Page 76 - kpiebook65022
P. 76
ของชุมชนในการดูแลทรัพยากรในพื้นที่ของตนเองได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ป่า (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์],
10 กุมภาพันธ์ 2564)
ประเด็นทรัพยากรน้ า พบความส าเร็จในเรื่องของการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ที่ลดลง และความส าเร็จใน
การตรากฎหมายกลางเกี่ยวกับทรัพยากรน้ า ที่จะช่วยท าให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนและบูรณาการการ
จัดการน้ าระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดีขึ้น โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ในอดีตการสร้างเขื่อนที่มีประเด็น
อย่างเขื่อนน้ าโจนหรือเขื่อนปากมูลท าให้เห็นการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนเพื่อให้ได้ทรัพยากรน้ า
แต่นับตั้งแต่กรณีเขื่อนปากมูลเป็นต้นมา เขื่อนขนาดใหญ่ในประเทศไทยยังไม่สามารถสร้างได้อีกเลย เพราะ
การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนที่เข้มแข็ง ตัวอย่างที่ชัดเจน คือ แม่น้ ายมเป็นแม่น้ าสายยาวสายเดียวที่ยังไม่
มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งภาครัฐ ธนาคารโลก และนักการเมืองท้องถิ่นต่างต้องการให้เขื่อนเกิดขึ้น แต่ยัง
ไม่สามารถสร้างได้ เพราะการเคลื่อนไหวคัดค้านสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นของประชาชนกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีการ
เคลื่อนไหวเป็นเวลากว่า 30 ปี (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 10
[สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
ส าหรับความส าเร็จด้านการตรากฎหมายด้านทรัพยากรน้ า ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้การ
บริหารจัดการน้ าระหว่างหน่วยงานค่อนข้างแยกส่วน และบางครั้งขาดการมีส่วนร่วมจากประชาชน การตรา
พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ าแห่งชาติ พ.ศ.2561 ซึ่งใช้ระยะเวลายาวนานกว่า 25 ปี กฎหมายนี้จะท าให้หน่วยงานได้
บูรณาการกันมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาน้ าท่วม น้ าแล้ง น้ าเสียอย่างยั่งยืน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 [สัมภาษณ์],
31 พฤษภาคม 2564)
ประเด็นทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า มีความส าเร็จเรื่องการจัดการที่ดีของภาคเอกชน
อันเกิดจากการท าข้อตกลงร่วมกัน และการก าหนดทิศทางการพัฒนาของพื้นที่บริเวณใกล้เคียงทรัพยากรทาง
ทะเลและชายฝั่ง ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงธรรมนูญชุมชนอ่าวอุดมว่า มีประสิทธิภาพในหลายเรื่อง เช่น ท าให้
เกิดแนวทางฝังท่อใต้ทะเลใหม่ จากเดิมฝังให้จมน้ าแล้วก็ติดอยู่กับพื้นทราย แต่เมื่อมีธรรมนูญแล้วท าให้เกิด
ข้อตกลงกันว่าต้องขุดพื้นทรายแบบพ่นแล้วน าท่อฝังลงไป จนกลายเป็นมาตรฐานของอ่าวอุดมที่การวางท่อต้อง
ฝังไว้ใต้ของใต้ทะเลที่ความลึก 1.20 – 1.50 เมตร ป้องกันปัญหาทิ้งสมอเรือแล้วโดนท่อ เนื่องจาก เคยมี
เหตุการณ์ทิ้งสมอเรือแล้วเรือหยุดไม่ได้จนพื้นทะเลพัง หากมีท่ออยู่บริเวณนั้นจะเกิดปัญหาได้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5
[สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564)
ตัวอย่างการก าหนดทิศทางพัฒนา ในพื้นที่จังหวัดตราดที่มีปัญหาเรื่องการจับสัตว์น้ าชายฝั่ง
ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ แต่เลี่ยงการพูดถึงปัญหา แต่ให้คนทั้งอ่าวมาช่วยกันประกาศให้อ่าวตราดเป็นอ่าวทองค า
ท าให้มีวิสัยทัศน์ร่วมกันในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของอ่าวตราด มีการปรึกษาหารือ
ท าข้อตกลงเลิกกินเนื้อโลมา การช่วยกันดูแลเขตทะเลและอนุรักษ์ฟื้นฟู และช่วยกันเฝ้าระวังหากมีการใช้
เครื่องมือที่ไม่เหมาะสม กรณีนี้ถือว่าเป็นความส าเร็จในเบื้องต้นเพราะปัญหาลดลงและเป็นความร่วมมือกัน
ของทั้ง 11 ต าบล (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
63