Page 15 - kpiebook65022
P. 15
เมืองในประเทศจีนของ Wesman and Broto (2018) ส่วนในประเทศไทย มีการศึกษาวิเคราะห์ในประเด็น
ดังกล่าวเช่นกัน อาทิเช่น การเมืองของการมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น:
ศึกษากรณีโครงการคลองสวยน้ าใส (สุทธบถ ซื่อมาก, 2554) หรือเศรษฐศาสตร์การเมืองเรื่องคาร์บอนเครดิต
(กิตติวัฒน์ เมณฑกา, 2552) เป็นต้น
ตัวอย่างงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมในความหมายและขอบเขตนั้นยึดโยงกับเป้าหมายการ
พัฒนาที่ยั่งยืน ดัง Simpson ให้ความหมายของการเมืองสิ่งแวดล้อมที่ยึดโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ว่าการเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองและสิ่งแวดล้อม โดยรัฐมีการเปิดรับฟังความคิดเห็น
แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม และ
สามารถน าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในที่สุด (Simpson, 2020) ขณะที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแม้หลักการ
เป็นไปเพื่อสมดุลสามเป้าหมายหลัก แต่ยังมีการถกเถียงในเชิงวิชาการ ว่าเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้น
แท้จริงแล้วเป็นไปเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจหรือคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เพราะนักวิชาการบางท่านเห็นว่า
ประเด็นสิ่งแวดล้อมดูจะด้อยความส าคัญมากที่สุด (Weber and Weber, 2020, p.3; Elder and Olsen,
2019, pp.70-71) มิติสิ่งแวดล้อมดูมีความส าคัญมากที่สุดแต่ในความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลในหลายประเทศ
มักให้ความส าคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่า จึงท าให้การปกป้องสิ่งแวดล้อมไม่ได้เกิดขึ้น
อย่างจริงจัง (Elder and Olsen, 2019, pp.70-71)
ด้วยเหตุที่ว่าการเมืองสิ่งแวดล้อมมีความยึดโยงกับความยั่งยืน จึงเป็นที่น่าสนใจว่ามีการศึกษา
การเมืองสิ่งแวดล้อมในประเด็นใดบ้าง มีนักวิชาการบางท่านได้ศึกษาเพื่อจะวิเคราะห์แนวโน้มของประเด็น
การเมืองสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง Fahey and Pralle (2016) ได้ศึกษาแนวโน้มพัฒนาการด้านการเมือง
สิ่งแวดล้อมโดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสารจากวารสารและหนังสือที่ตีพิมพ์ระหว่างปี ค.ศ. 2012
- 2015 แล้ววิเคราะห์แนวโน้มทิศทางงานวิชาการทางการเมืองสิ่งแวดล้อมและนโยบาย หรือ Dauvergne
and Clapp (2016) ศึกษาเกี่ยวกับการวิจัยด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมโลกในศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่ ค.ศ. 2000
เป็นต้นมา หรือ Lappé, Hein, and Landecker (2019) ศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการในประเด็นการเมืองและ
สิ่งแวดล้อม โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมานี้เน้นการศึกษาจาก
เอกสารแล้วน ามาวิเคราะห์ในหลากหลายประเด็น เช่น แนวคิดที่ใช้ศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อม พื้นที่ที่มี
การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อม ขอบเขตและประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ท าให้พบว่าการศึกษา
การเมืองสิ่งแวดล้อมนั้นมีความหลากหลายกว้างขวาง ดังที่ Dodson (2016) และ Carter (2007) ได้กล่าวถึง
ขอบเขตเรื่องราวของการเมืองสิ่งแวดล้อมไปแล้ว
อาจกล่าวได้ว่าการเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงอ านาจระหว่างตัวแสดงต่าง ๆ
ในการเข้าไปบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยประเด็นสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่
มวลมนุษยชาติต่างได้รับผลกระทบ ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือการสมดุลระหว่างสามเสาหลักด้านเศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อม เป็นทางออกที่หลายฝ่ายให้การยอมรับ หากแต่การตัดสินใจทางนโยบาย และการ
ด าเนินงานตามนโยบายนั้น แน่นอนว่าในบริบทของการบริหารปกครองแบบประชาธิปไตยไม่อาจปฏิเสธการมี
ส่วนร่วมจากตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง (Desombre, 2020, pp.96-120) ตั้งแต่ 1) พรรคการเมืองที่ท าหน้าที่ในการ
กลั่นกรองเจตจ านงของประชาชนแล้วน ามาก าหนดเป็นนโยบายของพรรค ตลอดจนน าไปเคลื่อนไหวทั้งก่อน
ระหว่าง และหลังการเลือกตั้ง 2) นักการเมือง ในฐานะผู้ก าหนดนโยบายหลังได้รับเลือกตั้งแล้วเข้าไปท าหน้าที่
ออกกฎหมายและตรวจสอบในรัฐสภา หรือเป็นผู้บริหาร (ฝ่ายการเมือง) ของหน่วยงานรัฐ 3) ข้าราชการ
ฝ่ายบริหาร ในฐานะน านโยบายไปสู่การปฏิบัติจริงและต้องประเมินผลกระทบจากการน านโยบายไปปฏิบัติ
2