Page 23 - kpiebook65022
P. 23
เอกสารเพื่อจะวิเคราะห์ขอบเขตเกี่ยวกับประเด็นด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมที่นักวิชาการทั่วโลกสนใจในช่วงปี
ค.ศ. 2012 - 2015 (Fahey and Pralle, 2016, p. 31)
ส าหรับขอบเขตเชิงประเด็นนี้ มีตัวอย่างงานวิจัยที่น่าสนใจในประเด็นระบบนิเวศและความยุติธรรม
ทางสิ่งแวดล้อม ที่ไม่ใช่ความยุติธรรมในการจัดสรรผลประโยชน์ระหว่างมนุษย์ แต่เป็นความยุติธรรมระหว่าง
สายพันธุ์มนุษย์กับสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตอื่นในสิ่งแวดล้อม แล้วมนุษย์จะตัดสินใจและด าเนินการอย่างไร
โดย Celermajor et al. เสนอว่า ขอบเขตการเมืองสิ่งแวดล้อม ควรค านึงถึงแนวคิดความยุติธรรมทางความ
หลากหลายสายพันธุ์ (Multispecies justice) โดยฉายภาพความส าคัญของสิ่งมีชีวิตอื่นบนโลกที่ไม่ใช่มนุษย์ว่า
สาธารณภัยที่มนุษย์ก าลังเผชิญ หากพิจารณาในเชิงลึกจะเห็นได้ว่าเป็นผลกระทบมาจากความไม่ยุติธรรมทาง
สิ่งแวดล้อมระหว่างสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า มนุษย์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งถือเป็นความท้าทายของแนวคิดว่าด้วย
การเมืองกับสิ่งแวดล้อม ที่ยังเน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมและก าลังถูกท้าทายด้วย
มุมมองความหลากหลายทางสายพันธุ์ (Multispecies lens) และเสนอว่า กิจกรรมที่มนุษย์กระท าต่ออาณาบริเวณ
ที่ไม่ใช่มนุษย์ (หรืออาจหมายถึงสิ่งแวดล้อม) แล้วได้ผลกระทบต่อการตัดสินใจทางนโยบาย ควรจะได้รับการ
พูดถึงในกระบวนการตัดสินใจ แต่ส่วนใหญ่แล้วการตัดสินใจมักไม่มีความเป็นประชาธิปไตย เพราะไม่ได้
ค านึงถึงผลกระทบในวงกว้าง ยกตัวอย่าง การใส่มุมมองให้การตัดสินใจของมนุษย์ค านึงถึงความหลากหลาย
ทางสายพันธุ์ในทางนโยบาย อาจพบเจอความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับนักเรียกร้องสิทธิของธรรมชาติ (Animal
rights activists) เช่น นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมกับชุมชนที่ต้องล่าสัตว์เพื่อการยังชีพ (Celermajor et al., 2020,
p. 1; 8; p. 14) ในกรณีนี้ จึงจ าเป็นต้องแสวงหาแนวด าเนินการในทางปฏิบัติต่อไป
ขอบเขตเชิงระดับการเมืองสิ่งแวดล้อม การเมืองสิ่งแวดล้อมอาจศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดง
ในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ หรือระดับนานาประเทศ หรือจะเชื่อมโยงการเมืองสิ่งแวดล้อมในแต่ละระดับ
ต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมใดหรือหลายประเด็นก็ได้ ยกตัวอย่างการศึกษาเกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อมระหว่าง
ประเทศที่ Fahey and Pralle พบว่า นักวิชาการน าหลายทฤษฎีมาใช้ในการวิเคราะห์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ
การเมืองและนโยบายสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการเมืองและนโยบายของปรากฏการณ์โลกร้อนที่เป็น
ปัญหาที่มีขอบเขตหลายระดับ ตั้งแต่ระดับโลก ระหว่างประเทศ ไปจนระดับประเทศเอง ที่รัฐบาลในแต่ละ
ระดับจ าเป็นต้องแสวงหาความร่วมมือจากหลากหลายตัวแสดงเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ เช่น ข้อตกลง
ระหว่างประเทศที่ปารีส ในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งหลายประเทศจะต้องน าไปปฏิบัติในประเทศของตัวเอง แต่รัฐบาล
แต่ละระดับยังขาดแนวปฏิบัติที่ส าคัญพอต่อเป้าหมายเรื่องโลกร้อน ตามมาด้วยเรื่องของนโยบายและการเมือง
ซึ่งมีความท้าทายทางนโยบายและการพัฒนาในประเด็น การบริหารปกครอง (Governance) และการมีส่วนร่วม
เพื่อทดสอบความหลากหลายของตัวแสดงต่อการก าหนดรูปร่างของนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือในประเด็นความ
คิดเห็นสาธารณะและการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับการจัดท าวาระนโยบายไปจนถึงการน านโยบายไปปฏิบัติ ว่าตัว
แสดงต่าง ๆ มีอิทธิพลอย่างไรต่อนโยบายสิ่งแวดล้อม ในประเด็นเหล่านี้มีจุดสนใจส าคัญ คือ ท าอย่างไรจึงจะ
กระตุ้นตัวแสดงต่าง ๆ ให้มีส่วนร่วมในการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง รัฐบาลท้องถิ่นจะแก้ไขปัญหา
สิ่งแวดล้อมที่เป็นประเด็นระดับโลกได้อย่างไร ตัวแสดงที่เป็นภาคธุรกิจก าหนดรูปร่างนโยบายได้อย่างไรและ
ท าให้ดีขึ้นหรือแย่ลง (Fahey and Pralle, 2016)
ขอบเขตเชิงตัวแสดง การเมืองสิ่งแวดล้อมอาจสนใจศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มที่มีอิทธิพลในสังคมว่า
มีปฏิสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อกันหรือไม่อย่างไร ดังที่ Hays กล่าวว่า การเมืองสิ่งแวดล้อมเกี่ยวข้องกับ
สามแรงผลักดันที่เชื่อมโยงกันอยู่ ได้แก่ ปัจเจกบุคคลและกลุ่มที่ถูกกระตุ้นให้ปกป้องและพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ฝ่ายตรงข้ามกับสิ่งแวดล้อม และสถาบันพัฒนาและด าเนินนโยบาย (Hays, 2000, p. 2) สอดคล้องกันกับ
10