Page 70 - kpiebook65022
P. 70
ประชาชนอย่างเห็นได้ชัด ด้วยกลไกค าสั่งมาตรา 44 ตามรัฐธรรมนูญฯ ชั่วคราว พ.ศ.2557 ท าให้มีประกาศ
หรือค าสั่ง คสช. ออกมาจ านวนมาก ประกาศเหล่านี้เป็นผลให้การขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมมีข้อจ ากัดและต้อง
หยุดชะงักอย่างชัดเจน รวมถึงมีกลไกที่เข้าไปควบคุมจนถึงความมั่นคงในระดับจังหวัดท าให้การขับเคลื่อนของ
ชุมชนด้านสิ่งแวดล้อมต่างมีข้อจ ากัดมาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 1
[สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564) ยกตัวอย่างเช่น ค าสั่งหัวหน้า คสช. 4/2559 เรื่องโรงไฟฟ้าและโรงงานการ
จัดการขยะ ยกเว้นการบังคับใช้ผังเมืองกับโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้า ท าให้ผังเมืองเดิมที่เกิดจาก
ข้อตกลงของชุมชนและเป็นไปตามหลักผังเมืองถูกเปลี่ยนไป ผลจากการยกเว้นท าให้สามารถสร้างโรงไฟฟ้าซึ่ง
อาจเกิดผลกระทบต่อชุมชนและยังเป็นปัญหาต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 - 2564 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์],
25 กุมภาพันธ์ 2564) สอดคล้องกับท่านอื่นกล่าวว่า การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมช่วงของรัฐประหารท าให้
สถานการณ์แย่ลง เพราะมีการยกเว้นบางเรื่องไม่ต้องท า EIA และ EHIA ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตการ
ใช้พื้นที่ที่ไม่ได้มีความศักดิ์สิทธิ์ตามกฎหมายผังเมือง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
ส าหรับประเด็นความยั่งยืน พบว่า ในช่วงรัฐประหารหลังปี พ.ศ.2557 การลงทุนทางเศรษฐกิจยิ่งเปิด
มากขึ้น ยุคก่อนหน้านี้นโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทยมีลักษณะน าประเด็นสิ่งแวดล้อมเสมอ ดังผู้ให้สัมภาษณ์
กล่าวว่า ตั้งแต่ยุคคุณทักษิณจนถึงยุค คสช. ได้มีการประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนขึ้น ท าให้มีกลุ่ม
ชาวบ้านท าการประท้วงหลังจากถูกอพยพจากพื้นที่ที่ถูกประกาศเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนขึ้นมาที่แม่
สอด หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่มีการแก้กฎหมายให้ต่างชาติเช่าที่ดินได้รวมทั้งหมด 99 ปี
ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเคลื่อนไหวในยุคของเสรีนิยมใหม่ ที่รัฐไทยน าแนวคิดแบบเสรีนิยมแบบใหม่
เข้ามาจึงไม่ใช่เพียงการเคลื่อนไหวเรื่องสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นเท่านั้น แต่เชื่อมโยงกับทุนนิยมโลกด้วย
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
ความต่อเนื่องของการเน้นพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงยุคนี้ยังคงขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนใน
การตัดสินใจต่อการก าหนดการใช้พื้นที่ซึ่งจะท าให้การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนยังเป็นไปในลักษณะ
ขัดแย้งกับภาครัฐ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า การก าหนดการใช้ทรัพยากรยังขาดการมีส่วนร่วมจากกลุ่มราก
หญ้า จึงไม่มีหลักประกันว่ายุติความขัดแย้ง เพราะทิศทางการพัฒนาประเทศไทยสนับสนุนให้มีการลงทุน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุครัฐบาลทหาร เช่น กรณีการขุดคอคอดกระที่มีการยุติแถวบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เปลี่ยนเป็นแถวคลองไทยบริเวณจังหวัดตรังหรือนครศรีธรรมราช ซึ่งการขยายตัวโลจิสติกส์ทางทะเลที่เปิด
ผลประโยชน์ให้กับประเทศจีนอาจเป็นปัญหาความสัมพันธ์กับอเมริกาในเรื่องของการเแย่งชิง การดูแล และ
การได้รับประโยชน์จากกรณีนี้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) การมุ่งมั่นพัฒนาเศรษฐกิจ
ของรัฐ ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่นเห็นคล้องกันว่าอาจไม่สอดคล้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกล่าวว่า สิ่งที่ภาครัฐ
ท านั้นอาจไม่เป็นตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งเรื่องโครงการโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ภาคใต้มีความยั่งยืน
เพียงใด การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกหรือ EEC ก็ถูกตั้งค าถามเรื่องของการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบ
SDGs (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
ต่อมาช่วงหลังรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 พบว่า ประเด็นเรื่องทรัพยากรป่าไม้และทรัพยากรน้ าได้รับการ
กล่าวถึงอีกครั้งหนึ่งจากผู้ให้สัมภาษณ์ เนื่องจากมีการออกและแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพบประเด็น
ยุติธรรมสิ่งแวดล้อมด้วย ประเด็นทรัพยากรป่าไม้ มีการออกกฎหมายว่าด้วยเรื่องป่าไม้และป่าชุมชนที่ได้มีการ
ต่อสู้มาอย่างยาวนาน ในส่วนของกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้มีการออกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
พ.ศ.2562 จากเดิมพระราชบัญญัติอุทยาน พ.ศ.2504 เน้นป่าไม้เท่านั้น แต่ฉบับล่าสุดมีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับ
การอนุญาตให้คนใช้ประโยชน์จากป่าและอยู่อาศัยในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ได้ จากเดิมไม่เคยมีประเด็นเหล่านี้
57