Page 50 - kpiebook65022
P. 50

แห่งชาติ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายส าคัญ ส าหรับช่วงสุดท้าย เป็นช่วงหลัง พ.ศ.2540 จนถึงปัจจุบันซึ่งเป็น
               ช่วงสั้น ๆ และมีรัฐธรรมนูญเป็นจุดยึดส าคัญในการเสนอประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้ ส าหรับ

               รายละเอียดข้อค้นพบในแต่ละยุค ดังต่อไปนี้


                      4.1.1 ยุคโบราณจนถึงก่อน พ.ศ.2500

                      จากข้อมูลผู้ให้สัมภาษณ์ พบว่า การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชนยังไม่ชัดเจนมากนัก
               แต่เห็นถึงบทบาทของการจัดการภาครัฐอย่างโดดเด่นในประเด็นทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรน้ า โดย
               ทรัพยากรดังกล่าวประชาชนสามารถเข้าถึงได้อย่างเสรี จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 5 การจัดการทรัพยากร

               สมัยใหม่ถูกน ามาใช้ในประเทศไทย ดังปรากฏท้ายยุคนี้ที่มีพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 ขึ้น

                      ยุคนี้เป็นช่วงที่ประเทศไทยในอดีตด ารงชีวิตด้วยเกษตรกรรมและใช้ชีวิตตามวิถีชีวิตชนบท ดิน น้ า ป่าไม้
               เป็นทรัพยากรหลักและถูกใช้เพื่อตอบสนองการเกษตรและความเป็นอยู่ จนกระทั่งมีต่างชาติเข้ามาค้าขาย จึง
               ท าให้ทรัพยากรที่หามาได้จากทรัพยากรป่าไม้และเคยส่งให้กับรัฐส่วนกลางถูกแบ่งไปท าการค้ากับต่างประเทศ
               เช่น ไม้สัก งาช้าง เป็นต้น โดยผู้ปกครองประเทศสูงสุด (พระมหากษัตริย์) ซึ่งขณะนั้นไม่ได้มีอิทธิพลต่อเรื่อง

               ของการจัดการทรัพยากรมากนัก ยกเว้นกรณีหัวเมืองน าไปถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการ ขณะที่ชุมชนที่อยู่
               ใกล้ชิดฐานทรัพยากรยังไม่ค่อยได้รับผลกระทบหรือมีส่วนเกี่ยวข้องมากนัก ยกเว้นเป็นผู้ที่อยู่ในกระบวนการให้
               ได้มาซึ่งทรัพยากรเหล่านี้

                      กระบวนการจัดสรรทรัพยากรชัดเจนมากขึ้นในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ที่มีการท าไม้หรือมีบริษัทต่างชาติ
               เข้ามาขอสัมปทานไม้ในพื้นที่มากขึ้น จึงมีการจัดการทรัพยากรในรูปแบบการจัดการร่วมระหว่างผู้ปกครองตาม

               หัวเมืองต่าง ๆ กับพระมหากษัตริย์ ลักษณะของการบริหารจัดการทรัพยากรเริ่มมีการรวมศูนย์เพื่อการดูแล
               และใช้ประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์และน ารายได้มาพัฒนาประเทศ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์],
               6 พฤษภาคม 2564) ในยุคนี้ มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป่า พ.ศ. 2484 พระราชบัญญัติคุ้มครองและ

               สงวนป่า พ.ศ.2481 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564)
                      ในส่วนทรัพยากรน้ า พบว่า การบริหารจัดการตั้งแต่ยุคสุโขทัย (ประมาณปี พ.ศ. 1820) พ่อขุน

               รามค าแหงได้มีการสร้างเขื่อนเก็บน้ า ต่อมาในช่วงอาณาจักรล้านนา (ปี พ.ศ. 1830) พญามังรายได้มีระบบ
               ชลประทานที่เรียกว่าเหมืองฝายและพนังกั้นน้ าขนาดใหญ่ ช่วงสมัยอยุธยาก็ได้มีการขุดคลองสร้างท านบและ
               ประตูกั้นน้ าหลายแห่ง มีการสร้างเขื่อน เช่น สมัยพระเจ้าปราสาททอง (ประมาณ พ.ศ. 2176) ได้มีการสร้าง

               เขื่อนเก็บน้ า กั้นล าธารน้ าทองแดงที่พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ประมาณ
               พ.ศ. 2204) ได้มีการสร้างเขื่อนเก็บน้ าขึ้น ที่ห้วยซับเหล็ก จังหวัดลพบุรี ต่อมาช่วงสมัยกรุงธนบุรี ก็มีการขุด
               คลองเพื่อใช้เป็นเส้นทางคมนาคมและจัดสรรน้ าเพื่อการท านาแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ หลังจากนั้นในช่วงสมัย
               กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการขุดคลองเชื่อมแม่น้ าและทางน้ าต่าง ๆ ในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางทั้งเพื่อ

               การเกษตรและคมนาคมเนื่องจากปริมาณของน้ าฝนที่ตกในแต่ละปีแตกต่างกันไป

                      ต่อมาช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง  ระบบชลประทานแบบใหม่ได้เกิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่สมัย
               สมัยรัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2445) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเชิญ นายเยโฮมัน วันเดอร์ไฮเด
               (Yehomen Wanderheide) ผู้เชี่ยวชาญชาวฮอลันดาเข้ามาวางโครงการชลประทานในที่ราบลุ่มภาคกลาง
               เพื่อช่วยเหลือการท านาในที่ราบลุ่มภาคกลางให้ได้ผลมากขึ้น ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตั้งกรมคลองขึ้นใน

               กระทรวงเกษตราธิการ เพื่อด าเนินงานนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2446 สมัยรัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2456) พระบาทสมเด็จพระ



                                                            37
   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55