Page 53 - kpiebook65022
P. 53
แต่ยังเติบโตช้าเพราะมีสงครามเกิดขึ้นมา และช่วงนั้นประเทศไทยเริ่มมีค าว่า GDP เข้ามาแล้ว (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5
[สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564)
การจัดการทรัพยากรน้ า สอดคล้องกับทรัพยากรป่าไม้ ที่การเคลื่อนไหวเกิดขึ้นเมื่อรัฐไทยเริ่มน า
แนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจมาใช้ในการพัฒนาประเทศตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา มีโครงการ
ก่อสร้างเพื่อกักเก็บน้ า เช่น โครงการอ่างเก็บน้ าเขาเต่า ที่อ าเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อันเป็น
โครงการพัฒนาแหล่งน้ า อันเนื่องมาจากพระราชด าริแห่งแรก ที่กรมชลประทานก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2506
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 [สัมภาษณ์], 31 พฤษภาคม 2564) หรือสมัยของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จนถึงยุคต้นของ
จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประเด็นที่ส าคัญเกี่ยวกับทรัพยากรน้ า ได้แก่ การสร้างเขื่อนภูมิพลซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่
แห่งแรกของประเทศไทย เป็นโครงการแรกที่รัฐบาลกู้เงินมาจากธนาคารโลก ถูกต่อต้านคัดค้านจากประชาชน
ที่ได้รับผลกระทบทั้งในจังหวัดตาก ล าพูน ไปจนถึงบางส่วนของจังหวัดเชียงใหม่ในแม่น้ าปิงตอนล่าง
ที่กลายเป็นอ่างเก็บน้ า โดยเฉพาะบันทึกของชาวบ้านที่กล่าวถึงการที่พวกเขาสู้ถึงขั้นสร้างวีรชนของเขาเอง
ขึ้นมา ด้วยการสร้างพระร่วงองค์ที่ 2 ซึ่งเป็นความเชื่อของท้องถิ่นในแถบนั้น มาต่อสู้กับโครงการเขื่อนขนาดใหญ่
และน าชาวบ้านไปต่อต้านการสร้างเขื่อน รวมถึงน าเอาความเชื่อท้องถิ่นอย่างเช่น เจ้าพ่อทุ่งจ๊ะ ที่จังหวัดล าพูน
มาสร้างความชอบธรรมในการไม่ยอมอพยพออกจากพื้นที่สร้างเขื่อน นอกจากนี้ ยังพบกรณีการจัดการ
ทรัพยากรแร่ที่มีการเข้าถึงทรัพยากรเฉพาะกลุ่ม เช่น ในปี พ.ศ.2506 กลุ่มนายทหารระดับสูง ได้ตั้งบริษัท
เหมืองแร่บูรพาเศรษฐกิจขึ้นมา และได้รับสัมปทานส ารวจและขุดแร่ประมาณแสนกว่าไร่ในทะเลอันดามัน
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
ในส่วนการเคลื่อนไหวของตัวแทนประชาชนรูปแบบที่เป็นทางการ เป็นการเมืองส่วนกลางที่โยงกับการ
พัฒนา ต่างจากการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวเพื่อปกป้องสิทธิและวิถีชีวิตตนเอง
จากการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบ ยกตัวอย่างเช่น การอภิปรายในรัฐสภาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนของไม้
จากการท าอ่างเก็บน้ าในบริเวณลุ่มน้ าปิง เพราะเป็นพื้นที่ที่มีป่าสักอุดมสมบูรณ์ หรือการคัดค้านของสมาชิก
รัฐสภาฝ่ายค้านในขณะนั้นและกลุ่มสมาชิกรัฐสภาในภาคอีสาน ที่มุ่งเป้าไปที่การกู้เงินจ านวนมหาศาลของ
รัฐบาลในการสร้างเขื่อนทั้งที่ประชาชนในภาคอีสานยังยากจนอยู่ เป็นต้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์],
6 พฤษภาคม 2564)
ทรัพยากรกับการเมืองที่ผันผวนก่อนแผนฯ ฉบับที่ห้า
ในช่วงราว พ.ศ.2510-2524 เหตุการณ์ด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมที่พบจากการสัมภาษณ์
มีความสัมพันธ์กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ฉบับที่ 2 – 4 ในช่วงต้นของยุคนี้ทรัพยากรกับการเคลื่อนไหวทาง
การเมืองส่งผลให้เกิดความบานปลายเป็นประเด็นการเมืองดังสถานการณ์ประท้วงของนักศึกษา 14 ตุลา 2516
และ 6 ตุลา 2519 ถือเป็นยุคที่มีความตื่นตัวด้านสิ่งแวดล้อมสูง ประเด็นที่พบ ได้แก่ มลพิษ ทรัพยากรธรรมชาติ
และเกษตรกรรม
ประเด็นมลพิษ พบว่า มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ก่อให้เกิดผลกระทบกับคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยรวม
แล้วท าให้ประชาชนที่ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ได้รับความเดือดร้อนจากน้ าเสียของอุตสาหกรรม
ประชาชนทั่วไปได้รับผลกระทบจากอากาศที่เป็นพิษ เป็นที่มาของกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของ
นักศึกษาด้วย ยกตัวอย่าง กรณีแม่น้ าแม่กลองเน่าเสีย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2512-2516 (ปัจจุบันก็ยังได้ข่าวเรื่องน้ าใน
แม่น้ าแม่กลองเสียอยู่เป็นระยะ) จากการก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมน้ าตาลที่บริเวณตอนบนของลุ่มน้ าแม่
กลอง เช่น จังหวัดกาญจนบุรีมีโรงงานน้ าตาลมากมาย และมีการปล่อยน้ าเสียลงมาก่อให้เกิดปัญหาทาง
40