Page 57 - kpiebook65022
P. 57
ก็ยังมีการทะเลาะกันทุกปีอันเกิดจากการเพาะเลี้ยงกุ้ง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์],
29 มกราคม 2564)
นอกเหนือจากประเด็นข้างต้น ยังมีกรณีอื่น ยกตัวอย่าง กรณีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืน
7
ที่ดินให้กับการท่าเรือแห่งประเทศไทยในบริเวณพื้นที่ของอ าเภอศรีราชา ประมาณ 6,000 กว่าไร่ ในปี พ.ศ.
2521 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564) เพื่อสร้างขีดความสามารถในการพัฒนาประเทศ
มีผลให้คนบางส่วนต้องอพยพออกจากพื้นที่ หรือการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษาในยุคนี้ยังมีการรณรงค์ด้าน
สิ่งแวดล้อมในหลายประเด็น เช่น การคัดค้านการตั้งโรงไฟฟ้าปรมาณูซึ่งมีข่าวลือว่าจะตั้งขึ้นที่อ่าวไทย
การรณรงค์ให้ปลูกต้นไม้ในกรุงเทพฯ ให้มากขึ้น และยังพบว่าการเคลื่อนไหวของนักศึกษาในประเด็นเรื่อง
สิ่งแวดล้อมมุ่งเป้าไปที่การวิพากษ์วิจารณ์สหรัฐอเมริกา โลกยุคนี้แบ่งเป็น 2 ฝ่ายเสรีนิยมกับสังคมนิยม
ซึ่งนักศึกษามีความคิดทางด้านสังคมนิยม จึงมีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลไทยในขณะนั้นที่มีนโยบายตาม
สหรัฐอเมริกา (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่นว่าในยุคนี้
มีการส่งเสริมสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดกลุ่มทหารอเมริกัน จากเดิมมีที่กิโลสิบสัตหีบ แต่ไม่สวยงามนักจึงมี
การเปิดพื้นที่เที่ยวแถววงศ์อมาตย์แถวพัทยา แล้วเกิดสถานที่เที่ยวกลางคืน เกิดบาร์เบียร์ และเมียเช่าในช่วงนี้
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564)
หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้สิ้นสุดลง และเข้าสู่ช่วงยุคเผด็จการ
อีกครั้ง แต่กระบวนการที่ฟื้นตัวเร็วที่สุดคือขบวนการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา ตัวอย่างที่ส าคัญ
คือการตั้งการรวมตัวกันของนักศึกษา 15 มหาวิทยาลัย เป็นคณะกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและ
สภาพแวดล้อมจาก 15 สถาบัน โดยตั้งชื่อกลุ่มว่า คอทส. มีบทบาทส าคัญในด้านการเคลื่อนไหวด้าน
สิ่งแวดล้อมในยุคตั้งแต่ พ.ศ.2521 จนถึงปี พ.ศ.2540 กว่า ๆ การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมในยุคนี้ที่โดดเด่น
เช่น เขื่อนน้ าโจนที่จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งจะไปสร้างในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร โทรทัศน์มีบทบาท
8
สูงอย่างมากเลยในยุคนี้ ไม่ว่าสถานีไหนก็ต้องท าข่าวเรื่องนี้ สื่อมวลชนถือเป็นปัจจัยที่ท าให้คนตื่นตัวมากที่สุด
ในยุคนี้ ก่อนหน้านี้สื่อมวลชนสายสิ่งแวดล้อมยังไม่ค่อยมีมากนัก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม
2564) นอกจากนี้ ในช่วงนี้ยังมีนักวิชาการไทย อาจารย์นาท ตัณฑวิรุฬห์ ได้ก่อตั้งคณะสิ่งแวดล้อมและ
9
ทรัพยากรศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลขึ้น โดยเริ่มจากก่อตั้งโครงการขึ้นมาก่อน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์],
10 กุมภาพันธ์ 2564)
ความเสื่อมถอยของทรัพยากรช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฯ ฉบับที่ 5 ก่อนกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
ในช่วงราว พ.ศ.2525-2534 หรือช่วงของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ห้าต่อเนื่องมาจนถึง
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่หก ในรัฐบาลสมัย พลเอกชาติชาย ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติส่งเสริมคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ประเทศไทยยังเน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยน าทรัพยากรไปใช้ทั้งที่ดินและป่าไม้
ถือเป็นช่วงที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถูกใช้เพื่อการพัฒนาในช่วงแผนฯ ก่อนหน้านี้ส่งผลกระทบ
ชัดเจนในช่วงนี้ ซึ่งเกิดจากนโยบายการพัฒนาประเทศในช่วงนี้ด้วย ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า นโยบายที่จะท า
7 ทุกวันนี้ก็คือ ท่าเรือแหลมฉบัง (ผู้ให้สัมภาษณ์)
8 ชนวนเหตุประท้วงเดียวกันกับกรณีนายทหารกับดาราไปล่าสัตว์ ทุ่งใหญ่นเรศวรถือว่ามีประวัติศาสตร์ที่ส าคัญกับ
ด้านสิ่งแวดล้อมมาก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากจนทุกวันนี้ได้เป็นมรดกโลกแห่งแรกของประเทศไทย (ผู้ให้สัมภาษณ์)
9 เป็นโครงการศึกษาและวิจัยสิ่งแวดล้อม (Environmental Education and Research Project) เมื่อวันที่ 26 กันยายน
พ.ศ. 2516 และเป็นคณะฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 โดยเหตุผลการก่อตั้งโครงการฯ เป็นเรื่องการเพิ่มขึ้นของประชากรและปัญหา
สิ่งแวดล้อม เช่น กรณีเรือน้ ามันล่มในอ่าวไทย การล่าสัตว์ป่าที่ทุ่งใหญ่นเรศวร และแม่น้ าแม่กลองเน่า เป็นต้น
44