Page 79 - kpiebook65022
P. 79

เศรษฐศาสตร์อย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะมิติทางด้านสุขภาวะที่เป็นองค์รวมก็เป็นเรื่องที่ส าคัญ หรือการ
               ปลดปล่อยสารพิษจากโรงงาน ที่บอกว่าไม่เกินมาตรฐานตามกฎหมาย ในแง่ของร่างกายรับได้ตามมาตรฐานแต่

               การรับสารพิษเข้าร่างกายทุกวันชีวิตจะเป็นอย่างไร การประเมินแบบนี้ไม่ได้สุขภาพแบบองค์รวมที่ควรจะมี
               ร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)

                            ส าหรับมุมมองการพัฒนาของภาคเอกชนและประชาชนที่เป็นอุปสรรค ยังมีมุมมองที่เน้นเชิง
               เศรษฐกิจหรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าผลกระทบที่อาจเกิดกับส่วนรวมเช่นกัน ดังตัวอย่างเช่น
               ภาคการเกษตร การควบคุมสารพิษที่เกิดขึ้นไม่ได้ เพราะยังมีการใช้พาราควอตหรือสารเคมีทางการเกษตรอื่น ๆ ที่

               หลายประเทศเขาเลิกใช้ไปแล้ว (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) หรือการปลดปล่อยมลพิษ
               ท าให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมโดยเอกชนบางราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง
               ไม่จริงจัง ก็จะเห็นผู้ประกอบการที่สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์],
               7 พฤษภาคม 2564) หรือแม้กระทั่งการให้ความส าคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมไม่เท่ากัน เช่น การให้

               ความส าคัญกับเรื่องป่าไม้ หากมีการสร้างเขื่อนในเขตอุทยานหรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สังคมและสื่อมวลชน
               จะช่วยกัน แต่กรณีเขื่อนปากมูลจะไม่ได้รับความส าคัญมากนัก เพราะการสร้างเขื่อนปากมูลไม่กระทบป่า หรือ
               จิตส านึกของคนในเรื่องสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวอย่างขยะ ประเทศไทยมีค่าด าเนินการในการเก็บขยะที่ราคาถูกมาก

               จนคนไม่ค่อยให้ความส าคัญ ในขณะที่ประเทศอื่นหากทิ้งขยะมากก็จะมีค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นตาม ถือเป็นปัญหา
               เรื่องค่านิยมและทัศนคติในประเทศไทยที่ต้องมีการปรับกันอย่างมาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์],
               6 พฤษภาคม 2564)

                            ในส่วนของระบบข้อมูลและองค์ความรู้ พบว่า การเมืองสิ่งแวดล้อมที่จะน าไปสู่ความยั่งยืนใน
               ประเทศไทยนั้น ยังขาดระบบการสร้างข้อมูลเพื่อจัดการสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขาดองค์

               ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมบางเรื่องเพียงพอ หรือมีองค์ความรู้ที่ใช้อ้างอิงต่างกัน และเมื่อน าไปใช้ก็ไม่ยอมรับข้อมูล
               ของผู้อื่น ยกตัวอย่าง ปัญหาระบบข้อมูลที่มีผลต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ในกรณี
               ตรวจสอบเกี่ยวกับที่ดินนั้น ไม่มีข้อมูลที่พร้อมตรวจสอบว่าคนคนหนึ่งมีที่ดินอยู่ที่อื่นอีกจริงหรือไม่ การใช้ข้อมูล
               จากเลขบัตรประชาชน 13 หลัก อาจตรวจสอบได้ในระดับหนึ่ง เพราะบางครั้งที่ดินนั้นอาจมีชื่อของคนอื่นเป็น
               เจ้าของซึ่งพิสูจน์ได้ยาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)


                            ตัวอย่างกรณีการลดการใช้สารเคมีการเกษตร ที่แม้มีการท าเรื่องเกษตรอินทรีย์มากขึ้น แต่การ
               จัดการปัญหาสารเคมีทางการเกษตรในประเทศก็ไม่ได้ดีขึ้น อาจเป็นเพราะเรื่องของสารเคมีทางการเกษตรใน
               ประเทศไทยมีลักษณะแยกขั้ว ระหว่างเกษตรอินทรีย์ กับเกษตรที่ใช้สารเคมี ท าให้ขั้วองค์ความรู้ด้านการใช้
               สารเคมีที่ถูกต้องเหมาะสมไม่พัฒนามากนัก จนขัดแย้งระหว่างสองขั้วความคิด (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์],

               3 เมษายน 2564)

                            กรณีหมอกควันพิษจากการเผาป่า หรือ PM 2.5 ที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ไฟป่าเป็นเรื่องของ
               การไม่มีองค์ความรู้ ยกตัวอย่างการท า Zero burn เพื่อไม่ให้มีการเผาอันเป็นสาเหตุของไฟป่า แต่จะเห็นว่า
               ปีถัดไปก็เกิดไฟป่าอย่างหนัก เพราะมีการสะสมเชื้อเพลิงมากเกินไปจากปีก่อนหน้า ที่มีการท า Zero burn
               หรือไฟป่าที่มีความสัมพันธ์กับงบประมาณ ที่เห็นชัดว่าปีไหนงบประมาณน้อยจะมีไฟป่าเยอะ แล้วปีต่อไปจะได้

               งบประมาณมากขึ้น กรณีหมอกควันพิษจากการเผาป่าเป็นเรื่องที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และเป็นภัยร้ายที่คุกคาม
               คนไทย แต่เราไม่มีองค์ความรู้เหล่านี้เพียงพอ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)







                                                            66
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84