Page 16 - kpiebook65022
P. 16
เพื่อให้เกิดการตรวจสอบ ประกอบด้วยราชการทั้งส่วนกลาง ภูมิภาค และท้องถิ่น 4) ฝ่ายตุลาการหรือศาล
ซึ่งอาจไม่ได้ท าหน้าที่ในการตัดสินใจทางนโยบายโดยตรง แต่การท าหน้าที่พิพากษาก็อาจน าไปสู่การสร้าง
บรรทัดฐานต่อไป 5) กลุ่มธุรกิจ ที่อาจมีบทบาททั้งในเชิงการแสวงหาผลประโยชน์หรือสนับสนุนต่อการพัฒนา
ที่ยั่งยืนก็ได้ 6) สื่อมวลชน ที่มีบทบาทในการสื่อสารสังคมให้รับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของสังคม
ในวงกว้างให้ไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงมีส่วนในการสะท้อนตรวจสอบการท างานของหน่วยงานรัฐ ทั้งฝ่าย
บริหารและตุลาการ พรรคการเมือง และผู้ก าหนดนโยบาย 7) ภาคประชาสังคม อันเป็นกลุ่มหรือสมาคม
ทั้งทางการและไม่เป็นทางการ ประกอบด้วยประชาชนทั่วไป องค์กรพัฒนาเอกชน ตลอดจนภาควิชาการที่เข้าไป
ท างานร่วมกับประชาชน อาจเข้าไปมีบทบาททั้งมีส่วนร่วมโดยตรงหรือโดยอ้อมในการเมืองสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็น
ที่น่าสนใจว่าภาคส่วนเหล่านี้ได้เข้าไปมีบทบาทในการตัดสินใจ ด าเนินการทางนโยบาย และประเมินผลกระทบ
ทางนโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างไร ทั้งจากข้อค้นพบงานวิจัยในอดีตและการเคลื่อนไหวจริง หากจะไปสู่เป้าหมาย
การพัฒนาที่ยั่งยืน ยังมีองค์ความรู้ด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมหรือแนวทางอะไรบ้างที่จะไปสู่จุดหมายนั้น
สรุปกรอบแนวคิดของงานวิจัยนี้ดังภาพ 1.1
งานวิจัยการเมือง
สิ่งแวดล้อม
ประเด็นสิ่งแวดล้อม
การเคลื่อนไหวและอ านาจ แนวทางไปสู่การพัฒนาที่
ของตัวแสดง ได้แก่ พรรค การตัดสินใจทางนโยบาย ยั่งยืนร่วมกัน
การเมือง นักการเมือง การด าเนินการตามนโยบาย
ข้าราชการ ฝ่ายตุลาการ
กลุ่มธุรกิจ สื่อมวลชน และ
ประชาสังคม
ภาพ 1.1 กรอบแนวคิดการวิจัย
3