Page 17 - kpiebook65022
P. 17
1.2 วัตถุประสงค์การวิจัย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1) วิเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้ด้านการเมืองสิ่งแวดล้อม
2) วิเคราะห์การเคลื่อนไหวด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
1.3 ขอบเขตและวิธีการวิจัย
งานวิจัยนี้มุ่งวิเคราะห์การเมืองสิ่งแวดล้อมในเชิงวิชาการ จากเอกสารวิจัยทั้งในและต่างประเทศ
ปีพิมพ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2563) กับการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย การเมือง
ครอบคลุมถึงโครงสร้างการเมือง นโยบาย กฎหมาย และการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อไปสู่การตัดสินใจทาง
สิ่งแวดล้อม ส่วนประเด็นสิ่งแวดล้อมครอบคลุมตามที่ Fahey & Pralle (2016) ได้ท าการสรุปไว้เป็น
9 ประเด็น ได้แก่ มลพิษ พลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติ ความยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ระบบนิเวศ เกษตรกรรม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ และความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม
ส าหรับกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็นสองส่วนหลัก ส่วนแรกเป็นตัวแทนจากภาครัฐ
ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ แบ่งเป็นกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ 10-15 คน และกลุ่มผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่ม
40-60 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ส่วนที่สองเป็นเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ
การเมืองสิ่งแวดล้อมทั้งในและต่างประเทศ จากฐานข้อมูลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ Google
scholar (งานวิจัยไทยและต่างประเทศ) EBSCO (งานวิจัยต่างประเทศ) ThaiLIS และ ThaiJo (งานวิจัยไทย)
ซึ่งเป็นเอกสารทางวิชาการ เช่น วิทยานิพนธ์ บทความในวารสาร หนังสือ หรือเอกสารนโยบาย ที่ปรากฏตาม
ฐานข้อมูลดังกล่าวมีปีพิมพ์จนกระทั่งปี พ.ศ. 2564 และมีเนื้อหาเข้าข่ายการเมืองสิ่งแวดล้อมซึ่งมีระเบียบวิธี
วิจัยปรากฎชัดเจน ส าหรับการเก็บข้อมูลจากส่วนแรกใช้วิธีการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม แล้ววิเคราะห์ด้วย
การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเป็นหลัก (Thematic content analysis) แล้วน าเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนา
สรุปตาราง และแผนภาพ
ส าหรับขอบเขตประเด็นสิ่งแวดล้อมในการวิจัย ดังนี้
ประเด็นมลพิษ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อสภาวะแวดล้อมที่
เปลี่ยนแปลงไป หรือต่อภาวะความเป็นพิษของสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศเสีย น้ าเสีย ขยะ ของเสีย วัตถุอันตราย
และกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากของเสียที่ถูกปล่อยทิ้ง รวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น หรือเหตุ
ร าคาญอื่น ๆ จากแหล่งก าเนิดมลพิษ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือเป็นอันตรายต่อ
สุขภาพของมนุษย์ได้
ประเด็นพลังงาน หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อการได้มาหรือเพื่อ
คัดค้านการได้มาซึ่งพลังงานไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าจากขยะ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เป็นต้น
ประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของภาคส่วนต่าง ๆ ต่อการ
ตัดสินใจหรือบริหารจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติ เช่น ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า การบริหารและจัดสรรที่ดิน
การจัดการทรัพยากรน้ าในรูปแบบของการสร้างเขื่อนเหมืองฝาย การสกัดทรัพยากรแร่และผลกระทบ การ
บริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ฯลฯ
4