Page 42 - kpiebook65022
P. 42
อินเดีย จากมุมมองระดับประเทศโครงการนี้ช่วยให้อินเดียบรรลุเป้าหมายที่ 7 เรื่องพลังงานที่ยั่งยืน แต่ผลจาก
โครงการเหล่านี้อาจมีผลกระทบทางลบต่อระดับน้ าทั้งในอินเดียและประเทศเพื่อนบ้านอย่างบังคลาเทศ
รวมทั้งยังส่งผลต่อเป้าหมายการพัฒนายั่งยืนที่ 6 เรื่องความยั่งยืนเรื่องน้ าและสุขาภิบาล จึงมีความจ าเป็นต้อง
ท าให้แต่ละเป้าหมาย ความต้องการ และการด าเนินการในระดับปฏิบัติมีความสอดคล้องเป็นไปในทางเดียวกัน
ให้มากที่สุด (Boas et al., 2016, p. 459)
หากแต่การสมดุลสามเสาหลักนั้น มีความท้าทายด้วยปัจจัยที่ส าคัญ คือ สถาบันและตัวแสดงที่
ขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และความร่วมมือของทุกภาคส่วน ตลอดจนการปรับเปลี่ยนวิธีการ
เพื่อให้ได้มาซึ่งความร่วมมือนั้น ดังที่ Breuer et al. (2019) ได้ศึกษาสถาบันในการขับเคลื่อนเป้าหมายที่ยั่งยืน
ระหว่างปี ค.ศ. 2016 - 2017 ของ 62 ประเทศซึ่งเป็นทั้งประเทศในกลุ่มพัฒนาแล้วและก าลังพัฒนา สถาบันที่
4
ขับเคลื่อนมีทั้งแบบเคลื่อนงานโดยกระทรวงเดียวและหลายกระทรวง รวมทั้งแบบไม่มีหน่วยงานที่รับ
มอบหมายโดยตรง แต่ก็มีแผนงานและผู้รับผิดชอบ จากการศึกษาของ Breuer et al. พบว่า แต่ละรูปแบบที่
แต่ละประเทศเลือกใช้ต่างเป็นไปตามความพร้อมและรูปแบบการบริหารปกครองของแต่ละประเทศ และมีข้อดี
ข้อเสียที่ต่างกันไป และเสนอว่าการเคลื่อนงานไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ส าคัญ คือ การมีระบบหรือ
กลไกที่มั่นใจได้ว่าภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในสังคมได้เข้าร่วมในการตัดสินใจเรื่องการพัฒนาในระดับประเทศ
ในหลายประเทศที่มีหลายหน่วยงานเข้ามาขับเคลื่อนยังขาดการบูรณาการไปยังหน่วยงานย่อยและการยึดโยง
ไปถึงภาคประชาสังคม แม้ว่า จะมีคณะท างานย่อยลงไปก็ตาม รวมทั้ง สถาบันท้องถิ่นส่วนใหญ่ในหลาย
ประเทศยังไม่ค่อยได้เข้าร่วมตัดสินใจในนโยบายระดับประเทศด้วยเหมือนกัน เพราะขาดบุคลากรและ
ทรัพยากรทางการเงิน ซึ่งมีผลต่อการน านโยบายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติให้เกิดผลจริงในระดับตัวแสดง
ที่เป็นประชาสังคม Breuer et al. ยังเสนออีกว่า การตั้งองค์เชิงสถาบันขึ้นมารับผิดชอบเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน
ควรมีการติดตามการท างาน ซึ่งจะท าให้มีการตั้งตัวชี้วัดในการท างานเพื่อประเมินว่าเป้าหมายการพัฒนาที่
ยั่งยืนบรรลุไปมากน้อยเพียงใด และสถาบันที่ตั้งขึ้นได้ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากน้อยเพียงใด
นอกจากนี้ การบูรณาการสามเสาหลักควรมีการสร้างการมีส่วนร่วมให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อให้มีการ
แลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน เช่น เรื่องโลกร้อน รวมถึงกระบวนการติดตามแบบ
พื้นฐานเพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น การสร้างเครือข่ายพลเมืองเสมือนในการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการใช้
เครื่องมือทางอินเทอร์เน็ต เหมือนกับที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ที่มีเครือข่ายองค์กรเฝ้าระวังทั่วโลก
จากเครือข่ายเสมือนเหล่านั้น ทัศนะของชุมชนท้องถิ่น หรือนักปฏิบัติในท้องถิ่นก็จะมีการด าเนินงานที่
กระตือรือร้นมากขึ้นด้วย ผ่านการใช้กลไกทางเทคโนโลยีเหล่านี้ (Boas et al., 2016, p. 459)
อย่างไรก็ดี การเสนอความหมาย ขอบเขต การเมืองสิ่งแวดล้อมในไทยและต่างประเทศที่กล่าวมาก่อน
หน้านี้ ยังมีลักษณะมองมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ยกตัวอย่างกระบวนทัศน์ครอบง าที่เรียกว่า กระบวนทัศน์ฝั่ง
ตะวันตก (Dominant Western Paradigm: DWP) เป็นกระบวนทัศน์ที่ถือมนุษย์เป็นที่ตั้ง (Anthropocentric
4 ส าหรับประเทศไทยเป็นรูปแบบหลายหน่วยงานรับผิดชอบ โดยมีการตั้งคณะท างานที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ฯลฯ
รวมกว่าสามสิบคน ตามประกาศระเบียบส านักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ฉบับที่ 4) เมื่อ
15 มกราคม พ.ศ.2564 และมีการตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นอีก 4 คณะ ตามค าสั่งคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่
1/2563 เรื่องแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เมื่อ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ได้แก่ คณะอนุกรรมการการขับเคลื่อนเป้าหมายการ
พัฒนาที่ยั่งยืน คณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คณะอนุกรรมการติดตามและ
ประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืน และคณะอนุกรรมการการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์
29