Page 71 - kpiebook65022
P. 71

(ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564) หรือปลดล็อคการตัดไม้หวงห้ามในที่ดินกรรมสิทธิ์ของตน
               ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ ในมาตรา 7 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) สอดคล้องกับผู้ให้

               สัมภาษณ์ท่านอื่นที่เห็นว่ากฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ฉบับใหม่มีประเด็นเรื่องของอนุรักษ์โดยคนอยู่ร่วมกับป่าได้
               โดยกล่าวว่าช่วงปี พ.ศ.2562 พ.ร.บ.สงวนฯ พ.ศ.2562 และ พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562 เป็นมิติใหม่ของเรื่อง
               งานอนุรักษ์ที่น าชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการดูแลจัดการ อย่างไรก็ดี ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า พ.ร.บ.
               ป่าชุมชนที่ออกมานี้ฝ่ายรัฐบาลเป็นผู้ผลักดันมากกว่า จึงยังมีแนวคิดในมิติของทางรัฐค่อนข้างมาก อีกทั้ง

               ยังแทบไม่มีความหมายเพราะภาคประชาชนผลักดันกฎหมายฉบับนี้มานาน จนกระทั่งเขาเริ่มรู้สึกว่าไม่สนใจเรื่อง
               กฎหมายนี้และจัดการกันเองได้โดยไม่ต้องมาเข้าร่วมขบวน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)

                       ส าหรับประเด็นทรัพยากรน้ า มีความพยายามบูรณาการหน่วยงานภาครัฐด้วยการออกพระราชบัญญัติ
               ทรัพยากรน้ าแห่งชาติ พ.ศ. 2561 สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ า 20 ปี เพื่อแก้ไขปัญหา
               ปัญหาน้ าท่วมหรือภัยแล้งซ้ าซาก ตลอดจนปัญหาทรัพยากรน้ าเชิงพื้นที่ ช่วยลดความซ้ าซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพ

               การใช้จ่ายงบประมาณเพราะสามารถก าหนดขนาดของการพัฒน าโครงการต่าง ๆ
               ให้เหมาะสม ตามล าดับความส าคัญของพื้นที่ โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า กฎหมายนี้จะช่วยให้ประเทศไทย
               สามารถแก้ไขปัญหาทรัพยากรน้ าอย่างยั่งยืนได้เพราะช่วยเพิ่มความเป็นเอกภาพและการมีส่วนร่วมจาก
                              16
               ประชาชนมากขึ้น  (ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 [สัมภาษณ์], 31 พฤษภาคม 2564)
                       ส าหรับประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อมในช่วง พ.ศ.2560 เป็นต้นมา มีความเกี่ยวพันกับเรื่องสิทธิและการ

               มีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 โดยสิทธิและการมีส่วนร่วมในประเด็นสิ่งแวดล้อมของ
               ภาคประชาชนถูกเขียนไว้ในหมวดว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ สะท้อนว่าประชาชนท าหน้าที่เพียงเข้ามีส่วนร่วมใน
               กิจกรรมที่รัฐจัดแต่ไม่ได้มีส่วนร่วมในฐานะเป็นเจ้าของทรัพยากร ช่องทางการมีส่วนร่วมมีความยุ่งยากมากขึ้นด้วย

               โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า มาตรา 67 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 เกี่ยวกับสิทธิและการมีส่วนร่วมของ
                        17
               ประชาชน  ถูกย้ายไปอยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐในรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2560 ซึ่งการท าหน้าที่ของรัฐยังไปผูกโยง
               กับขั้นตอนการเรียกร้องสิทธิ ประชาชนต้องไปร้องต่อหน่วยงาน ผ่านผู้ตรวจการ ผ่านคณะรัฐมนตรี ไปสู่ศาล
               รัฐธรรมนูญ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกลไกที่มีเงื่อนไขซับซ้อนและยุ่งยาก ต่างจากสิทธิใน
               รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 ที่รับรองและชาวบ้านสามารถอ้างสิทธิและมีส่วนร่วมกับรัฐได้เลย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1

               [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564)





               16  ช่วงก่อนการตราพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ า พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับปัญหาทรัพยากรน้ ามากมาย
               หลายด้าน ซึ่งได้รับการแก้ไขจากหน่วยงานมากกว่า 40 หน่วยงาน จึงขาดเอกภาพและการมีส่วนร่วมจากประชาชน
               พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ า พ.ศ. 2561 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561 และมีผลบังคับใช้
               ในวันที่ 27 มกราคม 2562 เป็นกฎหมายที่ถูกตราขึ้นเพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ า ทั้งมิติด้านการจัดสรร การใช้ การ
               พัฒนา การบริหารจัดการ การบ ารุงรักษา การฟื้นฟู การอนุรักษ์ และสิทธิในน้ ามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมาตรา 17
               และ 18 ก าหนดให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ าแห่งชาติ (กนช.) จัดท านโยบายและแผนแม่บทเกี่ยวกับการบริหารจัดการ
               ทรัพยากรน้ าที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (ผู้ให้สัมภาษณ์)
               17  สิทธิที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐในการอนุรักษ์ รักษา และได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติฯ สิทธิได้รับส่งเสริมและรักษา
               คุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ด ารงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องย่อมได้รับความคุ้มครอง การด าเนินโครงการหรือกิจกรรมที่
               อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ จะกระท า
               มิได้เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบฯ และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนและผู้มีส่วนได้
               เสียก่อน (สรุปย่อจาก ม.67 รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 โดยผู้วิจัย)


                                                            58
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76