Page 77 - kpiebook65022
P. 77

4.2.4  เกษตรกรรม

                       ประเด็นเกษตรกรรม พบว่า มีแนวโน้มการท าเกษตรอินทรีย์และการเกษตรแบบผสมผสานมากขึ้น
               ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจในแบบพอเพียง โดยผู้ให้สัมภาษณ์ กล่าวว่า

               มีความส าเร็จในเรื่องของการท าเกษตรอินทรีย์ที่ขยายตัวเยอะมากในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 8 แล้ว
               ก็หายไปและกลับมาใหม่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564)
               สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณ์อีกท่านหนึ่งว่า การที่เขาใช้ทรัพยากรในรูปแบบการถางและเผา การปลูกพืช
               เชิงเดี่ยว และการใช้สารเคมีในการก าจัดวัชพืช ของเกษตรกรเปลี่ยนไปเมื่อเขาได้รับรู้ถึงแนวคิดเกษตรแบบใหม่

               ที่มีการปลูกพืชแบบผสมผสาน ซึ่งน่าจะเป็นรูปแบบในอนาคตที่ยอมรับทั่วโลกคือการปลูกเลียนแบบธรรมชาติ
               เป็นระบบผสมผสานและลดความเสี่ยง ที่ส าคัญก็คือระบบนิเวศดีท าให้หมุนเวียนธาตุอาหาร เกิดความสมดุล
               และยั่งยืน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564)


                       4.2.5 ความยั่งยืน

                       ประเด็นความยั่งยืน เป็นการพยายามมีส่วนร่วมเสนอทิศทางการพัฒนาพื้นที่ของภาคประชาสังคม

               รวมถึงมีความพยายามผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งมีการริเริ่มโดยหน่วยงานภาครัฐ แต่ต้องมีการติดตามการ
               ด าเนินงานต่อไป ยกตัวอย่างผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่ารัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนในการแสดงออกและมีส่วนร่วม
               ในกระบวนการการเมืองที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เช่น กรณีจังหวัดประจวบที่ประท้วงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

               ภายหลังการคัดค้านส าเร็จ แต่กลุ่มขับเคลื่อนยังด าเนินการต่อโดยท างานร่วมกับเครือข่ายพื้นที่ในระดับจังหวัด
               เพื่อเสนอแผนพัฒนาจังหวัดของตนเอง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564) สอดคล้องกับผู้ให้
               สัมภาษณ์ท่านอื่นว่า พบเห็นกรณีการท่องเที่ยวสีเขียวที่จังหวัดพังงา มีการท าผังเมืองเป็นแบบล่างขึ้นบนไปยัง
               กรมโยธาธิการและผังเมือง จัดท าโดยภาคประชาชนภาคใต้ใน 8 จังหวัด (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์],
               29 มกราคม 2564)


                       ส าหรับประเด็นการผลักดันเศรษฐกิจหมุนเวียนผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่าเป็นกรณีที่ประสบความส าเร็จ
               ซึ่งสอดคล้องต่อประเด็นความยั่งยืน ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ประเทศไทยจัดท าแผนเรียกว่า “BCG” ที่เป็นไป
               ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ย่อมาจาก Bio economy (เศรษฐกิจชีวภาพ) Circular economy (เศรษฐกิจ
               หมุนเวียน) และ  Green economy (เศรษฐกิจสีเขียว) เพื่อบูรณาการการขับเคลื่อนประเทศไทย ยกตัวอย่าง
               กรณีการท าเกษตร การปลูกข้าวไทยใช้แรงงานงานเยอะและใช้ทรัพยากรมาก อีกทั้งมีอัตราการปล่อยก๊าซ

               เรือนกระจกที่สูง ท าให้ประเทศไทยต้องมีการวิจัยการปลูกข้าวที่สลับระบบระหว่าง ระบบเปียก และระบบแห้ง
               เพราะปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ในปริมาณน้อยและได้ผลผลิตสูงขึ้น ซึ่งการขับเคลื่อน BCG มีการตั้ง
               คณะกรรมการ 3 ระดับ ได้แก่ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการขับเคลื่อน และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ

               11 ชุด และมีสมัชชาของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชน และประชาสังคม ยกตัวอย่างคณะอนุกรรมการ
               เศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ประกอบด้วยหลายภาคส่วนซึ่งมีการขับเคลื่อนเรื่องพลาสติก ขยะอาหาร และวัสดุ
               ก่อสร้าง อย่างกรณีอุตสาหกรรมฟอกหนังและพลาสติกว่าจะใช้อะไรทดแทน และท าอย่างไรให้เกิดของเสีย
               น้อยที่สุด รวมทั้ง จะน าของเสียกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อลดการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบจากการ

               เปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้อย่างไร กรรมการชุดนี้จะเข้ามาพิจารณาว่า การขับเคลื่อนนี้มีปัญหาอุปสรรค
               อะไรบ้าง แก้ไขได้อย่างไร เช่น กรณีพลาสติกรีไซเคิล ของเสียจากอีกโรงงานหนึ่งจะน าไปใช้เป็นวัตถุดิบอีก
               โรงงานหนึ่งไม่ได้ เพราะถือเป็นของเสียที่ต้องจัดการ หรือบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้บรรจุเครื่องดื่ม ส านักงาน
               คณะกรรมการอาหารและยามีข้อก าหนดห้ามใช้พลาสติกรีไซเคิลเป็นองค์ประกอบในการผลิตขวดน้ าดื่ม



                                                            64
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82