Page 25 - kpiebook65022
P. 25

(ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2553; วากเนอร์, 2552) นอกจากนี้ ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมยังรับรองได้ว่าเป็น
               รูปแบบประชาธิปไตยที่เคารพต่อสิทธิของประชาชน ซึ่งในที่นี้คือสิทธิในสิ่งแวดล้อม (Right to Environment)

               หรือ สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดี (Right to Good Environment) ที่ถือเป็นสิทธิมนุษยชน เพราะเป็นสิทธิที่
               ประชาชนจะต้องได้รับความคุ้มครองจากรัฐเพื่อให้มีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และหากมีความเสียหายทาง
               สิ่งแวดล้อมจากการที่รัฐละเลยเกิดขึ้น ก็ต้องมีการเยียวยาให้แก่ประชาชน การคุ้มครองสิทธิของประชาชนใน
               สิ่งแวดล้อมเช่นนี้ ยังถูกเชื่อมโยงว่าการด าเนินงานที่ท าให้เกิดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการ

               ละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเด็นต่าง ๆ เช่น สิทธิในการมีชีวิต สิทธิในสุขภาพ ฯลฯ เพราะสิ่งแวดล้อมที่ดีเป็น
               องค์ประกอบส าคัญของชีวิตมนุษย์ (คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ, 2560, น.4; 47).

                       ในเชิงโครงสร้างการปกครองก็มีผลต่อการตัดสินใจ หากเป็นแบบรัฐรวม (Federal state) หรือ
               ประเทศที่มีหน่วยย่อยการปกครองหลายชั้น เป็นรัฐเป็นจังหวัดมักมีอ านาจหน้าที่ในการตัดสินใจภายใน
               ขอบเขตอ านาจของตน และไม่อาจถูกแทรกแซงได้จากรัฐบาลกลางซึ่งเป็นข้อดีอย่างหนึ่ง แต่ก็เป็นข้อเสียใน

               กรณีความแตกต่างของแรงจูงใจทางเศรษฐกิจหรือกฎเกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันในแต่ละรัฐ ท าให้
               สิ่งแวดล้อมของที่หนึ่งอาจดีหรือแย่กว่าอีกที่หนึ่งอันเกิดจากการกฎระเบียบนั้น

                       ในส่วนความแตกต่างของระบบรัฐสภาและประธานาธิบดีก็เป็นประเด็นที่ควรพิจารณาในการเมือง
               สิ่งแวดล้อม ต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างมีลักษณะสับสน ระบบที่มีความเป็นตัวแทนมากกว่าย่อมเปิด
               โอกาสให้มีตัวแทนผลประโยชน์เข้าไปร่วมในการตัดสินใจได้มากกว่า ระบบประธานาธิบดีจึงน่าจะให้ตัวแทน

               ผลประโยชน์ได้มีช่องทางเข้าถึงการตัดสินใจได้มากกว่า แต่นโยบายก็อาจจะผ่านได้ยากกว่าหรือถูกขัดขวางได้
               ง่ายกว่า ส่วนแบบรัฐสภาจะเปิดโอกาสให้พรรคการเมืองขนาดเล็กได้มีตัวแทนและมีโอกาสเข้าร่วมรัฐบาล เป็น
               ตัวอย่างหนึ่งของพรรคกรีนที่ได้เข้าร่วมในระบบการเมืองของยุโรป และประเภทสมาชิกรัฐสภาแบบแบ่งเขต

               หรือแบบสัดส่วนยังมีผลต่อโอกาสเข้าถึงการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายของพรรคด้วย (DeSombre,
               2020, pp.58-60)

                       อย่างไรก็ดี ไม่ว่าขอบเขตการศึกษาสิ่งแวดล้อมจะแบ่งได้เป็นเชิงประเด็น ระดับตัวแสดง หรือ
               โครงสร้าง ก็เป็นการแยกส่วนเพื่อให้การศึกษาและการสื่อสารเกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อมที่มีความซับซ้อนให้
               เข้าใจได้ง่ายมากขึ้น หากถ้าย้อนกลับไปพิจารณาความหมายและลักษณะของประเด็นสิ่งแวดล้อมก็จะเห็นได้ว่า

               การเคลื่อนไหวจริงเพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบแยกส่วนนั้นไม่อาจท าได้ง่ายนัก

               2.2 การเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อมในต่างประเทศ

                       การเคลื่อนไหวของสิ่งแวดล้อมทั่วโลกอาจกล่าวได้ว่ามีความยึดโยงกับการพัฒนาทางการเกษตรและ
               อุตสาหกรรม ดังที่ Hays ได้แบ่งยุคของการเมืองสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ช่วงก่อนอุตสาหกรรม ยุคอุตสาหกรรม และ

               ยุคเปลี่ยนผ่านหลัง ค.ศ. 1950  ในช่วงยุคก่อนอุตสาหกรรม (ก่อน ค.ศ.1850) เป็นช่วงที่มีวิถีชีวิตของ
               ชนพื้นเมือง การใช้ทรัพยากรเพื่อเป็นอาหารและที่อยู่อาศัย เช่น ล่าสัตว์ ต่อมาจึงมีการปลูกพืชในแบบ
               เกษตรกรรม ซึ่งมีการแรงงานและต้นทุนต่าง ๆ มากขึ้น เช่น เชื้อเพลิง ยาฆ่าแมลง ปุ๋ย และมีการชลประทานด้วย
               ในช่วงยุคนี้ในอเมริกา มีชาวยุโรปเข้ามาตั้งถิ่นฐานแล้วขยายการพัฒนาการเกษตรมากขึ้น เกิดชนชั้นแรงงาน

               มากขึ้น และท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมกว้างขวางกว่าเดิม เช่น การท าลายป่าเพื่อให้มีพื้นที่
               การเกษตรมากขึ้น ซึ่งการหาที่ดินเพื่อประโยชน์ดังกล่าวกระทบต่อสัตว์ป่าลดลง ในช่วงปลายยุคนี้
               อุตสาหกรรมขนาดเล็กประเภทสกัดทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เริ่มเกิดขึ้น และเริ่มมีกรณีการร้องเรียนด้าน
               สิ่งแวดล้อมที่ผู้ได้รับผลกระทบฟ้องต่อศาลว่าได้รับผลกระทบจากโรงงานหรือผู้ประกอบการโรงแป้งและไม้แปร



                                                            12
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30