Page 82 - kpiebook65022
P. 82
เรื่อยจากปี พ.ศ.2518 จนถึงปี พ.ศ.2541 และขยายเป็นปี พ.ศ.2557 ที่ผ่านมาพื้นที่ป่าไม้จึงหายไปเรื่อย ๆ
เพราะนโยบายไม่ต่อเนื่อง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
ข้อค้นพบจากการสัมภาษณ์ในเรื่องความต่อเนื่องของนโยบาย ยังมีข้อค้นพบเพิ่มเติมว่า ส่งผล
ต่อการเคลื่อนไหวที่หยุดชะงักของภาคประชาชนด้วย แม้สิ่งที่เคยขับเคลื่อนมาแล้วจะมีความเป็นรูปธรรมก็ตาม
โดยกล่าวว่า การเมืองสิ่งแวดล้อมที่มีปัญหามากที่สุดก็คือ เรื่องนโยบาย ภาครัฐมีปัญหาเรื่องการบังคับใช้
กฎหมาย หรือตัวกฎหมายเองที่มีปัญหาอยู่ในระดับหนึ่ง แต่นโยบายท าให้ปัญหาเดิมที่มีอยู่แล้ว ยิ่งซ้ าหนักขึ้น
เช่น ปัจจุบันก าลังมีการร่าง พ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษของภาคใต้ที่ครอบคลุม 5 จังหวัด ซึ่งจะท าให้มีนิคม
อุตสาหกรรมเต็มไปหมด และมีการขุดคลองไทยเชื่อม 2 ฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย นโยบายนี้จะท าให้
มาตรการสิ่งแวดล้อมที่ท ากันมาไม่ว่าจะโดยกลุ่มไหนหรือใช้เวลากี่ปีก็ตามต้องจบลง ขณะนี้ ร่าง พ.ร.บ.ฯ ก าลัง
อยู่ในรัฐสภาโดยมี 3 ร่าง ซึ่งในร่างนั้นให้อ านาจในการยกเลิกกฎหมายทุกอย่าง ทั้งกฎหมายสิ่งแวดล้อม
กฎหมายถือครอง กฎหมายผังเมืองท าให้ที่ดินสามารถเปลี่ยนแปลงได้ กฎหมายเกี่ยวกับทะเลก็สามารถยกเลิก
ได้หมด ฯลฯ ฉะนั้น ต่อให้การเคลื่อนไหวด้านพัฒนาในภาคใต้ท ามานานสักเพียงใด เมื่อเจอกฎหมายฉบับนี้ก็
จบเหมือนกับกรณี EEC เพราะกฎหมายนี้ค่อนข้างรวบอ านาจ (ภาคใต้ [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564)
กรณีเช่นนี้ สอดคล้องกับข้อคิดเห็นจากการสนทนากลุ่มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยเช่นกัน
ว่า นโยบายหรือความต้องการพัฒนาของรัฐบาลในแต่ละช่วง สามารถมีผลหักล้างการเคลื่อนไหวหรือ
กระบวนการมีส่วนร่วมได้ โดยกล่าวว่า เคยมีประเด็นจะให้ยกเลิก EIA ในยุคสมัยหนึ่ง หลังจากเหตุการณ์
น้ าท่วมใหญ่ มีความต้องการยกเลิกการท า EIA ส าหรับพื้นที่ชุ่มน้ าระดับนานาชาติ ขณะนั้นมีการถกเถียง
ประเด็นนี้เป็นอย่างมาก แต่ฝ่ายการเมืองฟันธงว่า EIA ไม่ต้องท าในพื้นที่ชุ่มน้ าก็ได้จึงมีการผ่อนผันไป แต่ไม่
ทราบแล้วว่าผ่อนผันถึงเพียงใด (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564)
ในเชิงการถ่ายทอดนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ภาครัฐมีอุปสรรคในการเรื่องมาตรการหรือกลไก
ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า หากพิจารณานโยบายด้านการพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ ดิน น้ า ป่าไม้
ก็เห็นว่าเป็นเอกสารในเชิงนโยบายของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ดูดี แต่สิ่งที่เป็นปัญหาคือ
มาตรการที่ยังไม่เป็นรูปธรรมและไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนต่อปี (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
หรือกรณีการบูรณาการมิติการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ที่ท าได้ระดับองค์กรจัดท าแผนมีการน าเรื่อง
ทรัพยากร โลกร้อน การเยียวยา การส่งเสริมให้คนอนุรักษ์ ใส่ใจมิติหญิงชาย ฯลฯ ค าเหล่านี้ถูกบรรจุในแผน
ของหน่วยงานต่าง ๆ แต่ไม่มีมาตรการรับรองเพื่อเกิดขึ้นจริง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
นอกจากนี้ ภาครัฐยังขาดการประกาศเป็นเจตจ านงทางการเมืองเพื่อให้ทุกภาคส่วนเห็น
ความส าคัญในกรณีเร่งด่วน ยกตัวอย่างประเด็นอากาศพิษ ที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า เรื่องมลพิษทางอากาศมีทุก
อย่างพร้อมหมดแล้ว แต่ต้องอาศัยเจตจ านงทางการเมือง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564)
ขณะเดียวกัน นอกจากอุปสรรคระดับนโยบายของประเทศแล้ว ในระดับหน่วยงาน ยังพบ
อุปสรรคเรื่องนโยบายของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความแตกต่างกัน ดังตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึง
นโยบายด้านป่าไม้และที่ดินว่า ปัญหางานป่าไม้เป็นเรื่องของนโยบายและการบังคับใช้กฎหมายเป็นหลักที่ไม่
สามารถท าได้เต็มที่ โดยเฉพาะในเรื่องของนโยบายที่ดินที่เป็นปัญหาใหญ่และเรื้อรังมานาน เพราะนโยบาย
ที่ดินของแต่ละหน่วยงานต่างกัน ซึ่งจะต่อเนื่องไปถึงการบังคับใช้กฎหมายเพราะแต่ละหน่วยงานมีกฎหมาย
ของตนเองในการบังคับใช้ เช่น เรื่องของกฎหมายเกี่ยวกับที่ดินมีหลายหน่วยงานทั้งกรมป่าไม้ กรมอุทยาน
กรมที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน ส.ป.ก. และที่ดินประเภทอื่น ของกรมพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ
69