Page 14 - kpiebook65022
P. 14
บทที่ 1
บทน า
1.1 หลักการและเหตุผล
การเมืองเป็นกระบวนการภายในสังคมเพื่อท านโยบาย (DeSombre, 2020, p.24) ส่วนสิ่งแวดล้อมนั้น
เป็นสรรพสิ่งที่มีอยู่อันเกิดจากธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่เป็นทางธรรมชาติในแต่ละพื้นที่มี
ความหลากหลาย มีลักษณะเฉพาะท าให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่มีความแตกต่างกัน ตามสภาพภูมิศาสตร์และ
สภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้มีวิถีการด ารงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละสังคมแตกต่างกันออกไป และการเข้าไปใช้
ประโยชน์หรือจัดการนั้นของมนุษย์มีความท้าทายในการจัดการร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ (สุนีย์ มัลลิกะ
มาลย์, 2542; DeSombre, 2020, pp.2-4) จึงได้เกิดกระบวนการทางสังคมขึ้นมาว่าทรัพยากรที่มีอยู่นั้นจะ
จัดการอย่างไร
การเมืองสิ่งแวดล้อม (Environmental Politics) เป็นการตัดสินใจของรัฐที่อาจเกิดจากปฏิสัมพันธ์
ของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม และผลการตัดสินใจนั้นเมื่อมีการด าเนินการจะกระทบต่อสังคมโดยรวม โดย
ในเชิงการตัดสินใจนั้น การเมืองสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเกี่ยวกับว่าภาคส่วนต่าง ๆ จะตัดสินใจอย่างไร
เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร จึงเกี่ยวพันไปถึงการก าหนดและน านโยบายสิ่งแวดล้อมไปปฏิบัติ (DeSombre,
2020, p.1; Simpson, 2020) แต่ในความเป็นจริงยังคงเกิดช่องว่างระหว่างความต้องการของประชาชน
เพราะการออกนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐมักถูกบิดเบือนไปจากความต้องการของประชาชน (Prakash
and Bernauer, 2020)
ในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ แล้ว การเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นพื้นที่การมีส่วนร่วมส าหรับ
ทุกภาคส่วนเพื่อตัดสินใจในทรัพยากร และการจัดการหลังการตัดสินใจยังต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ
ประชาชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะการจัดการประเด็นปัญหาต่าง ๆ
ทางด้านสิ่งแวดล้อม มีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับพื้นที่ (DeSombre, 2020, p.2; Simpson, 2020;
Hale, 2020) ขณะที่ในเชิงการด าเนินการและผลกระทบ การเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นการจัดการเรื่องเกี่ยวกับ
ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐ การจัดการปัญหาด้าน
สิ่งแวดล้อมจึงล้วนส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง (Vanhala, 2017; Hale, 2020) ดังนั้น การเมืองสิ่งแวดล้อม
จึงมีขอบเขตที่กว้างเพราะเกี่ยวข้องกับประเด็นการเมืองที่โยงด้วยเรื่องของสิ่งแวดล้อม (Dodson, 2016) สาระ
ส่วนใหญ่จึงมีหลากหลาย เช่น เรื่องของพรรคการเมืองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม การเคลื่อนไหวทางสังคมด้าน
สิ่งแวดล้อม การก าหนดนโยบายและการด าเนินงานที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ซึ่งเห็นได้ว่า ล้วนเกี่ยวข้อง
กับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์ที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (Carter, 2007)
ในเชิงสังคมโลก การศึกษาเรื่องการเมืองสิ่งแวดล้อมในระดับโลก (Global environmental politics)
ในรอบยี่สิบปีที่ผ่านมามักเกี่ยวเนื่องด้วยเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งอาจน าไปสู่การพัฒนาที่
ยั่งยืน การใช้มาตรการระหว่างประเทศเพื่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ความส าคัญของภาค
ส่วนต่าง ๆ ต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี และเรื่องโลกร้อน (Alger & Dauvergne, 2018) เช่น การศึกษา
เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางนโยบายสิ่งแวดล้อมบนพื้นฐานของการตลาดของ Rea (2019) หรือการศึกษาการ
ใช้เหตุผลด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจ (Techno-economic Rationalities) ต่อการควบคุมนโยบายสิ่งแวดล้อม
1