Page 22 - kpiebook65022
P. 22

การจัดการประเด็นปัญหาต่าง ๆ ทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความเชื่อมโยงหรือเกี่ยวข้องกับพื้นที่หรือท้องถิ่นนั้น ๆ
               (Hale, 2020, p. 204)

                       เช่นเดียวกับ Prakash and Bernauer (2020, p. 1128) เห็นว่า การเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่อง

               เกี่ยวกับการส ารวจความคิดเห็นของประชาชนในการร่วมกันจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกับรัฐ ทั้งนี้ หาก
               ภาคประชาชนหรือพลเมืองมีความเข้มแข็ง รวมตัวกันเป็นปึกแผ่น ย่อมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและ
               จัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นได้

                       ในเชิงการด าเนินการและผลกระทบ มีนักวิชาการหลายท่านให้ความเห็นไว้มากในส่วนนี้ เช่น
               Vanhala กล่าวว่า การเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นการจัดการเรื่องเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ

               ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งมีความยุ่งยากซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับนโยบายต่าง ๆ ของรัฐ โดยการจัดการในแต่ละ
               ประเด็นปัญหาจ าเป็นต้องอาศัยการจัดการของรัฐ ซึ่งการจัดการปัญหาแต่ละประเด็นล้วนส่งผลกระทบต่อผู้ที่
               เกี่ยวข้องในประเด็นนั้น ๆ ทั้งสิ้น (Vanhala, 2017, p. 95) อีกทั้ง Hale กล่าวว่า การเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นการ
               จัดการสิ่งแวดล้อมประสบปัญหา และได้รับผลกระทบจากปัญหาทางด้านมลพิษ ความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตใน

               ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ และประชาชนที่อาศัยในพื้นที่นั้น ๆ ตลอดจนความท้าทายเชิงระบบทางด้าน
               การเมือง (Hale, 2020, p. 204)

                       Simpson กล่าวถึงการเมืองสิ่งแวดล้อมว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองและสิ่งแวดล้อม โดยรัฐมีการ
               เปิดรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหา

               ด้านสิ่งแวดล้อม และสามารถน าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในที่สุด (Simpson, 2020, p. 80) ส่วน Dimitrov
               ให้ความหมายคล้ายกัน แต่ขยายขอบเขตการจัดการหมายรวมไปถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับโลก โดย
               กล่าวว่า การเมืองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของการจัดการทางด้านนโยบายของรัฐที่สามารถหาแนวทางการแก้ไข
               ปัญหาด้านการเมืองสิ่งแวดล้อม ประกอบกับ การสร้างความร่วมมือ เจรจาต่อรองด้านสิ่งแวดล้อมกับประเทศ
               ต่าง ๆ โดยมีข้อตกลงความร่วมมือทางด้านนโยบายระหว่างประเทศร่วมกัน เพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก

               (Dimitrov, 2020, p. 627)

                       โดยสรุป การเมืองสิ่งแวดล้อมในความหมายของการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ในการร่วมแบ่งปัน
               อ านาจตัดสินใจ และร่วมรับประโยชน์และผลกระทบจากการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม
               ทั้งในรูปแบบทางการ เช่น การเข้าร่วมการตัดสินใจทางนโยบายที่รัฐจัดขึ้นให้ภาคส่วนที่หลากหลายได้มีส่วนร่วม
               หรือแบบไม่เป็นทางการที่ภาคประชาชนได้เคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เป็นไปเพื่อ

               ประโยชน์ของสังคมส่วนรวมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน จากความหมายนี้อาจพออนุมานขอบเขตการศึกษา
               การเมืองสิ่งแวดล้อมได้ว่าเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจทางสิ่งแวดล้อม ตัวแสดงที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทาง
               สิ่งแวดล้อม และในระหว่างการตัดสินใจ จนกระทั่งรับผลกระทบที่เกิดขึ้นภาคส่วนต่าง ๆ มีปฏิสัมพันธ์กัน

               อย่างไรบ้าง อย่างไรก็ดี ผู้วิจัยส ารวจเพิ่มว่า ขอบเขตของการเมืองสิ่งแวดล้อมอาจมีการศึกษาในประเด็นใดได้บ้าง
               และพบว่า การเมืองสิ่งแวดล้อมอาจมีขอบเขตในเชิงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เชิงระดับการเมืองสิ่งแวดล้อม
               เชิงตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง และเชิงโครงสร้างและสถาบัน

                       ในขอบเขตเชิงประเด็น การศึกษาอาจมีขอบเขตตามทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เช่น ประเด็นสิ่งแวดล้อม
               สรุปโดย Fahey and Pralle จ านวน 9 ประเด็น ได้แก่ มลพิษ พลังงาน โลกร้อน ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติ

               เกษตรกรรม ภัยพิบัติด้านสิ่งแวดล้อม ยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม และความยั่งยืน ซึ่งพวกเขาได้ท าการศึกษา






                                                            9
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27