Page 21 - kpiebook65022
P. 21
เช่น การแบ่งปันงบประมาณเพื่อประโยชน์ทางการเมืองที่มากไป ทั้งที่โดยหลักการแล้วผู้แทนต้องเข้าไปใน
รัฐสภาเพื่อเป็นตัวแทนผลประโยชน์และความห่วงกังวลของประชาชน (เดวิด แมทธิวส์, 2552, น.10)
ตัวอย่างที่ชัดเจนของการเมืองภาคพลเมืองในยุโรป อันเกิดจากการแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มที่
เคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม เพราะมีความตระหนักต่อปัญหาทรัพยากรที่เชื่อมโยงไปยังปัญหาอื่นอย่าง
เศรษฐกิจ เทคโนโลยี และการเมือง ซึ่งอาจน าพามนุษยชาติไปสู่วิกฤติ จนน าไปสู่การเคลื่อนไหวของคนรุ่นใหม่
ในช่วงทศวรรษ 1960 และ 1970 ซึ่งเป็นการปฏิวัติทางวัฒนธรรม โดยปฏิเสธทุนนิยมและสังคมนิยมไปพร้อม
ๆ กัน แล้วเสนอภาพสังคมใหม่คือมนุษย์ที่พึ่งพาตนเองและใกล้ชิดธรรมชาติ จุดเริ่มนี้ได้น าไปสู่การต่อสู้ในสภา
ด้วย โดยมีการก่อตั้งพรรคการเมืองสีเขียวหรือพรรคกรีน (Green party) ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดี อย่างเช่น
พรรคกรีนในเยอรมันที่ได้รับเลือกตั้งเข้าไปเป็นตัวแทนถึง 27 คนในปี พ.ศ.2526 หรือพรรคกรีนในอังกฤษที่
ได้รับคะแนนเสียงถึงร้อยละ 14.9 ใน พ.ศ.2532 อย่างไรก็ดี พรรคเขียวก็ยังถือเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการ
เคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมเท่านั้น (ประชา หุตานุวัตร, 2551, น.2-6)
ดังนั้น การเมืองจึงกว้างกว่าการท านโยบาย และการเมืองที่อยู่ในรัฐสภา ผู้ที่สนใจนโยบายด้าน
สิ่งแวดล้อมอาจสนใจเพียงมิติการเมืองของนโยบาย เช่นว่า การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของ
ตัวแสดงที่หลากหลาย แต่การเมืองยังหมายไปถึงกระบวนการทางสังคมที่มีการถกเถียง เคลื่อนไหว และ
ตัดสินใจในเรื่องนั้น ๆ ด้วย การเมืองในที่นี้จึงหมายรวมถึงการเมืองภาคพลเมืองที่ตัวแสดงที่ไม่เป็นทางการ
อย่างภาคประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย
ส าหรับความหมายของการเมืองสิ่งแวดล้อม (Environmental Politics) ผู้วิจัยน าเสนอนิยาม
ความหมายของการเมืองสิ่งแวดล้อมที่มีนักวิชาการหลายท่านเสนอไว้ ส่วนใหญ่ให้ความหมายว่าเป็นการ
ตัดสินใจของรัฐ ที่อาจเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม และแต่ผลการตัดสินใจนั้นเมื่อมีการ
ด าเนินการจะกระทบต่อสังคมโดยรวม ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ในเชิงการตัดสินใจ การเมืองสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเกี่ยวกับว่าภาคส่วนต่าง ๆ จะตัดสินใจอย่างไร
เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร มลพิษ หรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นที่จะมีผลต่อสิ่งแวดล้อม กระบวนการเหล่านี้
มักด าเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ (DeSombre, 2020, p.1) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมืองและสิ่งแวดล้อมโดย
เริ่มต้นจากการก าหนดนโยบายและการน านโยบายไปปฏิบัติ (Simpson, 2020, p. 80)
การเมืองสิ่งแวดล้อมในเชิงที่เป็นการตัดสินใจนี้ ถือว่านโยบายต่าง ๆ ของรัฐ เป็นปัจจัยส าคัญที่ส่งผล
กระทบต่อประชาชน อย่างไรก็ตาม ในความเป็นจริงยังคงเกิดช่องว่างระหว่างความต้องการของประชาชน
และกระบวนการในการก าหนดนโยบายของรัฐอันเกิดจากกระบวนการทางประชาธิปไตย ซึ่งการออกนโยบาย
ด้านสิ่งแวดล้อมของรัฐมักถูกบิดเบือน ไม่ได้เป็นไปตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง (Prakash
and Bernauer, 2020, p. 1128)
ในเชิงความสัมพันธ์ระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ กับการเมืองสิ่งแวดล้อม คือ พื้นที่ที่ให้ทุกภาคส่วนร่วม
ตัดสินใจ รัฐจะให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบหรือภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเศรษฐกิจและสังคมได้เข้าร่วม เพราะ
การป้องกันหรือแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต้องการความแม่นย าและความเข้าใจกระบวนการเมืองเพื่อจัดท า
กฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านี้ (DeSombre, 2020, p.2) โดยอาศัยความสัมพันธ์ของรัฐ ประชาชน
และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการร่วมกันจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม ความตระหนักรู้ของประชาชนและการมีส่วนร่วม
ในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นส าคัญ (Simpson, 2020, p. 80) อีกทั้ง การเมืองสิ่งแวดล้อมยังเป็นเรื่องของ
8