Page 51 - kpiebook65022
P. 51

มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเชิญ เซอร์ ทอมสัน สวอร์ด (Sir Tonsan Sward) ผู้เชี่ยวชาญการชลประทานชาว
               อังกฤษจากประเทศอินเดียเข้ามาวางโครงการชลประทาน มีการเสนอให้สร้างชลประทาน 4 โครงการ คือ

               โครงการเขื่อนแม่น้ าเจ้าพระยา แม่น้ าป่าสัก แม่น้ าเพชรบุรี และแม่น้ าแม่กลอง แต่เนื่องจากเงินทุนไม่เพียงพอ
               จึงยังไม่ได้ลงมือสร้างโครงการเขื่อนเจ้าพระยา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 7 รัฐบาลก็ได้ด าเนินการสร้างโครงการ
               ชลประทานต่อมาโดยมีนโยบายขยายงานในภาคกลางและภาคเหนือเพิ่มขึ้น และได้เปิดงานใน
               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น

                      จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 9 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2489 เป็นต้นมา) รัฐบาลก็ได้ด าเนินการสร้างโครงการ

               ชลประทานต่อมาโดยมีนโยบายขยายงานในภาคกลางและภาคเหนือเพิ่มขึ้น และเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ าก็มี
               ความต่อเนื่องมาโดยตลอด แต่การท างานของหน่วยงานรัฐด้านการพัฒนาแหล่งน้ ายังคงเป็นแบบรับผิดชอบไป
               ตามแต่ละหน่วยงาน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 [สัมภาษณ์], 31 พฤษภาคม 2564)


                      4.1.2  ช่วง พ.ศ.2500 - พ.ศ. 2540

                      ในช่วงนี้ เป็นจุดเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกของประเทศไทย (พ.ศ.2504) ผลการพัฒนา

               ประเทศตามแผน ฯ ท าให้เกิดการใช้ทรัพยากรเป็นฐานของการพัฒนาเศรษฐกิจและเกิดการเคลื่อนไหวของ
               ประชาชนและนักศึกษาต่อประเด็นสิ่งแวดล้อมแล้วพัฒนาไปเป็นประเด็นการเมือง รวมถึงการเคลื่อนไหว
               การเมืองสิ่งแวดล้อมโลกหรือ Earth Summit ครั้งที่ 2 ที่เมืองริโอ เดอจานิโร ในปี ค.ศ. 1992 ส่งผลให้

               การเมืองสิ่งแวดล้อมไทยพัฒนาขึ้นตามล าดับ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพ
               สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 โดยประเด็นการเมืองที่พบส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรทรัพยากรพื้นฐานอย่างป่าไม้
               และน้ า ส่วนช่วงท้ายยุคมีประเด็นของความเสื่อมโทรมและมลพิษปรากฎอันเนื่องจากการด าเนินงานตาม
               แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯตั้งแต่ฉบับแรกจนกระทั่งถึงฉบับที่ 5 ในช่วงยุคนี้ คณะผู้วิจัยสรุปให้เห็นวิวัฒนาการและ
               ประเด็นส าคัญลงเป็นล าดับย่อยอีกดังต่อไปนี้


                      การจัดการทรัพยากรช่วงก าเนิดแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
                      ในช่วงราว พ.ศ.2500-2509 รัฐบาลที่มาจากการเมืองในแบบที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์เริ่มเข้ามาจัดการ

               บริหารทรัพยากรอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น ดังผู้เข้าร่วมบางท่านกล่าวว่าการเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่เริ่ม
               ตั้งแต่ทศวรรษ 1960-1970 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564) ซึ่งสอดคล้องช่วงเริ่มของ
               แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 เมื่อปี พ.ศ.2504 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564;

               ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564) และนับตั้งแต่มีการพัฒนาตามแผนเศรษฐกิจ ฯ ประเทศไทยก็
               เริ่มเปิดตลาดตั้งเป้าของการพัฒนา เพื่อที่จะเพิ่มผลผลิตทางด้านเศรษฐกิจและการเพิ่มรายได้ของประชาชาติ
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) การจัดการทรัพยากรถูกน ามาใช้เพื่อการตอบสนองทางด้าน
               เศรษฐกิจอย่างชัดเจนและยุคแรกเริ่มของการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมที่มีลักษณะเฉพาะ ก็คือ การ

               เคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในระดับรากหญ้า (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) พบประเด็นการ
               เคลื่อนไหวทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ า และทรัพยากรแร่ รวมถึงการเคลื่อนไหวของตัวแทนประชาชน
               (สมาชิกรัฐสภา)

                      การจัดการทรัพยากรป่าไม้ได้น าแบบการอนุรักษ์ของต่างประเทศอย่างอเมริกาเข้ามาใช้ในประเทศไทย
               จึงเริ่มมีประกาศและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับป่าไม้ เช่น กฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยอุทยาน

               แห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และมีการประกาศอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ประกาศเขตรักษา



                                                            38
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56