Page 81 - kpiebook65022
P. 81

ไม่ใช้สารเคมีในการเกษตรเลยนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ในประเทศไทยยังไม่สามารถท าได้แบบนั้น จึงต้องสร้างพื้นที่
               ความเข้าใจระหว่างสองกลุ่มนี้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564)

                            การสร้างพื้นที่กลางร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ ที่ยังเป็นอุปสรรคอยู่นี้ ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า

               แต่ละภาคส่วนสามารถเห็นต่างกันได้ เพียงแต่บางทางออกอาจต้องยอมรับซึ่งกันและกัน ดังกล่าวว่า คนเรา
               สามารถเห็นต่างกันได้ แต่การพูดคุยในประเทศไทยท าให้แต่ละภาคส่วนต้องคุยกันในแบบที่ต้องเลือกทางใด
               ทางหนึ่ง ซึ่งการเลือกแบบนี้จะท าให้เกิดความขัดแย้ง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564)
               สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่นว่า การพูดคุยในพื้นที่กลางร่วมกันไม่จ าเป็นต้องท าความเข้าใจกันที่เต็ม

               100 เปอร์เซ็นต์ แต่ควรมีพื้นที่ที่จะท าให้เกิดการท าฉันทามติร่วมกันว่า การพัฒนาจะไปในทิศทางใด
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564)


                            4.3.1.2 อุปสรรคด้านหน่วยงานภาครัฐ

                            อุปสรรคด้านหน่วยงานภาครัฐ พบว่า เป็นปัญหาด้านนโยบายและกฎหมาย การขาดมาตรการ
               สู่การปฏิบัติจริง ความจริงจังในการแก้ไขปัญหา และการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน

                            อุปสรรคด้านนโยบายและกฎหมาย

                            เป็นปัญหาที่ผู้วิจัยพบว่า เป็นอุปสรรคส าคัญ เพราะก าหนดทิศทางการพัฒนาตลอดจนกรอบ

               แนวทางปฏิบัติของหน่วยงานรัฐ แต่กลับพบข้อจ ากัดทั้งในเชิงนโยบาย และมาตรการยังไม่มีความชัดเจน
               โน้มเอียงไปในทางเศรษฐกิจเพราะขาดมุมมองการพัฒนาแบบยั่งยืน นโยบายของหน่วยงานรัฐที่แยกส่วนและ
               แตกต่างกัน ยังท าให้การเคลื่อนไหวนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืนหยุดชะงัก ในเชิงกฎหมาย

               ด้านสิ่งแวดล้อมเองก็ยังขาดกฎหมายที่จ าเป็นและมีบางฉบับที่มีความล้าสมัย จึงท าให้ไม่สามารถปฏิบัติงานได้จริง
               นอกจากนี้ ระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมยังมีลักษณะจ ากัดสิทธิเสรีภาพ และการมี
               ส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนการกระจายอ านาจอีกด้วย ดังรายละเอียดต่อไปนี้

                            ในเชิงนโยบายและเจตจ านงทางการเมือง พบว่า ยังขาดความต่อเนื่องของนโยบายและ
               มาตรการไปสู่การปฏิบัติ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า เมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลหรือผู้บริหารบ่อย ท าให้นโยบาย

               เปลี่ยนอยู่ตลอด เมื่อนโยบายเปลี่ยนการจัดการและทุกสิ่งที่เคยด าเนินการมาก็ต้องหยุดชะงัก นโยบายและ
               การจัดการก็จะไม่มีความต่อเนื่อง อย่างเช่นเรื่องของโฉนดชุมชน ซึ่งจะไม่ได้รับการกล่าวถึงหากมีการเปลี่ยน
               ผู้บริหารใหม่ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)

                            ตัวอย่าง นโยบายการให้สิทธิในที่ดินท ากินของรัฐบาลแต่ละสมัย ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า สมัยปี
               พ.ศ.2518 มีการลงมติเรื่องที่ดินครั้งแรก และให้มีการพิสูจน์สิทธิในที่ดินตามบันได 3 ขั้น แต่ขณะนั้นยังไม่มี

               ภาพถ่ายทางอากาศ ท าให้การพิสูจน์สิทธิเป็นไปได้ยาก จนมาถึงมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2541
               เป็นมติเรื่องที่ดินว่าผู้ที่อยู่มาก่อนหน้ามตินี้สามารถอยู่ต่อได้ แต่หากอยู่หลังมตินี้ต้องมาพิสูจน์สิทธิ ตามมตินี้
               มีการใช้ภาพถ่ายในปี พ.ศ.2545 มาเป็นเกณฑ์ตัดสินจากภาพถ่ายว่าใครมีร่องรอยการท ามาหากินถือว่าอยู่มา
               ก่อนปี พ.ศ.2541 ถ้าไม่มีร่องรอยท ามาหากินและมาบุกรุกภายหลัง ถือว่ารุกล้ าและต้องถูกด าเนินคดี

               แต่ด าเนินการยังไม่เสร็จสิ้นดีตามมตินี้ รัฐบาล คสช.เข้ามาและมีนโยบายขยายมาจนถึงปี พ.ศ.2557 ที่ให้คนอยู่
               ก่อนปี พ.ศ.2557 สามารถจะอยู่ท ากินไปก่อนได้ แล้วรอนโยบายเกี่ยวกับที่ดินจากทางภาครัฐ แต่หากเข้ามาอยู่
               หลังปี พ.ศ.2557 จะต้องถูกจับด าเนินคดีซึ่งนโยบายรัฐบาลแต่ละช่วงแตกต่างกัน กรณีนี้นโยบายมีการผ่อนผันไป





                                                            68
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86