Page 41 - kpiebook65022
P. 41
เป้าหมายที่ 15 ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมระบบนิเวศ ทรัพยากรบนบก การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน
หยุดการท าลายทรัพยากรบนบกและการท าให้สูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ
ทั้งนี้ ทุกเป้าหมายต่างยืนอยู่วิธีการ คือ เป้าหมายที่ 17 เป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่น าพาไปสู่
ความยั่งยืน (Weber and Weber, 2020, p. 3)
ในทางตรงกันข้าม นักวิชาการบางท่านเห็นว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนไม่ได้สมดุลสามเสาหลักอย่าง
แท้จริง ยกตัวอย่าง Elder and Olsen กล่าวว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดที่เป็นที่ถกเถียงมานานในแง่
ของการพัฒนา แต่ก็เป็นแนวคิดที่เป็นมุมมองเชื่อมโยงสามเสาหลักอย่างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
สิ่งแวดล้อมถือเป็นมิติหนึ่งของการพัฒนาเช่นเดียวกับมิติอื่น ในเชิงหลักการแล้ว มิติสิ่งแวดล้อมดูมีความส าคัญ
มากที่สุด แต่ในทางปฏิบัติ รัฐบาลในหลายประเทศ หรือผู้เชี่ยวชาญมักให้ความส าคัญกับเสาเศรษฐกิจและ
สังคมมากกว่า อีกทั้ง ยังเชื่อถึงการแลกเปลี่ยน (Trade-off) ระหว่างสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ จึงท าให้มีการ
3
หลีกเลี่ยงที่จะปกป้องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ความเห็นของ Elder and Olsen เช่นนี้ สืบเนื่องมาจากว่า
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้รับอิทธิพลจากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development
Goals: MDGs) ที่เน้นการพัฒนามากกว่าค านึงถึงสิ่งแวดล้อม Elder and Olsen ชี้แจงให้เห็นว่าประเด็น
สิ่งแวดล้อมในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่มีปรากฏในเสาหลักด้านสิ่งแวดล้อมเพียงบาง
เป้าหมายเท่านั้น และหากวิเคราะห์รายละเอียดตัวชี้วัดจะยิ่งเห็นความส าคัญของประเด็นสิ่งแวดล้อมน้อยลงไปด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป้าหมายที่ 8 และ 9 ที่เน้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างมากจนไม่มีมิติสิ่งแวดล้อม
หลงเหลืออยู่เลย (Elder and Olsen, 2019, pp. 70-71)
ปัญหาส าคัญของการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน คือ การบูรณาการสามเสาหลัก โดยการ
เชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายหลักทั้งสามนี้มีข้อโต้เถียงกันมานานแล้วกว่ายี่สิบปี อย่างน้อยก็ตั้งแต่ช่วยปี ค.ศ.
1992 ที่มีการประชุมสิ่งแวดล้อมโลกที่กรุงริโอเดอจากนิโร แม้มีการถกเถียงมานานแล้วแต่หลายฝ่ายก็เห็นว่า
ในเชิงประสิทธิผลทางนโยบายแล้ว เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนยังขาดวิเคราะห์แบบบูรณาการและการจัดท า
นโยบาย การพัฒนาเพื่อไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันของแต่ละประเทศและระดับโลกนั้น มีความท้าทาย
ในเรื่องของการเชื่อมโยงแต่ละเป้าหมายที่แตกต่างกัน เพื่อจะสมดุลการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และ
สังคม (Boas et al., 2016, pp. 450-451 Weber and Weber, 2020, p. 1)
ยกตัวอย่างความไม่เชื่อมโยงหรือความยากในการเชื่อมโยงเป้าหมายที่แตกต่างกันของ SDGs เช่น
เป้าหมายเพื่อความยั่งยืนในการจัดการน้ าและการสุขาภิบาลก็ยังไม่มีการเชื่อมโยงที่ชัดเจนกับเรื่องอาหารหรือ
โลกร้อน หรือในหลายประเทศยังคงแก้ไขปัญหาเรื่องโลกร้อนเหมือนเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างเดียว แต่ไม่ได้
สนใจว่าโลกร้อนเกี่ยวข้องกับปัญหาการพัฒนาที่ยั่งยืนอื่นอย่างความยากจน สุขภาพและความมั่นคง (Boas et
al., 2016, p. 450; p. 459) ดังนั้น การศึกษาที่มีการเน้นเรื่องความซับซ้อนของการด าเนินงานเพื่อบูรณาการ
ประเด็นทางนิเวศ สังคม และเศรษฐกิจถือว่า เป็นการศึกษาที่ตอบโจทย์เรื่องการพาไปสู่เป้าหมาย SDGs
เพราะจะให้แนวการปฏิบัติในการสื่อสารทางการเมืองและการตัดสินใจ (Weber and Weber, 2020, p. 9)
สอดคล้องกับ Boas et al. ที่ว่าในเชิงการสมดุลเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รัฐบาลระดับประเทศ
และรัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละประเทศต่างมีบทบาทในการท าให้นโยบายการพัฒนาที่ยั่งยืนเกิดผลในทางปฏิบัติ
ดังนั้น การตั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของการพัฒนาแต่ละเป้าหมายอาจจะต้องมีระดับของความกลมกลืนกัน
(Level of harmony) ยกตัวอย่างเช่น การลงทุนด้านทรัพยากรหมุนเวียนผ่านโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานน้ าใน
3 การแลกเปลี่ยน (Trade-off) เป็นแนวคิดแบบเศรษฐศาสตร์ แบบ “ได้อย่าง-เสียอย่าง”
28