในบริบทการพัฒนาที่ยั่งยืนและ
ขจัดความยากจน และกรอบเชิงสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ดี แม้มีความพยายาม
เพื่อไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยประนีประนอมจุดยืนของทุกฝ่าย แต่ข้อเสนอเรียกร้องของประเทศต่าง ๆ ยังคง
เน้นรักษาประโยชน์ประเทศตนและผลักภาระให้ผู้อื่น ยังไม่มีแนวทางใหม่ที่ก้าวพ้นวิถีเก่าของการพัฒนา
รวมทั้ง ยังไม่มีแนวทางแก้ไขปัญหาขัดแย้งเรื่องสิ่งแวดล้อมกับระบอบการค้าโลกที่ชัดเจนอีกด้วย จึงกลายเป็นว่า
การเมืองสิ่งแวดล้อมโลกที่แม้มีความพยายามจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมยังคงมีแนวทางแบบเดิมขณะที่
ปัญหาสิ่งแวดล้อมรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น (บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, 2555, น. 49; 29)
การเมืองสิ่งแวดล้อมโลกพิสูจน์ให้เห็นชัดว่า มีความอ่อนแอในการจัดการให้บรรลุผล ดัง DeSombre
กล่าวว่าการเมืองสิ่งแวดล้อมระดับประเทศรัฐบาลท ากฎระเบียบออกมาที่ยึดโยงกับประชาชน ซึ่งประชาชน
อาจแสดงออกต้องกฎระเบียบเหล่านั้นแบบเห็นด้วยหรือไม่ก็ตาม แต่ในระดับนานาประเทศ ไม่อาจมีการออก
กฎระเบียบที่จะไปบังคับแต่ละประเทศให้ด าเนินตาม กฎที่เชื่อมแต่ละประเทศไว้ด้วยกันย่อมเกิดจากแต่ละ
ประเทศท าขึ้นเองซึ่งขึ้นกับนโยบายต่างประเทศนั้น ๆ หรือการเมืองที่จะจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับนานา
ประเทศ โดยในระบบการเมืองสิ่งแวดล้อมนานาประเทศนั้นมีความซับซ้อนของตัวแสดงและสถาบันอยู่เช่นกัน
เช่น มีนักเจรจาต่อรองที่ค านึงถึงทั้งผลประโยชน์ของประเทศตนและประเทศที่ตนเจรจาด้วย และเมื่อข้อตกลง
ระหว่างประเทศออกมาแล้ว การถูกน าไปด าเนินการ และบังคับใช้ จะมีความยากยิ่งกว่าในบริบท
ภายในประเทศ และมีความอ่อนแอกว่ากฎหมายในประเทศด้วย ซึ่งกว่าร้อยข้อตกลงที่ออกมาเพื่อแก้ปัญหา
สิ่งแวดล้อมแต่ก็ยังปฏิบัติได้ยาก จึงมีองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวในแบบไม่เป็นทางการควบคู่
ไปด้วย (DeSombre, 2020, pp. 122-123) ด้วยเหตุนี้ การเมืองสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศที่น าเสนอส่วนนี้
จึงเป็นเพียงการเสนอเพียงภาพกว้าง พอให้เข้าใจปัญหา อุปสรรค และการเคลื่อนไหวด้านการเมืองสิ่งแวดล้อม
ในระดับนานาประเทศ
16