Page 19 - kpiebook65022
P. 19
บทที่ 2
วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
บทนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมืองสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการ
พัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย 1) ความหมายและขอบเขตเกี่ยวกับการเมืองสิ่งแวดล้อม 2) การเมืองสิ่งแวดล้อม
ในต่างประเทศ 3) การเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และ 4) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
2.1 ความหมายและขอบเขตของการเมืองสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยพื้นฐานส าคัญที่มนุษย์น ามาใช้ในการด ารงชีวิต และไม่น้อยที่ใช้
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อความสะดวกสบาย การใช้ทรัพยากรอย่างเกินพอดีได้ส่งผลให้เกิด
ปัญหาความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมและปัญหามลพิษตามมา จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อมนุษย์บ่อยครั้ง
เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจ านวนมหาศาล (โสภารัตน์ จารุสมบัติ, 2546 อ้างถึงใน ไพรัช ทับทิม, 2563,
น. 460)
หากพิจารณาความหมายของสิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปมีความหมายอย่างกว้างคือหมายถึงสรรพสิ่งที่มีอยู่
แบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบใหญ่ ได้แก่ สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ (Natural Environment) กับสิ่งแวดล้อมที่
มนุษย์สร้างขึ้นหรือก าหนดขึ้น (Cultural Environment) ซึ่งสิ่งแวดล้อมธรรมชาติคือสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดย
ธรรมชาติ และเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ แบ่งได้เป็นสองแบบ ทั้งที่เป็นสิ่งแวดล้อมเชิงกายภาพ คือ ลักษณะ
ภูมิประเทศ ทิวทัศน์ ลักษณะภูมิอากาศ และทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ดิน น้ า อากาศ แสง แร่ธาตุ ฯลฯ และ
สิ่งแวดล้อมเชิงชีวภาพหรือชีวภูมิศาสตร์ คือ สรรพสิ่งที่มีชีวิต ได้แก่ มนุษย์ สัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ฯลฯ
ส่วนสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น เป็นสิ่งแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม เช่น สิ่งก่อสร้าง
โบราณสถาน ศิลปกรรม ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม รวมทั้ง สิ่งแวดล้อมทางการเมืองและความเจริญก้าวหน้า
ทางวิทยาการ เป็นต้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันตามสภาพภูมิศาสตร์และสภาพ
ภูมิอากาศ ท าให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่มีความแตกต่างกัน และส่งผลให้มีวิถีการด ารงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละ
สังคมที่แตกต่างกันออกไป (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์, 2542 อ้างถึงใน ณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์, 2558, น. 88-89;
DeSombre, 2020, pp. 2-4)
อย่างไรก็ตาม สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแล้วมนุษย์ได้เข้าไปใช้ประโยชน์หรือจัดการนั้น
มีลักษณะเฉพาะที่ท าให้ท้าทายต่อการจัดการร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ มีความรับผลกระทบจาก
ภายนอก เป็นปัญหาพฤติกรรมส่วนรวม มีความเป็นทรัพยากรส่วนรวม ความไม่แน่นอนของช่วงเวลาและ
สถานที่ของปัญหาสิ่งแวดล้อม ความไม่เป็นเส้นตรงของเหตุและผล และมีความรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมบางประเภท
ขาดแคลนแต่ก็ยังไม่หมดไป
DeSombre กล่าวว่า สิ่งแวดล้อมมีลักษณะประการแรกในเรื่องของผลกระทบจากภายนอก
(Externalities) คือ ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมอาจไม่ได้กระทบต่อคนที่ก่อปัญหา คนที่ไม่ได้ก่อปัญหา
อาจได้รับผลกระทบนั้นไปด้วย ประการที่สองของลักษณะสิ่งแวดล้อม คือสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาจากพฤติกรรม
ส่วนรวม (Collective action problem) ปัญหาสิ่งแวดล้อมมีลักษณะเกิดจากหลายการกระท าของคนหลายคน
6