Page 43 - kpiebook65022
P. 43
or human-centered perspective) แนวคิดนี้มองมนุษย์แยกออกมาเป็นผู้อยู่เหนือกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่
มนุษย์ สิ่งมีชีวิตอื่นมีค่าเป็นเพียงทรัพยากรรายล้อมรอบเพื่อประโยชน์ของมนุษย์ และยังเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า
อีกว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะช่วยแก้ปัญหาให้กับมนุษย์ได้ (Ingraham, 1990, pp.17; Keles, 2020,
p.19) และนั่นก็เป็นรากฐานของหลายปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมา และท าให้เกิดการเมืองสิ่งแวดล้อมตามมา ว่า
ใครบ้างที่จะเข้ามาจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และจะจัดการอย่างไร
ขณะที่กระบวนทัศน์ใหม่ทางสิ่งแวดล้อม (New Environmental Paradigm: NEP) เสนอมุมมองต่อ
สิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีมุมมองว่ามนุษย์ควรถูกวางเข้าไว้ด้วยกันในบริบทของ
ธรรมชาติ (Biocentric perspective) ให้ทุกชีวิตท าหน้าที่อย่างเท่าเทียมกันและไม่มีล าดับชั้นสูงต่ ากว่ากันใน
มุมมองนี้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะถูกน ามาใช้เพื่อสนองความต้องการเฉพาะแต่ไม่ใช่มาตรฐานส าหรับ
การด ารงชีวิต และสิ่งแวดล้อมในกระบวนทัศน์ใหม่ยังแนะน าว่าการเปลี่ยนแปลงมุมมองทางสิ่งแวดล้อมจะท า
ให้เข้าใจได้ว่าธรรมชาติมีขีดจ ากัด มนุษย์เองย่อมอยู่ภายใต้ข้อจ ากัดนั้น นอกจากนี้ มุมมองที่ตรงกันข้ามกับ
กระบวนทัศน์แบบเก่ายังเห็นว่ามนุษย์เป็นศูนย์กลางของความห่วงกังวล (Human are the center of
concern) คือมนุษย์อยู่ภายใต้การควบคุมของธรรมชาติ และมนุษย์เองไม่ได้มีสิทธิเหนือกว่าที่จะไปครอบง า
และควบคุมสิ่งมีชีวิตอื่น (Ingraham, 1990, pp.7-8; p.42)
ข้อคิดเห็นนี้สอดคล้องกับปฏิญญาริโอ (Rio Declaration 1992) ว่าความเป็นอยู่ของมนุษย์ (Human
beings) คือศูนย์กลางความห่วงกังวล (Center of concern) เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มนุษย์จึงมีสิทธิที่จะมีชีวิต
ที่มีสุขภาพที่ดีโดยเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ สิทธิในการพัฒนานี้ยังต้องไปด้วยกันระหว่างความจ าเป็นของ
คนรุ่นปัจจุบันและอนาคตอีกด้วย (Keles, 2020, p.22)
นอกจากนี้ กระบวนทัศน์ใหม่ที่ว่ามนุษย์ไม่ได้เป็นศูนย์กลางของสรรพสิ่งหากแต่อยู่ท่ามกลางสิ่งมีชีวิตอื่น
ยังมีผู้เสนอแนวคิดที่คล้ายกัน เช่น ความยุติธรรมระหว่างสายพันธุ์ (Multispecies justice: MSJ) เป็นแนวคิด
ที่เกิดมาจากการทบทวนแนวคิดยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม และพบว่าทั้งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นต่างส่งเสริมซึ่งกัน
และกัน ซึ่ง Celermajer et al. (2020) ตั้งข้อสังเกตว่าแนวคิดการเมืองสิ่งแวดล้อมอาจถูกท้าทายจากมุมมอง
MSJ ยกตัวอย่างเช่น การถูกท้าทายจากแนวคิดที่สุดโต่งถึงว่าความยุติธรรมกับอะไร ยกตัวอย่าง ความยุติธรรม
ในปรัชญากรีกก็คือสิทธิและความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย ดังนั้น สถาบันการเมืองที่มีอยู่จึงท าหน้าที่ต่อมนุษย์
สิ่งมีชีวิตอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ก็อาจไม่ได้รับความยุติธรรมในกระแสของการเมืองสิ่งแวดล้อม Celermajer et al.
(2020, pp.8-9) ดังนั้น การเมืองสิ่งแวดล้อมในกระบวนทัศน์ใหม่ มนุษย์คงไม่เพียงจัดการกับความท้าทาย
(ที่ยังไม่จบสิ้น) ในการจัดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมร่วมกันทั้งในรุ่นและระหว่างรุ่น แต่ยังเผชิญความท้าทาย
เกี่ยวกับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากมนุษย์ด้วยกันเองอีกด้วย
30