Page 18 - kpiebook65022
P. 18
ประเด็นความยั่งยืน หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อการตัดสินใจ
หรือด าเนินนโยบายเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้สังคมนั้นมีความน่าอยู่คงทนอยู่ได้ในระยะยาวด้วย
ความพยายามสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของภาคส่วน
ต่าง ๆ ต่อนโยบายหรือการบริหารจัดการเพื่อป้องกันและรับมือกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น
การเคลื่อนไหวต่อประเด็นโลกร้อน
ประเด็นระบบนิเวศ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อปกป้อง
คุ้มครองระบบความสัมพันธ์ของกลุ่มสิ่งมีชีวิต ทั้งในระบบขนาดใหญ่และขนาดเล็ก เช่น มหาสมุทร สระน้ า ป่า
ชายเลน ทุ่งหญ้า ทะเลทราย เป็นต้น
ประเด็นเกษตรกรรม หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อการเกษตรทั้ง
ทางบกและทางน้ าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น เกษตรอินทร์ เกษตรผสมผสาน การเคลื่อนไหวเพื่อลดการใช้
สารเคมีในการเกษตร เป็นต้น
ประเด็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อ
นโยบายและการบริหารจัดการภัยสาธารณะที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว โคลนถล่ม อุทกภัย ภัยแล้ง
เป็นต้น
ประเด็นความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ
ต่อประเด็นทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภาพรวม เพื่อให้ได้มาซึ่งการได้รับประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเท่าเทียม รวมถึงการเคลื่อนไหวเพื่อความเป็นธรรมเมื่อได้รับ
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม เช่น การศึกษาระบบประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ศึกษาการเรียกร้องของกลุ่ม
ทางสังคมในการจัดสรรทรัพยากรฯ ในภาพรวมทั้งดิน น้ า ป่าไม้ เป็นต้น
1.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ผู้วิจัยคาดหวังว่า งานวิจัยชิ้นนี้จะท าให้เกิดองค์ความรู้และฐานข้อมูลวิชาการเกี่ยวกับการเมือง
สิ่งแวดล้อมในสังคมไทย ที่จะท าให้เห็นโอกาสในการด าเนินการของหน่วยงานรัฐ ประชาสังคม หรือภาควิชาการ
ได้หยิบยกน าไปเคลื่อนไหวให้เกิดการปฏิบัติจริงเพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
5