Page 66 - kpiebook65022
P. 66

ลักษณะการเคลื่อนไหวในช่วงนี้เป็นประเด็นขัดแย้งมากขึ้นคล้ายกับในช่วงที่เริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ
               ฉบับแรก ๆ มีการรวมตัวกันได้ในระดับชาติและกระจายตัวอีกครั้งในภายหลัง โดยพบว่ากระทรวง

               ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้ มีบทบาทร่วมกันกับประชาชน มีสมัชชาองค์กรเรื่องสิ่งแวดล้อม
               ภายใต้กรมส่งเสริมสิ่งแวดล้อมในการจัดงานด้านสิ่งแวดล้อม ท าให้เกิดการรวมตัวของประชาชน ในช่วง
               พ.ศ.2535- 2545 เช่น การเคลื่อนไหวรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิชุมชน พ.ร.บ.ป่าชุมชน การจัดเวทีสิ่งแวดล้อม
               ระดับชาติเรื่องภาวะโลกร้อน ซึ่งภาคประชาชนเป็นตัวขับเคลื่อนหลัก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์],

               29 มกราคม 2564) หลังจากนั้น ก็เริ่มเป็นการเคลื่อนไหวในประเด็นย่อย ๆ แทน โดยกลไกระดับชาติบางอย่าง
               ไม่ได้หายไป ในเชิงวิชาการก็ยังมีการเคลื่อนไหวโดยเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยหรือสื่อมวลชนสายสิ่งแวดล้อม
               ท าให้ความตื่นตัวและความร่วมมือไม่ได้เป็นลักษณะแบบเดิมโดยเป็นการเคลื่อนไหวแบบกระจายไปตามพื้นที่
               เป็นกรณีไป (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์

               2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564) ยกตัวอย่างเช่น ป่าไม้ของชุมชน เหมืองแร่ โรงงาน
               ไฟฟ้าถ่านหินที่แม่เมาะ เป็นต้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564) การเมืองสิ่งแวดล้อมที่
               ต่อเนื่องจากช่วงนี้ ผู้วิจัยได้น าเสนอในส่วนต่อไป



                       4.1.3  การเมืองสิ่งแวดล้อมช่วงรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 จนถึงฉบับ พ.ศ.2560
                       ภาพรวมของการเคลื่อนไหวการเมืองสิ่งแวดล้อมไทยในช่วงนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นช่วงที่

               ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 ที่เรียกได้ว่า เป็นฉบับการมีส่วนร่วมและเป็นฉบับสีเขียว ส่วนหนึ่งมา
               จากการมีส่วนร่วมเพื่อให้รับรองชุมชนที่อยู่มาแต่เดิม ให้สามารถอยู่ต่อในพื้นที่ท ากินเดิม ซึ่งภาคประชาชน
               เคลื่อนไหวเรียกร้องในระดับรัฐสภา จนเป็นที่มาของการที่จะพัฒนาตัวรัฐธรรมนูญฯ ฉบับตั้งแต่ พ.ศ.2540

               ท าให้ประชาชนมีสิทธิเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อ านาจรัฐมากขึ้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์
               2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) ต่อเนื่องมาจนถึงฉบับ พ.ศ. 2550 และ 2560 แต่การ
               เคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชนมีการชะงักงันในช่วงรัฐประหารที่ยาวนานหลัง พ.ศ. 2557 เช่นกัน
               จนน่าจะเป็นเหตุหนึ่งที่ท าให้รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 ประเด็นการมีส่วนร่วมและสิทธิของประชาชนที่
               เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมกลายเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องด าเนินการมากกว่าที่จะเป็นสิทธิของประชาชนโดยตรง


                       หากพิจารณาวิวัฒนาการเคลื่อนไหวการเมืองสิ่งแวดล้อมในช่วงของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540
               ยังพบประเด็นทรัพยากรที่ต่อเนื่อง จากช่วงก่อนหน้านี้เช่นกัน เพียงแต่รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
               ท าให้ภาคประชาชนมีกลไกและช่องทางในการเคลื่อนไหวมากขึ้น ประเด็นทรัพยากรที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึง
               ได้แก่ ทรัพยากร พลังงาน การเกษตร และยุติธรรมสิ่งแวดล้อม โดยพบการเคลื่อนไหวทรัพยากรเป็นเรื่องของ

               ทรัพยากรน้ า ทรัพยากรทางทะเล สิทธิที่ดินท ากินในเขตป่าไม้ และทรัพยากรแร่ ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ในช่วง
               ปี พ.ศ. 2540 มีประเด็นเยอะแต่ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรทางด้านน้ า ที่มีลักษณะรวมศูนย์
               อ านาจไว้ที่รัฐ แล้วท าให้น้ ากลายเป็นสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออก น้ าถูกท าให้กลายเป็นสินค้า
               เพื่อใช้ในการเติบโตทางอุตสาหกรรม มีประเด็นการสร้างเขื่อนซึ่งยังมีความขัดแย้งเพื่อให้มีการจัดท า

               ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรือ EIA อย่างรอบด้าน เช่น กรณี คุณศศิน เฉลิมลาภ มีการเดินขบวนประท้วง
               EHIA ของเขื่อนแม่วงก์ เป็นตัวอย่างให้เห็นว่าโครงการขนาดใหญ่จะมีการประท้วงรัฐเป็นกลไกหนึ่งของการมี
               ส่วนร่วม เพราะการท า EIA และ EHIA จัดขึ้นครั้งใดมักเกิดความขัดแย้งเมื่อนั้น

                       ผู้ให้สัมภาษณ์ยังเพิ่มเติม กรณีการเคลื่อนไหวในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลและชายฝั่ง
               ที่ค่อนข้างเป็นกรณีทรัพยากรที่พบเห็นกรณีเหล่านี้ช้ากว่าทรัพยากรประเภทอื่น โดยมีการเคลื่อนไหวเนื่องจาก



                                                            53
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71